settings icon
share icon
คำถาม

ใครคือพระโมเลค?

คำตอบ


เหมือนกับประวัติศาสตร์โบราณจำนวนมาก จุดกำเนิดของการนมัสการพระโมเลคนั้นไม่แน่ชัด คำว่าโมเลคนั้นเชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดของ Phoenician mlk ซึ่งอ้างถึงประเภทของการถวายเครื่องบูชาเพื่อยืนยันหรือตอบแทนในการสาบาน เมเลค คือคำในภาษาฮีบรูที่แปลว่า "กษัตริย์" เป็นสิ่งที่ปกติธรรมดาสำหรับชาวอิสราเอลที่จะรวมชื่อของพระนอกศาสนาเข้ากับสระในคำภาฮีบรูที่แปลว่าความอับอาย "โบเสธ" (boseth) นี่คือการที่เทพธิดาแห่งความอุดมสมบูรณ์และสงครามแอสตาร์เตกลายเป็นอัชทาโรท การรวมกันของ เอ็มแอลเค เมเลคและโบเสท ก็เท่ากับ "พระโมเลค" ซึ่งควรจะถูกแปลความว่า "บุคคลที่ปกครองการเสียสละซึ่งน่าอับอาย" ถูกสะกดเป็น มิลคอม มิลคิม มาลิก และโมล็อค อัชทาโรทคือคู่สมรสของเขา และการเป็นโสเภณีในพระวิหารถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนสำคัญของการนมัสการ

ชาวฟีนิเซียเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ของประชากรที่อาศัยในคานาอัน (เลบานอน ซีเรียและอิสราเอลในปัจจุบัน) ระหว่าง 1550 ปีถึง 300 ปีก่อนคริสตศักราช นอกจากนี้พิธีกรรมทางเพศ การนมัสการพระโมเลครวมถึงการถวายเด็กเป็นเครื่องบูชาหรือ "นำเด็กไปผ่านไฟ" เป็นพิธีกรรมที่เชื่อว่ารูปเคารพของพระโมเลคคือรูปปั้นมนุษย์ผู้ชายที่มีศีรษะเป็นวัวตัวผู้ขนาดใหญ่ยักษ์ รูปปั้นแต่ละรูปมีรูตรงช่วงพุงและเป็นไปได้ที่ปลายแขนยื่นออกลาดเป็นช่องไปยังรูนั้น ไฟถูกจุดด้านในหรือรอบๆ รูปปั้น เด็กๆ จะถูกวางในแขนรูปปั้นหรือในรู เมื่อคู่สามีภรรยาถวายบูชาเด็กแรกเกิดของพวกเขา พวกเขาเชื่อว่าพระโมเลคจะให้ความมั่นใจเรื่องความเจริญรุ่งเรืองด้านการเงินสำหรับครอบครัวและการมีลูกในอนาคตต่อไป

การนมัสการพระโมเลคไม่ได้ถูกจำกัดแค่คานาอัน เสาหินขนาดใหญ่ในแอฟริกาเหนือนำไปสู่การแกะลวดลาย "mlk" บางครั้งเขียน "mlk' mr" และ "mlk' dm" ซึ่งอาจจะหมายถึง "การบูชาแกะ" และ "การบูชามนุษย์" ในประเทศแอฟริกาเหนือพระโมเลคถูกเรียกอีกอย่างว่า "โครนอส" (Kronos) โครนอสเข้ามาที่คาร์เธจในประเทศกรีซและตำนานของเขาเติบโตมาเพื่อที่จะรวมถึงการกลายมาเป็นไททันและพ่อของเพทเจ้าซูส พระโมเลคถูกรวมเข้าด้วยกันและบางครั้งถูกเปรียบเทียบกับพระบาอัล แม้ว่าคำว่าบาอัลนั้นใช้เรียกพระหรือผู้นำใดๆ ก็ตามเช่นเดียวกัน

ในพระธรรมปฐมกาล 12 อับบาฮัมติดตามการทรงเรียกของพระเจ้าเพื่อย้ายเข้าสู่คานาอัน แม้ว่าการบูชามนุษย์จะไม่ได้เป็นเรื่องปกติในท้องถิ่นเมืองเออร์ของอับราฮัม มีรากฐานที่มั่นคงในดินแดนใหม่ของเขา พระเจ้าเรียกอับบราฮัมนำอิสอัคมาเป็นเครื่องบูชา (ปฐมกาล 22:2) แต่กระนั้นพระเจ้าทรงแยกตัวเองออกจากพระต่างๆ เหมือนพระโมเลค ไม่ทรงเหมือนพระท้องถิ่นของชาวคานาอัน พระเจ้าของอับบราฮัมเกลียดชังการบูชามนุษย์ พระเจ้าบัญชาให้ปล่อยอิสอัคไปและพระองค์จัดหาแกะตัวผู้มาแทนที่อิสอัค (ปฐมกาล 22:13) พระเจ้าใช้หมายสำคัญนี้เป็นตัวอย่างประกอบเกี่ยวกับวิธีที่ต่อไปพระองค์จะจัดเตรียมพระบุตรของพระองค์เองเพื่อมาแทนที่พวกเรา

มากกว่าห้าร้อยปีต่อมาหลังจากอับบราฮัม โยชูวานำชนชาติอิสราเอลออกจากทะเลทรายเพื่อรับมรดกเป็นดินแดนแห่งพันธะสัญญา พระเจ้ารู้ว่าชนชาติอิสราเอลเติบยังไม่เต็มที่และหันเหความสนใจไปจากการนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้พระองค์เดียว (อพยพ 32) ก่อนที่ชาชาติอิสราเอลจะเข้าสู่คานาอัน พระเจ้าเตือนพวกเขาไม่ให้เข้าร่วมการนมัสการพระโมเลค (เลวีนิติ 18:21) และตรัสซ้ำๆ กับพวกเขาให้ทำลายประเพณีการนมัสการพระโมเลค ชาวอิสราเอลไม่ได้เอาใจใส่การเตือนของพระเจ้า แต่พวกเขารวบรวมการนมัสการพระโมเลคเข้าไปในประเพณีของพวกเขา แม้กระทั่งซาโลมอนกษัตริย์ที่ชาญฉลาดที่สุดถูกลัทธินี้ครอบงำและการสร้างสถานที่ต่างๆ เพื่อนมัสการพระโมเลคและบรรดาพระอื่นๆ (1 พงกษัตริย์ 11:1 — 8) การนมัสการพระโมเลคจะกระทำที่ "ปูชนียสถานสูง" (1 พงกษตริย์ 12:31) และช่องเขาที่มีความแคบนอกมืองเยรูซาเล็ม ถูกเรียกว่าหุบเขาฮินโนม(2 พงกษตริย์ 23:10)

อย่างไรก็ตามในขณะที่ความพยายามเป็นครั้งคราวของกษัตริย์ที่เคร่งศาสนา การนมัสการพระโมเลคไม่ได้ถูกล้มเลิกจนกระทั้งชนอิสราเอลถูกจองจำในบาบิโลน (แม้ว่าศาสนาของชาวบาบิโลเนียน เชื่อว่าพระเจ้าเป็นทุกสิ่งทุกอย่างและแสดงลักษณะพิเศษของโหราศาสตร์และการทำนาย ไม่รวมการบูชามนุษย์) ด้วยวิธีใดก็ตาม การแพร่กระจายของชนชาติอิสราเอลเข้าสู่อารยธรรมนอกศาสนาที่ใหญ่โตประสบผลสำเร็จในการขจัดพวกเขาออกจากพระเทียมเท็จของพวกเขา เมื่อชาวยิวกลับมาสู่ดินแดนของพวกเขา พวกเขาอุทิศตัวให้พระเจ้าของพวกเขาอีกครั้งหนี่งและหุบเขาฮินโนมถูกทำให้กลายเป็นสถานที่เผาขยะและศพของอาชญากรที่ถูกประหาชีวิต พระเยซูใช้มโนภาพของสถานที่นี้ว่าเป็นไฟที่ไหม้อยู่ตลอดนิรันดร์ ที่ทำลายมนุษย์ที่เป็นเหยื่อจำนวนนับไม่ถ้วนว่าเป็นการอธิบายถึงนรก ซึ่งผู้ที่ปฏิเสธพระเจ้าจะต้องถูกเผาไหม้ตลอดนิรันดร์ (มัทธิว 10:28)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ใครคือพระโมเลค?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries