settings icon
share icon
คำถาม

ฉันสามารถมั่นใจได้อย่างไรว่าความโกรธของฉันเป็นความโกรธเคืองที่ชอบธรรม?

คำตอบ


เราสามารถมั่นใจว่าความโกรธเคืองหรือความไม่พอใจของเราชอบธรรม ก็ต่อเมื่อมันมุ่งตรงไปยังสิ่งที่ทำให้พระเจ้าเองทรงพระพิโรธ ความโกรธเคืองและความขุ่นเคืองที่ชอบธรรมได้แสดงออกมาอย่างยุติธรรมเมื่อเราเผชิญหน้ากับความบาป ตัวอย่างที่ดีได้แก่ความโกรธเคืองที่มีต่อการล่วงละเมิดเด็ก สื่อลามก การเหยียดผิว กิจกรรมรักร่วมเพศ การทำแท้งและสิ่งอื่น ๆ ที่คล้ายกัน

อัครทูตเปาโลเตือนคนเหล่านั้นที่ทำให้พระเจ้าทรงพระพิโรธว่า "การงานของเนื้อหนังนั้นเห็นได้ชัด คือการล่วงประเวณี การโสโครก การเสเพล การนับถือรูปเคารพ การถือวิทยาคม การเป็นศัตรูกัน การวิวาทกัน การริษยากัน การฉุนเฉียวกัน การใฝ่สูง การทุ่มเถียงกัน การแตกก๊กกัน การอิจฉากัน การเมาเหล้า การเล่นเป็นพาลเกเร และการอื่น ๆ ในทำนองนี้ซึ่งข้าพเจ้าเคยเตือนพวกท่านมาก่อนว่า คนที่ประพฤติเช่นนั้นจะไม่มีส่วนในแผ่นดินของพระเจ้า" (กาลาเทีย 5:19‭-‬21) พระเยซูแสดงออกถึงความโกรธเคืองที่ชอบธรรมซึ่งอยู่เหนือบาปของมนุษย์ (มาลาคี 3:1-5 , มัทธิว 21:12-13 , ลูกา 19:41-44) แต่พระพิโรธของพระองค์จัดการพฤติกรรมที่เต็มไปด้วยบาปและความอยุติธรรมที่ไม่ผิดพลาด ‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬

‬ อย่างไรก็ตามเราก็ได้รับการสอนให้ระวังความโกรธของเราเพื่อว่าเราจะไม่ทำบาป "จะโกรธก็โกรธได้ แต่อย่าทำบาป อย่าให้ถึงตะวันตกแล้วยังโกรธอยู่ อย่าให้โอกาสแก่มาร" (เอเฟซัส 4:26‭-27) เราควรตรวจสอบทัศนคติของเราเช่นเดียวกับแรงจูงใจของเราก่อนที่จะเริ่มโกรธผู้อื่น เปาโลได้ให้คำแนะนำถึงแนวทางที่เหมาะสมแก่เราอยู่บ้างคือ "นี่แน่ะ ท่านผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า อย่าแก้แค้น แต่จงมอบการนั้นไว้ แล้วแต่พระเจ้าจะทรงลงโทษ เพราะมีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า ตรัสว่า 'การแก้แค้นเป็นของเรา เราเองจะตอบแทน' แต่ว่า 'ถ้าศัตรูของท่านหิว จงให้อาหารเขารับประทาน ถ้าเขากระหายน้ำก็จงให้น้ำเขาดื่ม เพราะว่าการทำเช่นนั้น จะทำให้เขารู้สึกตัวและกลับมาคืนดี' อย่าให้ความชั่วชนะเราได้ แต่จงชนะความชั่วด้วยความดี" (โรม 12:19‭-‬21)‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬

‬‬ ยากอบได้ให้คำแนะนำที่ดีแก่เราเมื่อกล่าวถึงความโกรธเคืองที่ชอบธรรมว่า "พี่น้องที่รักของข้าพเจ้า จงเข้าใจในเรื่องนี้ คือให้ทุกคนไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ เพราะว่าความโกรธของมนุษย์ไม่ก่อให้เกิดความชอบธรรมของพระเจ้า" (ยากอบ 1:19‭-‬20) อัครทูตเปโตร กล่าวซ้ำถึงคำแนะนำนี้ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เราเผชิญหน้ากับผู้ที่เป็นปรปักษ์ต่อพระเจ้าและสิ่งต่างๆ ของพระองค์คือ "แต่ถ้าพวกท่านต้องทนทุกข์ เพราะทำสิ่งถูกต้อง พวกท่านก็เป็นสุข อย่ากลัวการข่มขู่ของพวกเขา และอย่าวิตกไปเลย แต่ในใจของพวกท่าน จงเคารพนับถือพระคริสต์ว่าเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า จงเตรียมพร้อมเสมอ ที่จะอธิบายกับทุกคนที่ขอทราบเหตุผลเกี่ยวกับความหวังของพวกท่าน แต่จงตอบด้วยความสุภาพอ่อนโยนและด้วยความนับถือ จงมีมโนธรรมที่บริสุทธิ์ เพื่อเมื่อพวกท่านถูกใส่ร้าย คนที่กล่าวร้ายความประพฤติดีของพวกท่านในพระคริสต์จะต้องอับอาย เพราะว่าการทนทุกข์เพราะทำดี ถ้าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า ก็ดีกว่าการทนทุกข์เพราะทำชั่ว" (1 เปโตร 3:14‭-‬17)‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬

‬‬ ผู้เชื่อยังสามารแสดงความโกรธเคืองของพวกเขาผ่านทางการกระทำในทางสร้างสรรค์ โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรคริสเตียนซึ่งต่อสู้อำนาจที่ชั่วร้ายในสังคม กุญแจสำคัญก็คือ ถ้าการกระทำที่รุนแรงของเราเป็นผลให้ผู้อื่นเข้ามาอยู่ในความรักและมีความสัมพันธ์ที่กลับคืนดีกับพระเจ้า สิ่งนั้นแหละคือความโกรธเคืองที่ชอบธรรม

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ฉันสามารถมั่นใจได้อย่างไรว่าความโกรธของฉันเป็นความโกรธเคืองที่ชอบธรรม?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries