settings icon
share icon
คำถาม

ศาสนาซิกข์คืออะไร?

คำตอบ


ศาสนาซิกข์เกิดขึ้นเพื่อความพยายามที่จะให้มีความกลมกลืนกับศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู โดยการมองว่าศาสนาซิกข์เป็นความกลมกลืนของสองศาสนาไม่ได้ยึด ศาสนศาสตร์และวัฒนธรรมของที่เฉพาะตัวของศาสนาซิกข์ การจะเรียกศาสนาซิกข์ว่าเป็น การประนีประนอมระหว่างศาสนาอิสลามและศาสนาฮินดูจะเป็นเหมือนกับการเรียกคริสเตียน ว่าเป็นคนยิวนอกศาสนา ศาสนาซิกข์ไม่ได้เป็นลัทธิไม่ได้เป็นลูกผสมแต่ความเคลื่อนไหว ทางศาสนาที่ชัดเจน

ผู้ริเริ่มศาสนาซิกข์ซึ่งเป็นที่รู้จักชื่อว่า นานัก (1469 — 1538) เกิดมาโดยที่พ่อนับถือศาสนาฮินดู และแม่เป็นมุสลิมในประเทศอินเดีย นานักถูกกล่าวว่าได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้าโดยตรง ซึ่งพระองค์ทรงสร้างเขาให้เป็นคุรุ (ผู้รู้) ไม่นานหลังจากนั้นเขาเป็นที่รู้จักในมนณทลปันจาบ ในตอนเหนือของอินเดียสำหรับการอุทิศตัว ความเคร่งศาสนาและการยืนยันที่ชัดเจนว่า "ไม่มีมุสลิมและไม่มีศาสนาฮินดู" เขารวบรวมสาวก (สิกฺข) เขาสอนว่าพระเจ้ามีเพียงผู้เดียว แล้วเขาให้ชื่อพระเจ้าว่าสัตยนาม ("พระเจ้าผู้เป็นความจริง") หรือเอกโองการโดยการรวมสองพยาง เอก ("หนึ่ง") โอง (เสียงที่แสดงออกว่าเป็นพระเจ้า) และการ ("องค์พระผู้เป็นเจ้า") การเชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียวนั้นไม่รวมถึงบุคลิกภาพหรือต้องไม่ละลานด้วยลัทธิพระเจ้า คือจักรวาลของทางตะวันออก (พระเจ้าเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง) อย่างไรก็ตามนานักยึดหลักการ ของการกลับชาติมาเกิดและกรรมซึ่งเป็นหลักการที่โดดเด่นของศาสนาทางตะวันออก เช่นศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดูและลัทธิเต๋า นานักสอนว่าคนคนหนึ่งสามารถที่จะหนีออกจากวงจรการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ) โดยความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าผ่านทางการอุทิศตัว และการสวดมนต์ มีผู้ติดตามนานักซึ่งเป็นสายที่สมบูรณ์ของคุรุเก้าคนที่ได้รับการแต่งตั้งที่รักษาความเป็นผู้นำจนเข้าสู่ศตวรรษที่ 18 (1708)

ศาสนาซิกข์นั้นต่อสู้เพื่อสันติภาพตั้งแต่เริ่มแรกแต่ไม่สามารถที่จะอยู่ได้นาน การปฏิเสธ ความเหนือธรรมชาติของผู้พยากรณ์มุฮัมมัดถูกมองว่าเป็นการดูหมิ่นและทำให้ เกิดแรงบันดาลใจในการคัดค้านอย่างมากจากความเชื่อที่เหมือนสงครามประวัติศาสตร์ ของศาสนาอิสลาม จนถึงเวลาของคุรุคนที่สิบ โคบินท์หรายเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่าโควินท์ สิงห์ ("สิงโต") เช่นเดียวกัน เขาเป็นขาลสาคำที่มีชื่อเสียงระดับโลกของชนชั้นนักรบที่ได้มีการจัดตั้งขึ้น ขาลสาแสดงลักษณะออกมาโดย "ก 5 ประการ" เกศ (การไว้ผมยาวโดยไม่ตัดเลย) กังฆา (หวีขนาดเล็ก) กฉา (กางเกงขาสั้น) กรา (กำไลมือทำด้วยเหล็ก) กิรปาน (ดาบหรือกริช ที่ใส่ไว้ที่ด้านข้างตัว) ประเทศอังกฤษที่ตั้งอนานิคมในประเทศอินเดียในเวลานั้นได้ใช้ขาลสา เป็นนักรบและองครักษ์ โคบินท์หรายในที่สุดถูกลอบสังหารโดยชาวมุสลิม เขาเป็นคุรุซึ่งเป็นมนุษย์คนสุดท้าย แล้วใครเป็นผู้สืบตำแหน่งจากเขา เป็นพระมหาคัมภีร์ซิกข์ คัมภีร์อาทิครันถ์ได้เข้าไปแทนตำแหน่งของเขาโดยการชี้แนะจากชื่อสำรองคือคุรุ ครันถ์ คัมภีร์อาทิครันถ์ในขณะที่ ไม่มีการนมัสการมีการลงความเห็นว่ามีสถานภาพเป็นพระเจ้า

ทั้งๆ ที่มีรากฐานในแบบที่รักสันติภาพ ศาสนาซิกข์ได้มาเป็นที่รู้จักว่าพร้อมที่จะสู้ซึ่งน่าเสียดายเพราะว่าการพร้อมที่จะสู้เกิดจากปัญหาทางภูมิศาสตร์เป็นส่วนมากซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของชาวซิกข์ การต่อสู้ที่ดุเด็ดเผ็ดมันของชายแดนประเทศอินเดียกับประเทศปากีสถาน มีการแบ่งแยกกันในปี 1947 ซึ่งเป็นการตัดผ่านข้ามมณฑลปันจาบซึ่งเป็นที่ที่ชาวซิกข์มีระบบ การปกครองตัวเองในระดับสูง ความพยายามที่จะรักษาเอกลักษณ์ทางด้านการเมืองและสังคมนั้นล้มเหลวเสมอมา ผู้ก่อการร้ายมีมาตรการที่รุนแรงมากเพื่อที่จะสถาปนารัฐซิกข์แต่ผู้คนส่วนมาก ที่นับถือศาสนาซิกข์นั้นเป็นผู้ที่รักสงบ

คริสเตียนและซิกข์สามารถที่จะคิดว่าเหมือนกันตราบเท่าที่ธรรมเนียมทางศาสนาของทั้งสอง ได้ผ่านการได้รับการก่อกวนอย่างมากและทั้งคู่นมัสการพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว คริสเตียน และซิกข์ในฐานะที่เป็นคนสามารถที่จะมีสันติสุขและความเคารพร่วมกันได้ แต่ศาสนาคริสต์ และศาสนาซิกข์ไม่สามารถที่จะรวมเข้าด้วยกันได้ ระบบความเชื่อของทั้งสองมีบางจุด ของการตกลงกันแต่แท้จริงแล้วมีมุมมองต่อพระเจ้าที่แตกต่างกัน มีมุมมองต่อพระเยซูที่แตกต่างกัน มีมุมมองต่อพระคัมภีร์ที่แตกต่างกันและมีมุมมองต่อความรอดที่แตกต่างกัน

อย่างแรกคือแนวคิดเกี่ยวกับพระเจ้าของศาสนาซิกข์คือว่าพระเจ้าเป็นนามธรรมและไม่เป็นส่วนตัวเป็นการขัดแย้งโดยตรงกับ "อับบาพระบิดา" แห่งความรักและความห่วงใย พระเจ้าเปิดเผย ในพระคัมภีร์ (โรม 8:15, กาลาเทีย 4:6) พระเจ้าของเรามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับบุตรของพระองค์ รู้ว่าเมื่อไรที่เรานั่ง เมื่อไรที่เราลุกขึ้นและเข้าใจทุกๆ ความคิดของเรา (สดุดี 139:2) พระองค์รักเราด้วยความรักที่ไม่มีสิ้นสุดและนำให้เราเข้าใจพระองค์ในการทรงสถิตและความสัตย์ซื่อของพระองค์ (เยเรมีย์ 31:3) พระองค์ได้ทำให้เห็นชัดเจนว่าพระองค์ไม่สามารถที่จะคืนดีกับพระที่ดูเหมือนว่าเป็นพระเจ้าของศาสนาอื่นคือ "ก่อนหน้าเรา ไม่มีพระใดถูกปั้นขึ้นและภายหลังเราก็จะไม่มี" (อิสยาห์ 43:10) และ "เราเป็นพระเจ้า และไม่มีอื่นใดอีกนอกจากเราไม่มีพระเจ้า" (อิสยาห์ 45:5)

สองคือศาสนาซิกข์ปฏิเสธสถานภาพที่เฉพาะของพระเยซูคริสต์ พระคัมภีร์ของคริสเตียนยืนยัน ว่าความรอดจะมาจากพระองค์เพียงผู้เดียว "เราเป็นทางนั้น เป็นความจริงและเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากจะมาทางเรา" (ยอห์น 14:6) "ในผู้อื่นความรอดไม่มีเลย ด้วยว่านามอื่นซึ่งให้เราทั้งหลายรอดได้ ไม่ทรงโปรดให้มีในท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า" (กิจการ 4:12) ไม่ว่าจะเป็นสถานภาพใดซึ่งผู้ที่นับถือศาสนาซิกข์มีให้กับพระคริสต์นั้น ไม่ใช่สถานภาพที่พระองค์สมควรได้รับและไม่ได้เป็นเหมือนกับที่พระคัมภีร์บอกว่าพระองค์ คือพระบุตรของพระเจ้าและเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของคนในโลก

สามคือผู้ที่นับถือศาสนาซิกข์และคริสเตียนต่างอ้างว่ามีพระคัมภีร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจเฉพาะตัว หนังสือต้นฉบับสำหรับศาสนาคริสต์และศาสนาซิกข์ไม่สามารถที่จะเป็น "พระคำเดียว ของพระเจ้า" ทั้งคู่ได้ เพื่อที่จะเจาะจงคือคริสเตียนอ้างว่าพระคัมภีร์นั้นเป็นทุกคำของพระเจ้า เป็นลมหายใจของพระเจ้า เขียนขึ้นให้แก่ผู้ที่แสวงหาที่จะรู้และเข้าใจ "และเป็นประโยชน์ ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ไขคนให้ดี และการอบรมในทางธรรม เพื่อคน ของพระเจ้าจะพรักพร้อมที่จะกระทำการดีทุกอย่าง" (2 ทิโมธี 3:16 – 17) พระบิดาแห่งฟ้าสวรรค์ได้ให้พระคัมภีร์แก่เราเพื่อที่เราจะรู้จักและรักพระองค์ เพื่อที่เราจะ "รู้ความจริง" (1 ทิโมธี 2:4) และเพื่อที่เราจะมาหาพระองค์เพื่อรับชีวิตนิรันดร์

สี่และท้ายสุดคือมุมมองของซิกข์ต่อความรอดนั้นปฏิเสธการเสียสละเพื่อการไถ่โทษของพระคริสต์ ศาสนาซิกข์สอนเกี่ยวกับหลักการของกรรมและการอุทิศตัวให้แก่พระเจ้า กรรมเป็นการอธิบายเกี่ยวกับความบาปที่ยังไม่เพียงพอและไม่มีขนาดของการทำดีที่จะเป็นค่าตอบแทนสำหรับการทำบาปครั้งเดียวต่อพระเจ้าที่บริสุทธิ์อย่างนับไม่ได้ได้เลย ความบริสุทธิ์ที่สมบูรณ์แบบไม่สามารถ ที่จะทำอะไรได้น้อยกว่าการเกลียดความบาป เพราะว่าพระองค์เที่ยงธรรม พระเจ้าไม่สามารถ ที่จะให้อภัยบาปได้โดยที่ไม่มีการตอบแทนค่าจ้างที่บาปนั้นก่อขึ้นมา ในเมื่อพระองค์นั้นดี พระเจ้าไม่สามารถที่จะให้คนบาปเข้าไปยังความสุขในสวรรค์โดยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ในพระคริสต์พระเจ้าซึ่งเป็นมนุษย์เราได้รับการเสียสละที่นับไม่ถ้วนที่คุ้มค่าสำหรับการจ่ายหนี้ของเรา การยกโทษให้แก่เรานั้นมีราคาสูงเหนือที่จะวัดได้ ราคาสูงขนาดที่เราซึ่งเป็นมนุษย์ ไม่สามารถที่จะมีให้ได้ แต่เราสามารถที่จะรับเป็นของขวัญได้ สิ่งที่พระคัมภีร์กล่าวถึงคือ "พระคุณ" พระคริสต์จ่ายค่าหนี้ที่เราไม่สามารถที่จะจ่ายได้ พระองค์เสียสละชีวิตของพระองค์เพื่อเป็นตัวแทนของเราเพื่อที่เราจะได้อาศัยอยู่กับพระองค์ สิ่งที่เราต้องทำคือวางความเชื่อของเราไว้ที่พระองค์ ศาสนาซิกข์ในอีกด้านหนึ่งล้มเหลวที่จะจัดการปัญหากับปัญหาที่ไม่สิ้นสุดของผลลัพธ์ของบาป บทบาททั้งหลายของความดีและความยุติธรรมของพระเจ้าและความชั่วทั้งหมดของมนุษย์

โดยสรุปเราอาจจะกล่าวได้ว่าศาสนาซิกข์มีประวัติศาสตร์และศาสนศาสตร์ที่ตามรอยทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลามแต่ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นเพียงแค่การผสมผสาน ของสองศาสนานี้ เป็นการค่อยๆ พัฒนาเข้าสู่การเป็นระบบทางศาสนาที่แตกต่างอย่างชัดเจน คริสเตียนสามารถที่จะพบหลักความเห็นร่วมกันกับซิกข์ได้ในบางจุดแต่แท้จริงแล้วศาสนาคริสต์และศาสนาซิกข์ไม่สามารถที่จะปรองดองกันได้

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ศาสนาซิกข์คืออะไร?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries