settings icon
share icon
คำถาม

ทำไมศาสนาถึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบไม่ได้

คำตอบ


มีการกล่าวไว้บ่อยครั้งว่าสงครามที่มีการต่อสู้กันในนามของศาสนานั้นมีมากกว่าสิ่งอื่นใด ในขณะที่คำกล่าวนั้นไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด หลายคนยังครุ่นคิดถึงคำถามที่ว่า “ทำไมศาสนาถึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบไม่ได้” คำตอบแบบสั้นๆ คือเพราะว่าศาสนาที่แตกต่างกันกำลังแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งหัวใจและจิตวิญญาณของมนุษย์ ธรรมชาติของความเชื่อทางศาสนานั้นมีความเฉพาะตัว เพราะว่าแต่ละศาสนาอ้างถึงความจริงที่ขัดแย้งกับคำอ้างของศาสนาอื่นๆ

ทุกศาสนาจัดการกับคำถามพื้นฐานเหล่านี้คือ มนุษย์มาจากไหน ทำไมเขาจึงมาอยู่ที่นี่ มีชีวิตหลังความตายไหม มีพระเจ้าไหม แล้วเราจะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร คำถามเหล่านี้ช่วยจำแนกโลกทัศน์ของคนคนหนึ่งซึ่งเป็นปรัชญาขั้นพื้นฐานของการที่คนคนหนึ่งจะจัดการกับชีวิต เมื่อคนสองคนมีคำตอบที่ต่างกันสำหรับคำถามเหล่านี้ แน่นอนว่าจะเกิดความขัดแย้งบางประการ ความขัดแย้งนี้อาจจะมีระดับตั้งแต่การไม่เห็นด้วยแบบเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงการต่อสู้กับความเป็นความตายโดยขึ้นอยู่กับผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในเมื่อมีศาสนาที่แตกต่างกันเป็นร้อยๆ ศาสนาในโลกและคนเป็นล้านๆ คนก็กำหนดโลกทัศน์ของพวกเขาเอง มันจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเห็นว่าสิ่งต่างๆ นั้นเริ่มบานปลายได้อย่างไร

โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการถามคำถามว่า “ทำไมศาสนาถึงอยู่ร่วมกันไม่ได้” ก็มักจะมีการมุ่งเน้นไปที่การต่อสู้ดิ้นรนของประวัติศาสตร์ท่ามกลางศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาห์ และศาสนาอิสลาม แม้ว่าศาสนาอื่นมักจะมีส่วนร่วมด้วย บางครั้งความแตกต่างอยู่ระหว่างสันตินิยมของลัทธิรหัสยนิยมในแถบตะวันออกกับความรุนแรงของความเชื่อแบบเอกเทวนิยมแบบดั้งเดิม (ศาสนาคริสต์, ศาสนายูดาห์, ศาสนาอิสลาม) แม้ว่าความรุนแรงและแนวความคิดแบบสุดโต่งจะสามารถพบได้ในศาสนาที่เกี่ยวข้องกับเวทย์มนต์ได้เช่นเดียวกัน เมื่อมองดูประวัติศาสตร์อย่างคร่าวๆ จะได้รับการยืนยันว่าทุกศาสนามีผู้ที่มีความคิดสุดโต่งและมีส่วนในการถูกตำหนิเรื่องความรุนแรง คำถามสำคัญที่ต้องถามคือการนองเลือกนั้นมาจากคำสอนที่สำคัญของศาสนาหรือไม่ หรือมาจากการบิดเบือนความเชื่อเหล่านั้น

ศาสนาคริสต์มันจะถูกตำหนิในการกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อนที่กระทำขึ้นในนามของพระเยซูคริสต์ อย่างเช่นสงครามครูเสด (ปีค.ศ.1096-1277) ศาลศาสนา (ปีค.ศ.1200-1800) สงครามศาสนาของฝรั่งเศส (ปีค.ศ.1562-1598) ซึ่งเป็นตัวอย่างทั่วๆ ไป เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์และการอนุมัติโดยคริสตจักรโรมันคาทอลิก กระนั้นก็เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการละเมิดคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์ อันที่จริงแล้วทั้งเหตุการณ์ศาลศาสนาและสงครามศาสนาของฝรั่งเศสนั้นกระทำโดยการโจมตีของชาวคาทอลิกต่อคริสเตียนผู้ซึ่งไม่เห็นด้วยกับหลักคำสอนและการปฏิบัติของคริสตจักรคาทอลิก การเขียนประวัติศาสตร์นี้ โนอาห์ เว็บสเตอร์ (Noah Webster) กล่าวว่า “การสถาปนาคริสตจักรของยุโรปซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทรราชไม่ใช่ศาสนาของคริสเตียนแต่เป็นการละเมิดและคดโกงต่อศาสนาคริสต์”

เมื่อพิจารณาคำสอนของพระเยซูและเหล่าอัครทูตก็เป็นที่ชัดเจนว่าคริสเตียนได้รับการคาดหวังให้ดำเนินชีวิตโดยมีสันติสุข พระธรรมโรม 12:14 และ 18 กล่าวว่า “จงอวยพรแก่ผู้ที่ข่มเหงท่าน จงอวยพรและอย่าแช่งด่าเลย...ถ้าเป็นได้เท่าที่เรื่องขึ้นอยู่กับท่าน จงอยู่ร่วมกับทุกคนอย่างสงบสุข” พระเยซูตรัสในมัทธิว 5:39 ว่า “แต่เราบอกท่านว่าอย่าต่อสู้กับคนชั่ว ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย” เปโตรเขียนไว้ว่า “อย่าทำชั่วตอบแทนการชั่ว อย่าด่าว่าผู้ที่ด่าว่าท่าน แต่จงให้พรเขาแทนเพราะพระเจ้าได้ทรงเรียกท่านให้ทำเช่นนี้ เพื่อท่านจะได้รับพระพรเป็นมรดก” (1 เปโตร 3:9)

ศาสนายูดาห์ถูกกล่าวหาว่าปลุกระดมความรุนแรง แต่ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ ชาวยิวอยู่ในฝ่ายที่รับความรุนแรงมามากกว่าสองพันปีแล้ว ในทุกประเทศที่พวกเขาได้อาศัยอยู่ พวกเขาถูกใส่ร้ายและถูกข่มเหง แม้ว่าพวกเขาจะดำเนินชีวิตอย่างสงบสุขและให้สิ่งดีๆ และการบริการดีๆ แก่ผู้อื่นก็ตาม บางคนจะชี้ไปยังตอนต่างๆ ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมซึ่งชาวยิวได้รับคำสั่งให้ทำลายชนชาติอื่นให้สิ้นไปและกล่าวว่านี่เป็นการพิสูจน์ถึงความรุนแรงที่แอบแฝงอยู่ในศาสนายูดาห์ น่าสนใจที่แม้ว่าพระเจ้าจะทรงบัญชาให้ชาวยิวกวาดล้างผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพันธสัญญาออกให้หมด (เฉลยธรรมบัญญัติ 7:1-5) เพื่อป้องกันประชากรของพระองค์จากการตกลงสู่การบูชารูปเคารพ พระองค์ยังคงสั่งพวกเขาว่าไม่ให้ “กดขี่ข่มเหงรังแกคนต่างด้าว” (อพยพ 22:21) และพระองค์ขยายการเชิญชวนไปยังทุกคนไม่ใช่เพียงแค่ชาวยิวให้เชื่อในพระองค์และได้รับความรอด (อิสยาห์ 45:22, โรม 10:12, 1 ทิโมธี 2:4) ความตั้งใจของพระเจ้าคือการอวยพรคนทุกคนผ่านทางชาวยิว (ปฐมกาล 12:3, อิสยาห์ 49:6) ศาสนายูดาห์สอนผู้คนว่า “จงประพฤติอย่างเที่ยงธรรม รักความเมตตากรุณา และดำเนินอย่างถ่อมใจไปกับพระเจ้าของท่าน” (มีคาห์ 6:8)

ศาสนาอิสลามยังถูกกล่าวหาในด้านความรุนแรงเช่นเดียวกัน และในช่วงไม่กี่ปีมานี้หลายคนพยายามแยกแยะระหว่างอิสลามหัวรุนแรงกับ “ศาสนาแห่งสันติภาพ” ตามที่บางครั้งมีการเรียกศาสนาอิสลาม ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีผู้นับถือศาสนาอิสลามที่รักสันติภาพหลายคน แต่มันก็ยังชัดเจนว่าพื้นฐานของศาสนาอิสลามมีรากฐานมาจากความรุนแรง มุฮัมมัด (Muhammad) (ปีค.ศ. 570-632) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบและผู้พยากรณ์ของศาสนาอิสลามนั้นได้รับการเลี้ยงดูในเมืองเมกกะและเริ่มเทศนาการเปิดเผยของเขาตอนอายุ 40 ปี เมื่อชนเผ่าบางชนเผ่าต่อต้านเขา เขาก็ได้นำผู้ติดตามของเขาในการต่อสู้อันโหดร้ายเพื่อเอาชนะและเปลี่ยนความเชื่อของชนเผ่าเหล่านั้น การเปิดเผยหลายๆ อย่างที่ได้รับนั้นเป็นการส่งเสริมให้มุสลิมฆ่าผู้ที่ไม่เชื่อ (ซูเราะฮ์ 2:191, 4:74, 8:12) และนั่นเป็นวิธีการหลักที่ศาสนาอิสลามได้แพร่ไปตลอดทั้งประวัติศาสตร์ เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาทำสงครามกับโจรสลัดบาร์บารี (Barbary pirates) ทิโมธี พิคเกอริง (Timothy Pickering) รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่า “การถูกสอนโดยการเปิดเผยว่าการทำสงครามกับคริสเตียนจะยืนยันถึงความรอดของจิตวิญญาณของพวกเขาและการหาประโยชน์ทางโลกอย่างมากในการปฏิบัติงานของศาสนานี้ การชักจูงไปยังการต่อสู้ที่รุนแรงนั้นมีพลังมาก” ในทางตรงกันข้ามกับคริสเตียนที่มีแนวคิดแบบสุดโต่งที่บิดเบือนพระคัมภีร์อย่างชัดเจนเพื่อพิสูจน์ความรุนแรงของพวกเขานั้นมุสลิมหัวรุนแรงสามารถชี้ไปที่การสอนและการปฏิบัติที่ชัดเจนของผู้ค้นพบศาสนาของพวกเขาเพื่อสนับสนุนการกระทำของพวกเขา ดังนั้นผู้ซ่งเชื่อในศาสนาอิสลามสายกลางมีหน้าที่ต้องอธิบายถึงข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับการไม่เอาโทษความรุนแรง

มีหนึ่งคำที่สามารถสรุปเหตุผลว่าทำไมศาสนาถึงอยู่ร่วมกันอย่างสันติไม่ได้ก็คือ บาป เพราะว่าบาปส่งผลกระทบต่อมนุษย์ทุกคน แนวโน้มในการต่อสู้กันอาจสูงขึ้นตามเนื้อหาของศาสนา ในขณะที่ศาสนาซึ่งแตกต่างกันออกไปอาจจะมีประโยชน์ในทางบวกที่คล้ายๆ กันต่อสังคม ทุกๆ ศาสนานั้นไม่เท่าเทียมกัน มีเพียงศาสนาคริสต์เท่านั้นที่จัดการกับปัญหาของบาปโดยการเปลี่ยนแปลงหัวใจของมนุษย์ “เหตุฉะนั้นถ้าผู้ใดอยู่ในพระคริสต์ การทรงสร้างใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งเก่าได้ล่วงไป สิ่งใหม่ได้เข้ามา!” (2 โครินธ์ 5:17)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ทำไมศาสนาถึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบไม่ได้
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries