settings icon
share icon
คำถาม

ความจริง คืออะไร?

คำตอบ


เกือบสองพันปีมาแล้ว ความจริง ถูกนำมาพิจารณาไต่สวนคดีและตัดสินโดยผู้ที่ยอมทุ่มตัวเพื่อการโกหก ที่จริงนั้น ความจริง ได้ถูกพิจารณาไต่สวนคดีหกครั้งในเวลาไม่ถึงหนึ่งวันเต็ม สามครั้งเป็นการไต่สวนเรื่องศาสนาและอีกสามครั้งเรื่องกฎหมาย สุดท้าย น้อยคนที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์เหล่านั้นสามารถตอบคำถามว่า "ความจริง คืออะไร"

หลังจากถูกจับกุมแล้ว ตอนแรก ความจริง ถูกนำไปพบชายคนหนึ่งชื่ออันนาส อดีตมหาปุโรหิตของชาวยิวที่ทุจริต อันนาสฝ่าฝืนบทบัญญัติของชาวยิวมากมายในระหว่างการพิจารณาไต่สวนคดี รวมทั้งจัดการไต่สวนภายในบ้านของเขา พยายามที่จะชักนำใส่ข้อกล่าวหาตนเองต่อจำเลย และเฆี่ยนจำเลยผู้ที่ถูกตัดสินในตอนนั้นว่าไม่ได้ทำผิดอะไร หลังจากอันนาส ความจริง ถูกนำไปยังคายาฟัส ผู้ครองตำแหน่งมหาปุโรหิต ผู้ซึ่งเป็นบุตรเขยของอันนาส ต่อหน้าของคายาฟัสและศาลสูงแซนเฮดรินของชาวยิว พยานเท็จหลายคนออกมากล่าวปราศรัยต่อต้าน ความจริง แต่ไม่มีอะไรสามารถพิสูจน์ได้ และไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่จะหาความผิดจำเลยได้ คายาฟาสฝ่าฝืนกฎหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดข้อในขณะที่พยายามปรักปรำความจริง: (1) การพิจารณาคดีถูกจัดขึ้นอย่างลับๆ; (2) มันถูกพิจารณากันในเวลากลางคืน; (3) มันมีการติดสินบน (4) จำเลยไม่มีผู้ใดสักคนยืนอยู่ด้วยเพื่อปกป้องแก่เขา (5) ไม่สามารถปฏิบัติตามคำขอร้องของพยาน 2-3 คนได้ (6) พวกเขาใช้คำพยานปรักปรำตนเองต่อจำเลย (7) พวกเขาจัดการให้ประหารชีวิตจำเลยในวันเดียวกันเลย การกระทำทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติของชาวยิว โดยไม่คำนึงถึงอะไร คายาฟาสได้ประกาศว่า ความจริง มีความผิด เพราะ ความจริงยืนยันว่าเป็นพระเจ้าในสภาพมนุษย์ เป็นสิ่งซึ่งคายาฟัสเรียกว่าดูหมิ่นศาสนา

เมื่อถึงตอนเช้า การพิจารณาไต่สวน ความจริง ครั้งที่สามได้เกิดขึ้น ซึ่งผลที่ตามมาก็คือศาลสูงสุดของชาวยิวประกาศว่า ความจริง จะต้องตาย อย่างไรก็ตาม ศาลสูงสุดของชาวยิวไม่มีสิทธิ์ตามกฏหมายที่จะสั่งประหารชีวิต ดังนั้นพวกเขาถูกบังคับให้นำ ความจริง มาพบผู้ว่าราชการโรมันในเวลานั้น ชายคนที่ชื่อ ปอนติอุส ปีลาต ปิลาตได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิ์ทิเบริอุส เป็นผู้ปกครองคนที่ห้าของยูดาห์และรับใช้หน้าที่นั้นจากค.ศ.ที่ 26 ถึง 36 ผู้แทนมีอำนาจเหนือชีวิตและความตาย และสามารถกลับคำตัดสินของศาลสูงสุดได้ เมื่อ ความจริง ปรากฏตัวต่อหน้าปีลาต ยิ่งมีผู้คนสร้างเรื่องโกหกเพิ่มเติมใส่พระองค์ พวกศัตรูของพระองค์กล่าวว่า

ลูกา 23:2 “และเขาฟ้องว่า “เราได้พบคนนี้ยุยงชนชาติของเรา และห้ามมิให้ส่งส่วยแก่ซีซาร์ และว่าตัวเองเป็นพระคริสต์กษัตริย์องค์หนึ่ง”

นี่เป็นการโกหก เนื่องจาก ความจริง ได้สอนให้ทุกคนจ่ายภาษี และไม่เคยพูดถึงพระองค์เองว่าเป็นผู้ท้าทายอำนาจของซีซาร์

มัทธิว 22:20-21 “พระองค์ตรัสถามเขาว่า ‘รูปและคำจารึกนี้เป็นของใคร’ เขาทูลว่า ‘ของซีซาร์’ แล้วพระองค์ตรัสกับเขาว่า ‘เหตุฉะนั้น ของของซีซาร์จงถวายแก่ซีซาร์ และของของพระเจ้าจงถวายแด่พระเจ้า’”

หลังจากนี้มีการสนทนาที่น่าสนใจมากระหว่าง ความจริง และปีลาต

ยอห์น 18:33–38 “ปีลาตจึงเข้าไปในศาลปรีโทเรียมอีก และเรียกพระเยซูมาทูลถามว่า ‘ท่านเป็นกษัตริย์ของพวกยิวหรือ’ พระเยซูตรัสตอบว่า ‘ท่านถามอย่างนั้นตามความเข้าใจของท่านเองหรือ หรือว่าคนอื่นบอกท่านถึงเรื่องของเรา’ ปีลาตทูลตอบว่า ‘เราเป็นยิวหรือ ชนชาติของท่านเอง และพวกมหาปุโรหิตได้อายัดท่านไว้กับเรา ท่านทำผิดอะไร’ พระเยซูตรัสตอบว่า “ราชอำนาจของเรามิได้เป็นของโลกนี้ ถ้าราชอำนาจของเรามาจากโลกนี้ คนของเราก็คงจะได้ต่อสู้ไม่ ให้เราตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกยิว แต่ราชอำนาจของเรามิได้มาจากโลกนี้’ ปีลาตจึงทูลพระองค์ว่า ‘ถ้าเช่นนั้นท่านก็เป็นกษัตริย์ น่ะซี’ พระเยซูตรัสตอบว่า ‘ท่านพูดว่าเราเป็นกษัตริย์ เพราะเหตุนี้เราจึงเกิดมาและเข้ามาใน โลกเพื่อเป็นพยานให้แก่สัจจะ คนทั้งปวงซึ่งอยู่ฝ่ายสัจจะย่อมฟังเสียงของเรา’ 3ปีลาตทูลถามพระองค์ว่า ‘สัจจะคืออะไร’ เมื่อถามดังนั้นแล้วท่านก็ออกไปหาพวกยิวอีก และบอกเขาว่า ‘เราไม่เห็นคนนั้นมีความผิด” คำถามของปีลาต "สัจจะ คืออะไร?" ได้สั่นสะเทือนไปทั่วตลอดประวัติศาสตร์ มันเป็นความปรารถนาที่เศร้าโศกที่อยากรู้จักสิ่งที่ไม่มีใครอื่นสามารถบอกเขาใช่ไหม คำดูถูกเหยียดหยาม หรือบางทีคำตอบที่ไม่แยแส ที่ระคายเคืองต่อคำตรัสของพระเยซู ในโลกยุคหลังสมัยใหม่ ที่ปฏิเสธว่า ความจริง นั้นสามารถรู้จักได้ คำถามนี้มีความสำคัญมากกว่าที่เคยตอบ ความจริง คืออะไร

คำจำกัดความที่เสนอเรื่อง ความจริง
ในการให้นิยามคำว่า ความจริง อันดับแรกมันเป็นประโยชน์ที่จะสังเกตสิ่งที่ ความจริงไม่ใช่เป็นดังนี้: • ความจริง ไม่ใช่เป็นเพียงอะไรก็ตามที่ทำงานได้ นี่คือปรัชญาของปฏิบัตินิยม--- ปลายทางต่อต้านวิธีการ แบบการเข้าถึงจุดหมาย ในความเป็นจริง อาจปรากฏคำมุสาเพื่อ “ทำงาน” แต่มันยังคงเป็นการมุสาไม่ใช่ความจริง • ความจริง ไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งที่มาเชื่อมโยงกันหรือสามารถเข้าใจกันได้ คนกลุ่มหนึ่งสามารถรวมตัวกันและสมรู้ร่วมคิดกันบนฐานของเรื่องความเท็จเป็นชุด ซึ่งพวกเขาเห็นด้วยที่จะเล่าเรื่องเท็จทั้งหมดด้วย แต่ก็ไม่ทำให้ผลงานนำเสนอของพวกเขาเป็นเรื่องจริง:
ความจริง ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ผู้คนรู้สึกดี น่าเสียดายที่ข่าวร้ายกลายเป็นจริงได้ • ความจริง ไม่ใช่สิ่งที่คนส่วนใหญ่พูดว่าจริง ร้อยละห้าสิบเอ็ดของคนกลุ่มหนึ่งสามารถหาข้อสรุปที่ผิดพลาดได้ • ความจริง ไม่ใช่สิ่งที่ครอบคลุม การนำเสนอที่ละเอียดและยาวๆ ก็สามารถส่งผลเป็นข้อสรุปที่ผิดได้ • ความจริง ไม่ได้ถูกให้นิยามตามที่ได้ตั้งใจไว้ ความตั้งใจที่ดียังสามารถผิดพลาดได้ • ความจริง ไม่ใช่ว่าเรารู้ได้อย่างไร ความจริง คือสิ่งที่เรารู้ได้ • ความจริง ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่คนเชื่อถือ คำมุสาที่คนเชื่อถือยังคงเป็นเรื่องการมุสา • ความจริง ไม่ใช่สิ่งที่ได้รับการพิสูจน์ต่อสาธารณชน ความจริง สามารถเป็นที่รู้ได้เป็นส่วนบุคคล (ตัวอย่างเช่น สถานที่ฝังทรัพย์สมบัติ)

คำภาษากรีกสำหรับ "ความจริง" คือ aletheia ซึ่งจริงๆ แล้วหมายถึง "ไม่ได้ซ่อน" หรือ "ไม่ซ่อนอะไร" มันบ่งบอกถึงความคิดที่ว่ามี ความจริง อยู่เสมอ เปิดกว้างเสมอและพร้อมสำหรับทุกคนที่จะพบเห็นได้ โดยไม่มีอะไรหลบซ่อนหรือถูกบดบังไว้ คำภาษาฮีบรูสำหรับ "ความจริง" คือ emeth ซึ่งหมายความว่า "ความแน่นอน" "ความมั่นคง" และ "ระยะเวลา" คำจำกัดความดังกล่าวแสดงนัยสสารที่ทนนาน และสิ่งที่สามารถพึ่งได้

จากมุมมองทางด้านปรัชญา มีแนวทางง่ายๆในการกำหนดนิยามของ ความจริง สามอย่าง:
1. ความจริง คือสิ่งซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริง
2. ความจริง คือสิ่งซึ่งเข้าคู่กันกับวัตถุของมัน
3. ความจริง เพียงแต่บอกมันอย่างที่มันเป็น

ประการแรก ความจริง สอดคล้องกันกับความเป็นจริง หรือ "อะไรคือ" มันเป็นจริง ความจริง ยังสอดคล้องกันในธรรมชาติด้วย อีกนัยหนึ่ง มันเข้าคู่กันกับวัตถุและรู้กันโดยผู้อ้างอิงของมันตัวอย่างเช่น คุณครูที่กำลังกล่าวต่อหน้านักเรียนในห้องว่า "ขณะนี้ทางออกเดียวในห้องนี้อยู่ทางด้านขวา" สำหรับนักเรียนในห้องที่อาจหันหน้าไปทางคุณครู ประตูทางออกอาจอยู่ทางด้านซ้ายของพวกเขา แต่มันก็เป็นจริงแท้ที่ว่าประตูนั้นสำหรับศาสตราจารย์จะอยู่ทางด้านขวา

ความจริง ยังเข้าคู่กันกับวัตถุของมัน มันอาจเป็นเรื่องจริงแท้ที่เฉพาะบางคนอาจต้องการยาเฉพาะอย่างจำนวนหลายมิลลิกรัม แต่อีกคนหนึ่ง อาจต้องการยาเดียวกันจำนวนมากหรือน้อยกว่า เพื่อได้ผลตามที่ปรารถนา นี่ไม่ใช่ความจริงสัมพัทธ์ แต่เป็นเพียงตัวอย่างว่า ความจริง ต้องเข้าคู่กันกับวัตถุของมันอย่างไร มันอาจผิดพลาด (และอาจเกิดอันตรายได้) สำหรับผู้ป่วยที่ร้องขอว่า แพทย์ของเขาจ่ายยาให้ในปริมาณไม่พอเหมาะกับการให้ยาพิเศษเฉพาะนั้น หรือจะบอกว่ายาชนิดใดก็รักษาโรคภัยไข้เจ็บเฉพาะของพวกเขาได้

โดยสรุป ความจริง เพียงแต่บอกมันอย่างที่มันเป็น ; มันคือวิถีทางที่สิ่งทั้งหลายเป็นจริง และมุมมองอื่นเป็นเท็จ หลักปรัชญาพื้นฐานคือ การที่สามารถแยกแยะระหว่าง ความจริง และความเท็จ หรือดังที่ โทมัส อควินาสให้ข้อสังเกตว่า "มันเป็นภาระหน้าที่ของนักปรัชญาที่จะสร้างความแตกต่าง"

ความท้าทายต่อความจริง
คำพูดของอควีนาสไม่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน การสร้างความแตกต่างดูเหมือนจะล้าสมัยในยุคหลังปัจจุบันเรื่องสัมพัทธนิยม เป็นที่ยอมรับได้ทุกวันนี้ที่กล่าวว่า "นี่คือ ความจริง" ตราบเท่าที่มันไม่ได้ติดตามมาโดย "และดังนั้น นั่นก็เป็นความเท็จ" ที่นี่น่าสังเกตเป็นพิเศษในเรื่องของความเชื่อและศาสนา ที่ซึ่งระบบความเชื่อทุกระบบน่าจะมีรากฐานเท่าเทียมกัน ที่ ความจริง มาเกี่ยวข้อง

มีหลักปรัชญาและมุมมองแบบชาวโลกมากมายที่ท้าทายสาระของความจริง แต่เมื่อแต่ละอย่างถูกตรวจสอบอย่างถึงที่สุด มันก็กลายเป็นการเอาชนะตัวเองในธรรมชาติ

ปรัชญาของสัมพัทธนิยมกล่าวว่า ความจริง ทั้งหมดสัมพันธ์กัน และไม่มีสิ่งใดที่เป็นเช่น ความจริงสัมบูรณ์ แต่คนต้องถามว่า: ที่ประกาศว่า "ความจริง ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์กัน" เป็นความจริงสัมพัทธ์หรือความจริงสัมบูรณ์” ถ้าเป็นความจริงสัมพัทธ์ จริงๆ แล้วมันก็ไร้ความหมายอะไร เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันใช้เมื่อไหร่และที่ไหน ถ้าเป็นความจริงสัมบูรณ์ แล้วความจริงสัมบูรณ์ก็ดำรงอยู่ นอกจากนี้ พวกถือความจริงสัมพัทธ์หลอกลวงจุดยืนของเขาเอง เมื่อเขากล่าวว่าจุดยืนของผู้ถือความจริงสัมบูรณ์เป็นเท็จ – ทำไมคนเหล่านั้น ผู้ที่พูดว่า ความจริงสัมบูรณ์ดำรงอยู่ไม่สามารถถูกต้องด้วยหรือ ในสาระสำคัญ เมื่อพวกถือความจริงสัมพัทธ์กล่าวว่า "ไม่มี ความจริง อะไรเลย" เขากำลังขอร้องคุณว่าอย่าเชื่อเขา และทางที่ดีที่สุดที่จะทำคือทำตามคำแนะนำของเขา

บรรดาผู้ที่ติดตามหลักความจริงของชีวิตเรื่องความสงสัยเพียงแต่สงสัย ความจริง ทั้งหมด แต่ผู้สงสัยที่ชอบสงสัยเรื่องความสงสัย ; เขาสงสัยคำประกาศ ความจริงของเขา ไหม ถ้าเป็นดังนั้น แล้วทำไมต้องไปสนใจกับความสงสัย ถ้าไม่ แล้วเราสามารถแน่ใจอย่างน้อยสิ่งหนึ่ง( อีกนัยหนึ่ง ความจริงสัมบูรณ์ดำรงอยู่)- ซึ่งในเชิงเยาะเย้ย ความระแวงสงสัยกลายเป็นความจริงสัมบูรณ์ในกรณีนั้น ผู้ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้ากล่าวว่าคุณไม่สามารถรู้จัก ความจริงได้ ถึงกระนั้นกระบวนทัศน์กำลังเอาชนะตัวเอง เพราะมันประกาศว่ารู้จัก ความจริง อย่างน้อยหนึ่งแบบ ซึ่งคุณไม่สามารถรู้จัก ความจริงได้

เหล่าสาวกในยุคหลังปัจจุบันเพียงแต่ไม่ยืนยัน ความจริง โดยเฉพาะ นักบุญผู้อุปถัมภ์ในยุคหลังปัจจุบัน- ฟรีดริค นิทซ์เชอ – อธิบาย ความจริง อย่างนี้:"แล้ว ความจริง คืออะไร? กลุ่มต่างๆ ของคำอุปมาอุปมัย คำหรือวลีที่ใช้แทนคำอื่น และการถือเอารูปลักษณ์คนหรือสิ่งอื่นที่ไม่มีชีวิตเป็นพระเจ้าที่ขยับแปรเปลี่ยนได้ ... ความจริงทั้งหลายเป็นภาพลวงตา ... พวกเหรียญที่ได้สูญเสียภาพของพวกเขาไป และตอนนี้มีความหมายแค่เพียงโลหะไม่ใช่เหรียญอีกต่อไป โดยประหลาดและน่าขัน แม้ว่าผู้ยึดหลังสมัยนิยมถือเหรียญอยู่ในมือของเขาซึ่งตอนนี้เป็น "เพียงโลหะ" อย่างน้อยเขายืนยัน ความจริงสัมบูรณ์: ความจริงที่ไม่มีความจริงใดควรได้รับการพิสูจน์ยืนยัน เช่นเดียวกับมุมมองฝ่ายโลกอื่น ๆ ยุคหลังปัจจุบันกำลังเอาชนะตนเอง และไม่สามารถยืนหยัดภายใต้คำประกาศของตนเองได้

มุมมองฝ่ายโลกอันเป็นที่นิยมคือพหุนิยม ซึ่งกล่าวว่าการประกาศ ความจริง ทั้งหมดถูกต้องเท่าเทียมกันแน่นอนว่านี่เป็นไปไม่ได้คำประกาศสองแบบ---คนหนึ่งบอกว่าผู้หญิงคนหนึ่งกำลังตั้งครรภ์และอีกคนหนึ่งบอกว่าตอนนี้หล่อนไม่ได้ตั้งครรภ์----ทั้งสองแบบเป็นจริงในเวลาเดียวกันได้หรือ พหุนิยมแก้ไขที่ฐานของกฎแห่งของความไม่ขัดแย้งกัน ซึ่งบอกว่าบางสิ่งไม่สามารถเป็นได้ทั้งแบบ "เอ" และ "ไม่ใช่เอ" ในเวลาเดียวกันและในความหมายเดียวกัน เมื่อนักปรัชญาคนหนึ่งพูดจาหลบหลีก ผู้ที่เชื่อว่ากฎแห่งความไม่ขัดแย้งกันไม่จริง (และพหุนิยมเป็นจริงโดยการผิดสัญญา) ควรถูกทุบตีและถูกเผาจนกว่าพวกเขาจะยอมรับว่าถูกตีและถูกเผาไม่ใช่สิ่งเดียวกับที่ไม่ถูกตีและไม่ถูกเผา นอกจากนี้ โปรดสังเกตว่าฝ่ายพหุนิยมกล่าวว่ามันเป็นจริง และสิ่งใดที่ขัดต่อมันก็เป็นเท็จ ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ปฏิเสธหลักการพื้นฐานของมันเอง

เจตนาเบื้องหลังพหุนิยมคือทัศนคติแบบเปิดกว้างของการยอมทนอย่างไรก็ตาม พหุนิยมทำให้ความคิดของทุกคนสับสน โดยมีคุณค่าเท่ากันกับ ความจริงทุกอย่างที่ประกาศว่าถูกต้องเท่าเทียมกัน ง่ายยิ่งกว่านั้น ทุกคนอาจจะเท่าเทียมกัน แต่ก็ไม่ใช่ความจริงทั้งหมดเป็นเช่นนั้น พหุนิยมไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นและความจริง ความแตกต่างที่ มอร์ทิเมอร์ แอดเลอร์ กล่าวว่า : "พหุนิยมเป็นที่น่าพอใจและพอทนได้ เฉพาะในพื้นที่เหล่า นั้นที่เป็นเรื่องของรสนิยมมากกว่าเรื่องความจริง"

ความจริง ในลักษณะก้าวร้าว
เมื่อใจความสำคัญของ ความจริง ถูกพูดให้ร้าย มักจะเพื่อเหตุผลหนึ่งหรือหลายๆ อย่างต่อไปนี้:

ความไม่พอใจทั่วไปอย่างหนึ่งต่อใครก็ตามที่อ้างว่ามีความจริงสัมบูรณ์ในเรื่องของความศรัทธาและศาสนาคือเป็นท่าตีลูกกอล์ฟแบบ "ใจแคบ" อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์ไม่เข้าใจว่าตามธรรมชาติ ความจริง นั้นก็แคบ ครูสอนคณิตศาสตร์ใจแคบหรือไม่ที่ถือหลักความเชื่อว่า 2 + 2 เท่ากับ 4

การคัดค้าน ความจริง อีกอย่างก็คือว่า มันเป็นเรื่องยโสที่ประกาศว่ามีคนหนึ่งถูกและอีกคนหนึ่งผิด อย่างไรก็ตาม กลับไปดูตัวอย่างข้างต้นด้วยวิชาคณิตศาสตร์ มันเป็นเรื่องยโสสำหรับครูคณิตศาสตร์หรือไม่ ที่ยืนยันในคำตอบถูกข้อเดียวเท่านั้นต่อปัญหาวิชาเลขคณิต หรือว่ามันเป็นเรื่องยโสไหม สำหรับช่างทำกุญแจที่ระบุว่ามีกุญแจเพียงดอกเดียวเท่านั้นที่จะเปิดประตูที่ถูกล็อคได้

คำกล่าวหาประการที่สามต่อต้านบรรดาผู้ยึดถือความจริงสัมบูรณ์ในเรื่องของความศรัทธาและศาสนาคือ จุดยืนดังกล่าวตัดเอาผู้คนออกไปแทนที่จะรวมเอาผู้คนมา แต่ความไม่พอใจดังกล่าวไม่สามารถเข้าใจ ความจริง นั้นได้โดยธรรมชาติยกเว้นประเด็นที่ตรงกันข้ามกัน คำตอบทั้งหมดที่นอกเหนือจาก 4 จะถูกแยกออกจากความเป็นจริงของค่าแท้จริงที่ได้จาก 2 + 2

ถึงกระนั้น การประท้วงอีกอย่างต่อต้าน ความจริง ก็คือมันปกป้องและแตกแยกในการประกาศว่าคนก็มีความจริง แทนที่เป็นเช่นนั้น นักวิจารณ์โต้แย้งว่า ทุกอย่างสำคัญที่ความจริงใจ ปัญหาเกี่ยวกับจุดยืนนี้คือว่า ความจริง นั้นได้รับการยกเว้นเรื่องความจริงใจ ความเชื่อและความปรารถนา มันไม่สำคัญว่าคนเราเชื่ออย่างจริงใจแค่ไหนว่า กุญแจดอกหนึ่งที่ผิดจะพอดีกับประตู กุญแจจะยังไม่แยงเข้าในและล็อคที่ประตูจะไม่ถูกเปิดออก ความจริง ไม่ได้รับผลกระทบจากความจริงใจ บางคนที่หยิบขวดยาพิษขึ้นมาขวดหนึ่ง และเชื่ออย่างจริงใจว่าเป็นน้ำมะนาว จะยังคงทนทุกข์ต่อผลกระทบที่เคราะห์ร้ายของยาพิษนั้น สุดท้าย ความจริง ไม่ได้รับอิทธิพลจากความปรารถนา คนอาจต้องการอย่างแรงกล้าว่าก๊าซในรถของพวกเขายังไม่หมด แต่ถ้าเกจ์วัดบอกว่าถังน้ำมันว่างเปล่า และรถจะวิ่งไปได้อีกไม่ไกล ดังนั้นไม่มีแรงปรารถนาใดในโลกจะทำให้รถวิ่งต่อไปได้อย่างน่าอัศจรรย์

บางคนจะยอมรับว่า ความจริงสัมบูรณ์ดำรงอยู่แล้ว แต่อ้างว่าท่าตีลูกกอล์ฟดังกล่าวใช้ได้เฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น ไม่ใช่ในเรื่องของความศรัทธาและศาสนา นี่คือปรัชญาที่เรียกว่าแนวคิดเชิงบวกที่มีตรรกะ ซึ่งเป็นที่นิยมโดยพวกนักปรัชญาเช่น เดวิด ฮิวม์ และ เอ เจ ไอเยอร์ ในสาระสำคัญ คนพวกนั้นระบุว่าการประกาศ ความจริง อาจต้องเป็น (1) สัจนิรันดร์หรือการใช้คำซ้ำที่มีความหมายเดียวกันโดยไม่จำเป็น (ตัวอย่างเช่น ผู้จบปริญญาตรีทั้งหมดเป็นชายที่ไม่ได้สมรส) หรือสามารถพิสูจน์ได้โดยประสบการณ์หรือการทดลองหรือการสังเกต (นั่นคือ สามารถทดสอบได้โดยทางวิทยาศาสตร์) การพูดทุกเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้านั้นไร้สาระ สำหรับผู้มีแนวคิดเชิงบวกที่มีตรรกะ

บรรดาผู้ที่ยึดถือแนวความคิดว่าวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่สามารถทำให้การประกาศ ความจริงไม่สามารถยอมรับ ก็คือว่ามีอาณาจักรแห่งความจริงมากมายที่วิทยาศาสตร์ไร้กำลังตัวอย่างเช่น:

• วิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ระเบียบกฎเกณฑ์ของคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ได้เนื่องจากมันใช้ข้อสมมุติล่วงหน้าสิ่งเหล่านั้น
•วิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ความจริงเชิงอภิปรัชญา เช่นจิตมากมายนอกจากของฉันดำรงอยู่
• วิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้ความจริงในด้านศีลธรรมและจริยศาสตร์ เช่น คุณไม่สามารถใช้วิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าพวกนาซีเป็นคนชั่วร้าย
• วิทยาศาสตร์ไม่สามารถที่บ่งบอก ความจริง ต่างๆ เกี่ยวกับตำแหน่งความงาม เช่น ความสวยงามของดวงอาทิตย์ขึ้น
• สุดท้าย เมื่อใครก็ตามกล่าวประโยคว่า "วิทยาศาสตร์เป็นแหล่งเดียวของ ความจริง เชิงวัตถุประสงค์" พวกเขาได้กล่าวประกาศเชิงปรัชญา - ซึ่งไม่สามารถทดสอบโดยวิทยาศาสตร์

และมีบรรดาผู้ที่กล่าวว่าความจริงสัมบูรณ์ไม่ได้นำมาใช้ในเรื่องของความมีศีลธรรม แม้กระนั้น คำตอบต่อ คำถามที่ว่า "นับว่ามีคุณธรรมหรือไม่ที่จะทรมานและฆ่าเด็กไร้เดียงสา" คำตอบที่แน่นอนและเป็นสากลคือ: ไม่เลย หรือเพื่อให้เป็นส่วนตัวกว่านี้ บรรดาผู้ที่สนับสนุนความจริงสัมพัทธ์เกี่ยวกับศีลธรรมต่างๆ ดูเหมือนมักจะต้องการให้คู่สมรสของพวกเขาสัตย์ซื่อต่อพวกเขาโดยสิ้นเชิง

ทำไม ความจริง สำคัญ
เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจและยอมรับสาระสำคัญเรื่องความจริงสัมบูรณ์ในทุกด้านของชีวิต (รวมถึงศรัทธาและศาสนา) เพียงเพราะชีวิตมีผลติดตามมาเพราะการทำผิด การให้ปริมาณยาไม่ถูกต้องแก่บางคนก็สามารถฆ่าเขาได้ การมีผู้จัดการฝ่ายการลงทุนที่ตัดสินใจทางการเงินผิดพลาด สามารถทำให้ครอบครัวยากจนได้ การขึ้นเครื่องบินผิดลำจะนำคุณไปที่ซึ่งคุณไม่ได้อยากไป; และการอยู่ร่วมกับคู่สมรสที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อชีวิตสมรสอาจส่งผลให้ครอบครัวพังและที่สำคัญคืออาจเป็นโรค

เมื่อคริสเตียนผู้ที่แก้ต่างให้ตนเองหรือผู้อื่นชื่อ ราไว ซะคาริอัส กล่าวว่า "ที่จริงนั้น ความจริงให้ความสำคัญ- โดยเฉพาะเมื่อคุณเป็นคนสุดท้ายที่ได้รับคำมุสา” และไม่มีที่ไหนเลยที่สำคัญกว่าเรื่องความศรัทธาและศาสนา นิรันดร์กาลเป็นเวลาไกลยาวนานมากที่จะเป็นเท็จ

พระเจ้าและความจริง
ในระหว่างการทดลองพระเยซูหกครั้ง ความแตกต่างระหว่าง ความจริง (ความชอบธรรม) และการมุสา (ความอธรรม) เป็นเรื่องซึ่งไม่ผิดพลาด พระเยซูทรงประทับที่นั่น ความจริง กำลังถูกตัดสินโดยพวกเขาที่กระทำทุกอย่างเต็มไปด้วยการโกหกหลอกลวง ผู้นำชาวยิวฝ่าฝืนบทบัญญัติเกือบทั้งหมดที่ตั้งไว้เพื่อปกป้องจำเลยจากการยืนยันเท็จว่าเขาทำผิด พวกเขาทำงานอย่างร้อนรนเพื่อหาพยานหลักฐานใด ๆ ที่จะฟ้องร้องพระเยซู และด้วยความพวกเขาขุ่นเคืองใจ พวกเขาหันไปใช้หลักฐานเท็จที่นำมาโดยพวกจอมโกหกหลอกลวง แต่แม้กระนั้นมันก็ไม่สามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ ดังนั้นพวกเขาจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติข้ออื่น และบังคับให้พระเยซูทรงพาดพิงถึงพระองค์เอง

ครั้งหนึ่งต่อหน้าปิลาต ผู้นำชาวยิวกล่าวคำโกหกอีกครั้ง พวกเขาใส่ร้ายว่าพระเยซูทรงทำผิดโดยการหมิ่นประมาท แต่เนื่องจากพวกเขารู้ว่าจะไม่เพียงพอที่จะชักจูงให้ปิลาตประหารพระเยซู พวกเขาอ้างว่าพระเยซูทรงกำลังท้าทายอำนาจของซีซาร์และได้ละเมิดกฎหมายของโรมันโดยการกระตุ้นให้ฝูงชนไม่ต้องเสียภาษี ปีลาตจับสังเกตได้อย่างรวดเร็วว่าเป็นคำหลอกลวงของพวกเขา และท่านไม่ทำแม้แต่จะตั้งข้อกล่าวหา

พระเยซูผู้ทรงความชอบธรรมกำลังทรงถูกตัดสินโดยคนอธรรม เรื่องจริงที่น่าเศร้าก็คือคนมาทีหลังมักข่มเหงคนที่อยู่ก่อน นั่นเป็นเหตุให้คาอินฆ่าอาเบล การเชื่อมโยงระหว่าง ความจริง และความชอบธรรม และระหว่างความเท็จและความอธรรมแสดงให้เห็นโดยตัวอย่างมากมายในพันธสัญญาใหม่:

• 2 เธสะโลนิกา 2:9–12 “คนนอกกฎหมายนั้นจะมาโดยการดลบันดาลของซาตาน พร้อมกับการอิทธิฤทธิ์ต่างๆ และหมายสำคัญ และการอัศจรรย์แห่งความเท็จ และอุบายอธรรมต่างๆสำหรับคนเหล่านั้นที่จะต้องพินาศ เพราะเขาทั้งหลายไม่ได้รักความจริงเพื่อจะรอดได้ เพราะเหตุนี้พระเจ้าจึงทรงให้ความลุ่มหลงมาครอบงำเขา ให้เขาเชื่อสิ่งที่เท็จ เพื่อคนที่ไม่เชื่อความจริง แต่ยินดีในการอธรรมจะได้ถูกพิพากษาลงโทษสิ้นทุกคน

•โรม1:18 “เพราะว่าพระเจ้าทรงสำแดงพระพิโรธของพระองค์จากสวรรค์ ต่อความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้ายทั้งมวลของมนุษย์ที่ เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง”

• โรม 2:6–8 “เพราะพระองค์จะประทานแก่ทุกคนตามควรแก่การกระทำของเขา สำหรับคนที่พากเพียรทำความดี แสวงหาศักดิ์ศรี เกียรติ และความเป็นอมตะนั้น พระองค์จะประทานชีวิตนิรันดร์ให้ แต่พระองค์จะทรงพระพิโรธ และลงพระอาชญาแก่คนที่มักยกตนข่มท่าน และไม่ประพฤติตามความจริง แต่ประพฤติชั่ว”

• 1โครินธ์ 13:5–6 “ไม่หยาบคาย ไม่คิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีเมื่อมีการประพฤติผิด แต่ชื่นชมยินดีเมื่อประพฤติชอบ”

บทสรุป
คำถามที่ปอนติอุส ปีลาตได้ถามเมื่อหลายศตวรรษก่อนหน้านี้ จำเป็นต้องได้รับการกล่าวซ้ำอีกเพื่อให้ถูกต้องครบถ้วน ข้อสังเกตของผู้ว่าราชการโรมันว่า "สัจจะ คืออะไร?" มองข้าม ความจริง ที่ว่าหลายสิ่งหลายอย่างสามารถมี ความจริงได้ แต่เพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่สามารถเป็น ความจริง ความจริง ต้องมีกำเนิดจากที่ไหนสักแห่ง

ความเป็นจริงตายตัวคือว่า ปีลาตกำลังมองตรงไปที่ต้นกำเนิดของ ความจริง ทั้งหมดในเช้าตรู่วันนั้นเมื่อสองพันปีก่อน ไม่นานนักก่อนที่ทรงถูกจับกุมและนำพาไปหาผู้ว่าราชการ พระเยซูตรัสคำง่ายๆ ว่า "เราเป็น ความจริง" (ยอห์น 14: 6) ซึ่งค่อนข้างเป็นคำกล่าวที่เหลือเชื่อ ชายธรรมดาคนหนึ่งจะเป็น ความจริง ได้อย่างไร เขาไม่สามารถเป็นได้ เว้นแต่ว่าจะทรงเป็นมากยิ่งกว่าชายคนหนึ่ง ซึ่งที่จริงเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงประกาศไว้ ข้อเท็จจริงคือ คำประกาศของพระเยซูถูกรับรองว่าเป็นจริงเมื่อพระองค์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย

โรม 1:4 “แต่ฝ่ายพระวิญญาณแห่งความบริสุทธิ์นั้นบ่งไว้ด้วยฤทธานุภาพ คือโดยการเป็นขึ้นมาจากความตายว่า เป็นพระบุตรของพระเจ้า”

มีเรื่องราวเกี่ยวกับชายคนหนึ่งผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงปารีส ที่มีคนแปลกหน้าจากชนบทมาพบเขา เพื่ออยากจะแสดงความงดงามของกรุงปารีสให้คนแปลกหน้า เขาพาคนแปลกหน้าไปที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์เพื่อดูงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ และจากนั้นไปชมคอนเสิร์ตที่ซิมโฟนีอันงดงาม เพื่อจะฟังการแสดงดนตรีซิมโฟนีออเคสตร้าอันยิ่งใหญ่ ตอนสิ้นสุดวันนั้น คนแปลกหน้าจากชนบทได้ออกความคิดเห็นว่าเขาไม่ชอบงานศิลปะหรือดนตรีเลยสักอย่าง ซึ่งเจ้าภาพที่ให้การรับรองตอบว่า "สิ่งเหล่านั้นไม่ได้อยู่ในการทดลอง แต่คุณอยู่" ปีลาตและผู้นำชาวยิวคิดว่าพวกเขากำลังพิพากษาพระคริสต์ เมื่อในความเป็นจริงแล้วพวกเขาเองเป็นคนที่กำลังถูกพิพากษา นอกจากนี้บุคคลผู้ที่พวกเขาปรักปรำว่าผิดนั้น แท้ที่จริงจะทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาของพวกเขาในวันหนึ่ง เมื่อพระองค์จะทรงพิพากษาทุกคนที่บีบคั้น ความจริง ด้วยความอธรรม

เห็นได้ชัดว่าปีลาตไม่เคยมีความรู้เรื่อง ความจริง มาเลย นักประวัติศาสตร์และบิช็อปแห่งซีซาเรียชื่อ ยูเซบิอุส บันทึกข้อเท็จจริงว่าในที่สุดปิลาต กระทำการฆ่าตัวตายในช่วงรัชสมัยขององค์จักรพรรดิ์คาลิกูลา---ซึ่งเป็นจุดจบที่น่าเศร้าและเป็นเครื่องเตือนใจทุกคนว่าการไม่สนใจ ความจริง มักนำไปสู่ผลที่ตามมาอันไม่พึงประสงค์

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ความจริง คืออะไร?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries