settings icon
share icon
คำถาม

ทำไมชุมชนวิทยาศาสตร์จึงต่อต้านแนวคิดแบบรังสรรค์นิยม

คำตอบ


เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแยกความแตกต่างระหว่างคำว่า "วิทยาศาสตร์" และ "ชุมชนวิทยาศาสตร์" วิทยาศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสังเกต การทดลอง และการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ชุมชนวิทยาศาสตร์นั้นประกอบไปด้วยมนุษย์ที่มีชีวิตผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในระเบียบนี้ ความแตกต่างนี้มีความสำคัญเนื่องจากทำให้เห็นว่าไม่มีความขัดแย้งทางตรรกะระหว่างแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์และแนวคิดแบบรังสรรค์นิยม วิทยาศาสตร์เป็นคำทั่วไปสำหรับรูปแบบของการศึกษาประเภทหนึ่ง ในขณะที่แนวคิดแบบรังสรรค์นิยมเป็นปรัชญาที่ใช้ในการตีความข้อเท็จจริง ชุมชนวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ทุกวันนี้ยึดถือแนวคิดแบบธรรมชาตินิยมโดยเป็นปรัชญาหลักที่มีการให้ความสำคัญ แต่ก็ไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมวิทยาศาสตร์จึงควรให้ความสำคัญกับแนวคิดแบบธรรมชาตินิยมมากกว่าแนวคิดแบบรังสรรค์นิยม

โดยทั่วไปมีการรับรู้ว่าแนวคิดแบบรังสรรค์นิยม "ไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์" นี่เป็นความจริงแค่บางส่วนในด้านที่ว่าแนวคิดแบบรังสรรค์นิยมนำมาซึ่งข้อสมมติฐานบางอย่างที่ไม่สามารถทดสอบ พิสูจน์ หรือปลอมแปลงได้ อย่างไรก็ตามแนวคิดแบบธรรมชาตินิยมอยู่ในสภาพเดียวกันทุกประการ เหมือนกับปรัชญาที่ทดสอบไม่ได้ พิสูจน์ไม่ได้ และไม่อาจพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ ข้อเท็จจริงที่ค้นพบในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นเพียงข้อเท็จจริงเท่านั้น ข้อเท็จจริงและการตีความเป็นสองสิ่งที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วชุมชนวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไม่ยอมรับแนวคิดแบบรังสรรค์นิยม ดังนั้นพวกเขาจึงนิยามแนวคิดแบบนี้ว่า "ไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์" เรื่องนี้เป็นเรื่องน่าเยาะเย้ยอย่างมากเนื่องจากชุมชนวิทยาศาสตร์ชอบหลักปรัชญาการตีความนั้นก็คือ ธรรมชาตินิยมที่ “ไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์” เช่นเดียวกับแนวคิดแบบรังสรรค์นิยม

มีเหตุผลหลายประการสำหรับแนวโน้มนี้ที่มีต่อแนวคิดแบบธรรมชาตินิยมในทางวิทยาศาสตร์ แนวคิดแบบรังสรรค์นิยมเกี่ยวข้องกับการแทรกแซงของสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติและวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องเป็นหลักกับสิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่เป็นกายภาพ ด้วยเหตุผลนี้บางคนในชุมชนวิทยาศาสตร์กลัวว่าแนวคิดแบบรังสรรค์นิยมจะนำไปสู่สภาวะวิกฤติสำหรับ "พระเจ้าแห่งช่องว่าง" ซึ่งคำถามทางวิทยาศาสตร์มักถูกมองข้ามโดยคำอธิบายว่า "พระเจ้าทำสิ่งนั้น” ประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นว่าไม่เป็นเช่นนั้น ชื่อที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบางชื่อในประวัติศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์คือผู้ที่เชื่อในแนวคิดแบบรังสรรค์นิยมที่ไว้วางใจได้ ความเชื่อของพวกเขาในพระเจ้าเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาถามว่า "พระเจ้าทำได้อย่างไร" ในบรรดาชื่อเหล่านี้ได้แก่ปัสกาล (Pascal), แมกซ์เวลล์ (Maxwell) และ เคลวิน (Kelvin) ในทางกลับกันข้อตกลงร่วมกันที่ไม่สมเหตุสมผลต่อแนวคิดแบบธรรมชาตินิยมอาจทำให้การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ลดน้อยลง กรอบแนวคิดแบบธรรมชาตินิยมต้องการให้นักวิทยาศาสตร์เพิกเฉยต่อผลลัพธ์ที่ไม่สอดคล้องกับกระบวนทัศน์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ กล่าวคือเมื่อข้อมูลใหม่ไม่สัมพันธ์กับมุมมองที่เป็นธรรมชาติก็จะถือว่าข้อมูลนั้นไม่สมบูรณ์และถูกโยนทิ้ง

มีบทบาทรองทางศาสนาที่ชัดเจนต่อแนวคิดแบบรังสรรค์นิยม วิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับผู้ที่มีส่วนร่วมในวิทยาศาสตร์นั้นและบุคคลเหล่านั้นก็มีอคติเช่นเดียวกับในวงการอื่นใดก็ตาม มีผู้ที่ปฏิเสธแนวคิดแบบรังสรรค์นิยมเพื่อสนับสนุนแนวคิดแบบธรรมชาตินิยมด้วยเหตุผล "ทางศีลธรรม" ส่วนบุคคลล้วนๆ ในความเป็นจริง จำนวนตัวเลขนี้น่าจะมากเกินกว่าที่จะยอมรับได้ คนส่วนใหญ่ที่ปฏิเสธแนวความคิดเกี่ยวกับพระเจ้ามักทำเช่นนั้นเพราะพวกเขาไม่เห็นด้วยกับข้อจำกัดการรับรู้บางอย่างหรือความไม่ยุติธรรม ถึงแม้จะอ้างว่าเป็นไปในทางตรงกันข้าม และสิ่งนี้ก็เป็นจริงสำหรับผู้ที่ทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับผู้ที่ทำงานในวงการอื่นใดก็ตาม

ในทำนองเดียวกันทัศนคติที่ไม่เป็นมิตรในชุมชนวิทยาศาสตร์ก็มีผลกระทบต่อการรับรู้ของแนวคิดแบบรังสรรค์นิยม วิทยาศาสตร์ได้รับประโยชน์จากนักคิดแบบรังสรรค์นิยมมานานหลายศตวรรษ แต่กระนั้นทุกวันนี้ชุมชนวิทยาศาสตร์โดยส่วนมากกลับเป็นศัตรู และมีทัศนคติที่หยิ่งยโสต่อใครก็ตามที่ไม่มีมุมมองแบบธรรมชาตินิยม การเป็นปรปักษ์อย่างชัดเจนต่อมุมมองต่างๆ ทางด้านแนวคิดแบบรังสรรค์นิยมและทางด้านศาสนาโดยทั่วไปทำให้เกิดการกระตุ้นที่รุนแรงสำหรับผู้ที่มีมุมมองแบบนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และคนเหล่านั้นมักจะรู้สึกถูกบังคับให้นิ่งเงียบเพราะกลัวว่าจะถูกเยาะเย้ย ด้วยวิธีนี้ชุมชนวิทยาศาสตร์จึงได้เสื่อมถอยและ "ผลักไส" ประชากรกลุ่มหนึ่งไป แล้วจากนั้นก็มีความกล้าที่จะเรียกร้องว่าเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่าของผู้ที่เชื่อในแนวคิดแบบรังสรรค์นิยมในกลุ่มของพวกเขาเป็นหลักฐานของคุณความดีในด้านวิทยาศาสตร์ของแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม

นอกจากนี้ยังมีเหตุผลทางการเมืองสำหรับชุมชนวิทยาศาสตร์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อแนวคิดแบบรังสรรค์นิยมและศาสนาโดยทั่วไป โดยเฉพาะศาสนาคริสต์นั้นจะเป็นมากกว่าระบบในศาสนาอื่นๆ ซึ่งให้คุณค่าเป็นอย่างมากกับชีวิตของมนุษย์ทุกคน สิ่งนี้ทำให้เกิดความตึงเครียดกับชุมชนวิทยาศาสตร์เมื่อความกังวลเรื่องชีวิตนั้นขัดขวางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์บางประเภท ค่านิยมของคริสเตียนมักจะทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งการทดลองหรือสถานะที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้คนหรือว่าทำลายหรือทำให้ชีวิตมนุษย์เสียหาย ตัวอย่างได้แก่การวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน การทำแท้ง และการุณยฆาต ในกรณีอื่นๆ ค่านิยมของคริสเตียนขัดแย้งกับค่านิยมทางโลกเมื่อวิทยาศาสตร์ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นบาปบางอย่างโดยทำให้การทำบาปนั้นง่ายขึ้น ในขณะที่นักธรรมชาติวิทยาอาจมองว่านี่เป็นอุปสรรคที่ไม่จำเป็น พวกเขาควรพิจารณาว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์โดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมหรือสติสัมปชัญญะ การสะท้อนความคิดนี้คือตัวละครของนักแสดงเจฟฟ์ โกลด์บลุม (Jeff Goldblum) ในภาพยนตร์เรื่องจูราสสิค พาร์ค (Jurassic Park) เขากล่าวว่า "นักวิทยาศาสตร์ของคุณหมกมุ่นอยู่กับการทำได้หรือไม่ได้มากเกินไปจนพวกเขาไม่ได้หยุดเพื่อคิดว่าควรหรือไม่ควร"

นอกจากนี้ยังมีระดับของการแข่งขันระหว่างชุมชนทางวิทยาศาสตร์และชุมชนทางศาสนาเกี่ยวกับการยึดอำนาจซึ่งก่อให้เกิดความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างวิทยาศาสตร์และแนวคิดแบบรังสรรค์นิยม แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำผู้มีความสงสัยบางคนก็ยอมรับเช่นเดียวกันว่ามีแนวโน้มที่ชุมชนวิทยาศาสตร์จะวางสถานะเป็นของตัวเองให้เป็นพระแม้จะอยู่ในจิตใต้สำนึกก็ตาม สถานะพระทางโลกนี้แสดงให้เห็นว่าตัวมันเองมีความรู้ที่ยอดเยี่ยมและดีที่สุดแบบที่ฆราวาสต้องการสำหรับความรอด และบุคคลภายนอกไม่สามารถตั้งคำถามได้ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความชัดเจนคือศาสนาที่มีการแต่งเติมความคิดเช่น แนวคิดแบบรังสรรค์นิยมกระทบต่อการเรียกร้องของชุมชนวิทยาศาสตร์ในด้านความรู้ที่เหนือกว่าของจักรวาล

ในขณะที่อาจจะมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างชุมชนวิทยาศาสตร์กับแนวคิดแบบรังสรรค์นิยมแต่ก็มีเหตุผลเพียงพอว่าทำไมพวกเขาจึงควรอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่มีหลักเหตุผลในการปฏิเสธแนวคิดแบบรังสรรค์นิยมเพื่อเห็นด้วยกับธรรมชาตินิยมดังที่สังคมวิทยาศาสตร์ได้ทำไปแล้ว แนวคิดแบบรังสรรค์นิยมไม่ได้ขัดขวางการสำรวจ ดังหลักฐานจากรายการ titans of science ที่เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในสิ่งนั้น ทัศนคติที่ดูถูกแนวคิดแบบรังสรรค์นิยมได้ลดจำนวนผู้ที่มีความสามารถและเต็มใจในหลายวงการ แนวคิดแบบรังสรรค์นิยมมีอะไรมากมายที่จะนำเสนอต่อวิทยาศาสตร์และชุมชนวิทยาศาสตร์ พระเจ้าผู้ทรงสร้างจักรวาลได้สำแดงพระองค์เองผ่านทางจักรวาล (สดุดี 19:1) ยิ่งเรารู้เกี่ยวกับการทรงสร้างของพระองค์มากเท่าใด พระองค์ก็ยิ่งได้รับเกียรติมากขึ้นเท่านั้น

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ทำไมชุมชนวิทยาศาสตร์จึงต่อต้านแนวคิดแบบรังสรรค์นิยม
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries