settings icon
share icon
คำถาม

ในเมื่อพระเจ้ายับยั้งการให้อภัย เราก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันหรือไม่ ?

คำตอบ


พระคัมภีร์กล่าวถึงการจัดการที่ดีมากเกี่ยวกับการให้อภัย ทั้งการให้อภัยมนุษย์ที่เป็นคนบาปของพระเจ้าและการให้อภัยที่มนุษย์ควรมีต่อกันและกัน แต่นั้นไม่ใช้ประเด็นที่แตกต่างกันหรือไม่สัมพันธ์กัน ในทางกลับกันทั้งสองอย่างนี้มีความเชื่อมโยงที่สำคัญกันอย่างมาก การติดสนิทกับพระเจ้าและการชำระแบบวันต่อวันนั้นขึ้นอยู่กับการให้อภัยผู้อื่นของเรา (มัทธิว 6:12) และการให้อภัยผู้อื่นของเราต้องเป็นไปตามแบบแผนและตัวอย่างของการให้อภัยของพระเจ้าที่ทรงมีต่อเรา (เอเฟซัส 4:32, โคโลสี 3:13) ฉะนั้นคำถามนี้จึงเป็นคำถามที่สำคัญ

เราต้องพยายามที่จะเข้าใจการให้อภัยของพระเจ้าที่มีต่อเรา ถ้าเราจะให้อภัยผู้อื่นในทางที่สะท้อนถึงการให้อภัยของพระเจ้า น่าเศร้าที่ในทศวรรษนี้คำว่าให้อภัยมีความหมายเป็นนัยคือ “อิสรภาพทางกาย” แทนที่จะเป็นอิสระภาพจากบาปและสิ่งนี้นำมาซึ่งความสับสนเกี่ยวกับแนวความคิดทั้งหมดเกี่ยวกับความหมายของการให้อภัย

เป็นความจริงที่ว่าการให้อภัยที่พระเจ้าให้แก่เรานั้นไม่มีข้อแม้ต่อการสารภาพบาปและการสำนึกผิดของเรา การสารภาพนั้นรวมถึงการเห็นด้วยกับพระเจ้าเกี่ยวกับความบาปของเราและการสำนึกผิดต้องมีการเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับท่าทีหรือการกระทำที่ผิดและการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเต็มใจอย่างแท้จริงที่จะตัดขาดจากความบาป ความบาปยังคงไม่ได้รับการอภัยนอกเสียจากว่าจะมีการสารภาพและการสำนึกผิดในบาปนั้น (ดู 1 ยอห์น 1:9, กิจการ 20:21) ในขณะที่ดูเหมือนว่าสิ่งนี้เป็นเงื่อนไขที่ยากสำหรับการให้อภัย แต่มันเก็เป็นพระพรและพระสัญญาที่ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกัน การสารภาพบาปไม่ใช่การประณามตัวเองแต่เป็นการแสวงหาการจัดเตรียมของพระเจ้าในการแก้ไขความผิดบาปผ่านทางการให้อภัยในพระคริสต์

การที่พระเจ้าต้องการให้เราสารภาพและสำนึกผิดจากความบาปนั้นไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าไม่เต็มพระทัยหรือไม่พร้อมที่จะอภัย พระองค์ได้ทรงทำทุกอย่างในส่วนของพระองค์เพื่อทำให้ง่ายต่อการให้อภัยเรา หัวใจของพระองค์นั้นมีความเต็มพระทัยที่ไม่ได้อยากให้ใครพินาศ (2 เปโตร 3:9) และพระองค์ก็ได้ไปถึงระดับซึ่งสูงที่สุดเพื่อจัดหาวิธีการซึ่งพระองค์จะให้อภัยเราได้ เพราะว่าการเสียสละของพระคริสต์บนไม้กางเขนแสดงให้เห็นแล้วว่าพระเจ้าได้ให้อภัยเราเปล่าๆ

พระคัมภีร์กล่าวว่าให้เราให้อภัยผู้อื่นตามที่เราได้รับการอภัย (เอเฟซัส 4:32) และรักซึ่งกันและกันตามที่เราได้รับความรัก (ยอห์น 13:34) เราต้องยินยอมที่จะพร้อมสำหรับการขยายการให้อภัยแก่ใครก็ตามที่มาหาเราด้วยการสารภาพบาปและสำนึกผิด (มัทธิว 6:14 – 15, 18:23 – 35, เอเฟซัส 4:31 – 32, โคโลสี 3:13) นี่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่หน้าที่แต่ควรที่จะเป็นความยินดีของเรา ถ้าเรารู้สึกขอบคุณสำหรับการได้รับการอภัยของเรา เราต้องไม่มีความลังเลในการให้อภัยผู้ทำผิดที่สำนึกผิด แม้กระทั่งว่าเขาทำผิดต่อเราและสารภาพกับเราบ่อยๆ เพราะอย่างไรก็ตามเราเองก็ทำบาปบ่อยๆ และเราก็ขอบคุณที่พระเจ้าทรงให้อภัยเราเมื่อเราเข้ามาหาพระองค์ด้วยหัวใจที่สำนึกผิดด้วยการสารภาพ

สิ่งนี้นำเรามาถึงคำถามที่ใกล้ตัวเราคือ เราควรจะให้อภัยผู้ที่ไม่สารภาพบาปของเขาและไม่สำนึกผิดหรือไม่ การที่จะตอบสิ่งนี้อย่างเหมาะสม คำว่าการให้อภัยต้องได้รับการอธิบาย ประการแรกสิ่งที่การให้อภัยไม่ใช่คือ การให้อภัยไม่ใช่สิ่งเดียวกับการอดทนอดกลั้น การอดทนอดกลั้นนั้นคือการอดทนอย่างใจเย็นต่อการยั่วโมโห การถูกมองข้ามหรือการรักษาไว้ซึ่งการควบคุมตัวเองเมื่อเผชิญหน้ากับความคับข้องใจ ความอดทนอดกลั้นทำให้เราชั่งการกระทำหรือท่าทีของความบาปของคนคนหนึ่งด้วยความรัก สติปัญญาและการหยั่งรู้แล้วเลือกที่จะไม่ตอบสนอง พระคัมภีร์ใช้คำมากมายสำหรับคุณลักษณะนี้คือ ความใจเย็น การทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน ความคงทนอยู่และแน่นอนความอดทนอดกลั้น (ดูสุภาษิต 12:16, 19:11, 1 เปโตร 4:8)

การให้อภัยเช่นเดียวกันนั้นไม่ใช่การลืม พระเจ้าไม่ได้ทุกข์ทรมานด้วยโรคความจำเสื่อมเนื่องด้วยความบาปของเรา พระองค์จำได้อย่างชัดเจนแต่กระนั้นก็ไม่ใช่เป็นการจำเพื่อประณามเรา (โรม 8:1) การมีชู้ของกษัตริย์ดาวิดและการโกหกของอับรฮัมสิ่งเหล่านี้มีบันทึกไว้ตลอดการในพระคัมภีร์ เห็นได้ชัดเจนว่าพระเจ้าไม่ได้ “ลืม” ความบาปเหล่านี้

การให้อภัยไม่ใช่การขจัดผลที่ตามมาทั้งหมด แม้กระทั่งเมื่อเราได้รับการอภัยโดยพระคริสต์ เราก็ต้องทุกข์ทรมานกับผลที่ตามมาของความบาปของเรา (สุภาษิต 6:27) หรือเผชิญหน้ากับวินัยของพระบิดาในสวรรค์ที่รัก (ฮีบรู 12:5 – 6)

การให้อภัยไม่ใช่ความรู้สึก การให้อภัยเป็นข้อตกลงเพื่อยกโทษให้แก่ผู้ที่กระทำผิด ความรู้สึกอาจจะหรืออาจจะไม่ได้มาพร้อมกับการให้อภัย ความรู้สึกที่ขมขื่นต่อคนคนหนึ่งอาจจะจางหายไปตามกาลเวลาโดยที่การให้อภัยไม่ได้ถูกยืดออกไป

การให้อภัยไม่ใช่สิ่งที่เป็นส่วนตัวหรือการกระทำตามลำพังภายในหัวใจของคนคนเดียว กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการให้อภัยรวมถึงอย่างน้อยสองคน นี่คือเมื่อการสารภาพและการสำนึกผิดเข้ามา การให้อภัยไม่ได้เพียงแค่เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับหัวใจของผู้ที่ถูกกระทำความผิดแต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคน

การให้อภัยนั้นไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวคือไม่ใช่สิ่งที่ได้รับแรงผลักดันด้วยความสนใจส่วนตัว เราไม่ได้แสวงหาการให้อภัยเพื่อตัวเราเองหรือเพื่อที่จะลดความเครียดของเรา เราให้อภัยด้วยความรักของพระเจ้า ความรักเพื่อนบ้านและความซาบซึ้งใจต่อการได้รับการอภัยของเรา

การให้อภัยไม่ใช่การฟื้นฟูความไว้วางใจแบบรวดเร็ว เป็นสิ่งที่ผิดที่จะคิดว่าการให้อภัยคู่สมรสที่กระทำความรุนแรงในวันนี้หมายความว่าการแยกจากกันจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ พระคัมภีร์ให้เหตุผลมากมายแก่เราเพื่อที่จะไม่ไว้วางใจผู้ที่พิสูจน์แล้วว่าไม่น่าไว้วางใจ (ดูลูกา 16:10 – 12) การรื้อฟื้นความไว้วางใจจะสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการแห่งการคืนดีที่ได้รวมการให้อภัยอย่างแท้จริงอยู่ในนั้น ซึ่งแน่นอนว่าการสารภาพและการสึกนึกผิดก็รวมอยู่ด้วย

สิ่งสำคัญเช่นเดียวกันคือการเสนอการให้อภัยและการมีอยู่ของการให้อภัยไม่เหมือนกับการมอบการให้อภัย การรับและการได้รับการจัดการ เป็นเช่นนี้คือเมื่อคำว่าให้อภัยเดี่ยวๆ ที่ไม่มีคำขยายนั้นมักจะใช้แตกต่างจากและเหนือกว่าการที่พระวจนะของพระเจ้าใช้คำนี้ เรามักจะเรียกสิ่งนี้ว่าทัศนคติของการให้อภัยซึ่งคือการเต็มใจที่จะให้อภัย “การให้อภัย” เช่นเดียวกับการดำเนินการที่ตามความเป็นจริงของการให้อภัยที่แท้จริง สิ่งนั้นคือในการคิดซึ่งเป็นที่นิยมคือว่าตราบเท่าที่คนคนหนึ่งเปิดต่อการมอบการให้อภัยเขาได้ให้อภัยแล้ว แต่คำอธิบายกว้างๆ ของคำว่าให้อภัยนี้ทำให้ขั้นตอนของการสารภาพและสำนึกผิดหยุดชะงัก การให้อภัยที่มอบให้และการให้อภัยที่ได้รับนั้นเป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงและเราก็ไม่ช่วยตัวเองโดยการใช้คำรวมสำหรับทั้งสองความหมายนี้

ถ้านี่ไม่ได้เป็นความหมายของคำว่าการให้อภัยแล้วความหมายคืออะไร คำอธิบายที่ยอดเยี่ยมของคำว่าให้อภัยพบในหนังสือเรื่อง Unpacking Forgiveness โดยคริส บรอนส์ (Christ Brauns) คือ

การให้อภัยของพระเจ้าคือข้อตกลงของพระเจ้าแท้พระองค์เดียวที่ยกโทษอย่างสมเกียรติแก่ผู้ที่สำนึกผิดและผู้ที่เชื่อเพื่อที่พวกเขาจะคืนดีกับพระองค์ แม้ว่าข้อตกลงนี้จะไม่ได้ขจัดผลที่ตามมาทั้งหมด

การให้อภัยของมนุษย์โดยทั่วไปคือข้อตกลงของผู้ถูกกระทำที่ยกโทษอย่างสมเกียรติแก่ผู้ที่สำนึกผิดจากความผิดทางศีลธรรมและคืนดีกับบุคคลนั้น แม้ว่าผลที่ตามมาทั้งหมดไม่จำเป็นจะต้องถูกขจัดออกไปทั้งหมด

ตามพระคัมภีร์แล้วการให้อภัยทั้งหมดนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่บางอย่างที่ผู้ถูกกระทำจะมอบให้ แต่ผู้กระทำผิดจะต้องยอมรับการให้อภัยนั้นด้วยเพื่อที่จะนำการคืนดีมาสู่ความสัมพันธ์ พระธรรม 1 ยอห์น 1:9 แสดงให้เห็นว่าขั้นตอนของการให้อภัยนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อที่จะช่วยให้ผู้ที่ทำผิดได้รับอิสระ การให้อภัยจะทำให้การปฏิเสธยุติลงและนำการคืนดีมาสู่ความสัมพันธ์ของกันและกัน นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราควรเต็มใจที่จะให้อภัยผู้อื่น ถ้าเราไม่เต็มใจให้อภัย เราปฏิเสธที่จะยอมให้ผู้อื่นมีความสุขกับสิ่งที่พระเจ้าได้อวยพรเรา จิตวิทยาประชานิยมสมัยใหม่ได้สอนผิดว่า “การให้อภัย” นั้นเป็นแบบฝ่ายเดียวที่ว่าการคืนดีนั้นไม่จำเป็นและเป้าหมายของการอภัยฝ่ายเดียวนี้คือเพื่อทำให้ผู้ถูกกระทำความผิดได้รับอิสรภาพทางความรู้สึกที่ขมขื่น

ในขณะที่เราต้องไม่เก็บความขมขื่นไว้ในใจของเรา (ฮีบรู 12:15) หรือตอบแทนความชั่วด้วยความชั่ว (1 เปโตร 3:9) เราต้องแน่ใจว่าเราทำตามการทรงนำของพระเจ้าและไม่ยืดการให้อภัยออกไปยังผู้ที่ไม่สำนึกผิด กล่าวสั้นๆ คือเราควรจะยับยั้งการให้อภัยจากผู้ที่ไม่สารภาพและไม่สำนึกผิด ในเวลาเดียวกันเราควรจะยืดการเสนอการให้อภัยและรักษาท่าทีแห่งความพร้อมที่จะให้อภัย

สเทเฟนในขณะที่เขากำลังถูกหินขว้างตายได้แสดงให้เห็นหลักการของการให้อภัย สะท้อนพระคำของพระเยซูจากไม้กางเขน สเทเฟนอธิษฐานว่า “พระองค์เจ้าข้า ขออย่าทรงถือโทษพวกเขาเนื่องด้วยบาปนี้” (กิจการ 7:60, ยืนยันมาจากลูกา 23:34) คำพูดเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเต็มใจให้อภัยอย่างแน่นอน แต่ไม่ได้เป็นการระบุถึงการดำเนินการที่สำเร็จของการให้อภัย สเทเฟนอธิษฐานอย่างง่ายๆ ขอให้พระเจ้าให้อภัยผู้ที่ฆ่าเขา สเทเฟนไม่ได้มีความขมขื่นแล้วเมื่อและถ้าผู้ที่ฆ่าเขาสำนึกผิด เขาขอให้คนเหล่านั้นได้รับการอภัย ช่างเป็นตัวอย่างที่ดีจริงๆ ของการรักศัตรูของเราและอธิษฐานเผื่อผู้ที่ข่มเหงเรา (มัทธิว 5:44)

พระคัมภีร์บัญชาถึงการกระทำที่ขัดต่อความรู้สึกของการเลี้ยงดูศัตรูของเราเมื่อเขาหิว (โรม 12:20) ไม่มีอะไรที่จะกล่าวว่าเราต้องให้อภัยศัตรูของเราแบบอัตโนมัติ (หรือเชื่อพวกเขา) ในทางกลับกันเราต้องรักพวกเขาและทำเพื่อประโยชน์ของพวกเขา

ถ้า “การให้อภัย” เป็นการให้ก่อนกำหนดโดยที่ปราศจากการสารภาพและการสำนึกผิด ถ้าเป็นเช่นนี้ความจริงก็ยังไม่ได้รับการจัดการอย่างเปิดเผยจากทั้งสองฝ่าย ถ้าผู้กระทำผิดยังไม่รู้ถึงความบาปของเขา ดังนั้นเขาก็ไม่มีวันเข้าใจหมายความว่าของการได้รับการให้อภัย ในระยะยาวการสารภาพหรือการสำนึกผิดทางอ้อมไม่ได้ช่วยให้ผู้กระทำผิดเข้าใจประเด็นในการทำบาปและนั่นยังเป็นการขัดขวางความรู้สึกของความยุติธรรม ส่งผลให้ผู้ที่ถูกกระทำความผิดนั้นให้ต่อสู้กับความขมขื่นมากยิ่งขึ้น

นี่คือแนวทางสำหรับการให้อภัยของผู้ที่ติดสนิทกับพระเจ้าคือ

- การรู้ถึงข้อเท็จจริงของความชั่ว (โรม 12:9)

- ฝากการแก้แค้นไว้กับพระเจ้า (โรม 12:9)

- ไม่ทิ้งช่องว่างไว้สำหรับความขมขื่น การแก้แค้น ความไม่พอใจหรือการตอบโต้

- มีหัวใจที่พร้อมสำหรับการให้อภัยทุกเมื่อ

- เชื่อวางใจในพระเจ้าที่จะให้ความสามารถแก่คุณในการเอาชนะความชั่วด้วยความดีแม้กระทั่งรักและเลี้ยงดูศัตรูคนหนึ่ง (โรม 12:20 – 21)

- จดจำไว้ว่าพระเจ้าได้จัดตั้งผู้มีอำนาจในการปกครองและส่วนหนึ่งของบทบาทที่พระเจ้ามอบให้เขาคือการเป็น “ผู้รับใช้ของพระเจ้า เป็นตัวแทนของพระพิโรธที่จะนำการลงโทษมาสู่ผู้กระทำผิด” (โรม 13:4) หนึ่งเหตุผลที่คุณไม่ต้องล้างแค้นต่อตัวเองคือว่าพระเจ้ามีรัฐบาลผู้มีอำนาจที่จะพิสูจน์ความยุติธรรม

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ในเมื่อพระเจ้ายับยั้งการให้อภัย เราก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันหรือไม่ ?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries