settings icon
share icon
คำถาม

พระคัมภีร์กล่าวถึงการเอาชนะตัณหาไว้ว่าอย่างไร?

คำตอบ


คำส่วนใหญ่ในพระคัมภีร์ที่แปลว่า “ตัณหา” หมายถึง “ความปรารถนาอันแรงกล้า” ความปรารถนาอันแรงกล้าอาจเป็นได้ทั้งดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับเป้าหมายของความปรารถนานั้นและแรงจูงใจเบื้องหลัง พระเจ้าทรงสร้างจิตใจมนุษย์ให้สามารถมีความปรารถนาอันแรงกล้าเพื่อที่เราจะติดตามพระองค์และความชอบธรรมของพระองค์ไป (สดุดี 42: 1–2, 73:25) อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่อง “ตัณหา” ในตอนนี้มักเกี่ยวข้องกับความปรารถนาอันแรงกล้าในบางสิ่งที่พระเจ้าทรงห้ามและคำนี้ถูกมองว่ามีความหมายเหมือนกันกับตัณหาทางเพศหรือตัณหาทางวัตถุ

พระธรรมยากอบ 1:14–15 ทำให้เราเห็นความก้าวหน้าตามธรรมชาติของตัณหาที่ไม่ถูกจำกัดคือ “ทว่าแต่ละคนถูกทดลองเมื่อตัณหาชั่วของตนเองชักจูงไปให้ติดกับ หลังจากมีตัณหาแล้วก็ก่อให้เกิดบาป และเมื่อบาปโตเต็มที่ก็ก่อให้เกิดความตาย”

ตามที่กล่าวไว้ในข้อความนี้ตัณหาที่เป็นบาปเริ่มต้นด้วยความปรารถนาที่ชั่วร้าย การถูกล่อลวงด้วยความชั่วไม่ใช่ความบาป พระเยซูก็ถูกล่อลวง (มัทธิว 4: 1) บาปเริ่มต้นเมื่อความปรารถนาชั่วร้าย “ฉุดเราให้ห่าง” จากที่ที่ใจเราอยู่ เมื่อความปรารถนาชั่วแนะนำตัวมันเอง เราก็มีทางเลือก เราสามารถเลือกปฏิเสธมันได้เหมือนอย่างที่พระเยซูทำและมุ่งเน้นไปที่เส้นทางที่พระเจ้ากำหนดไว้ตรงหน้าเราอีกครั้ง (มัทธิว 4:10) หรือเราสามารถเพลิดเพลินไปกับมันก็ได้ อย่างที่ใครบางคนเคยกล่าวไว้ว่า “เราไม่สามารถหยุดนกไม่ให้บินอยู่เหนือศีรษะได้ แต่เราไม่จำเป็นต้องปล่อยให้พวกมันมาทำรังในเส้นผมของเรา” เมื่อการล่อลวงเกิดขึ้นเราต้องจำเอาไว้ว่าเราไม่ได้หมดหนทาง เราสามารถเลือกที่จะยอมแพ้หรือจะต่อต้านได้

เหตุผลที่เราถูก “ฉุดออกไป” ด้วยการล่อลวงก็คือว่าเรา “ถูกชักนำไปในทางที่ผิด” คำนั้นในภาษากรีกหมายถึงเหยื่อซึ่งอยู่บนสายเบ็ดตกปลา เมื่อปลาเห็นหนอนซึ่งกำลังดิ้นอยู่ปลาก็ถูกล่อลวงด้วยหนอนและมางับไว้ เมื่อตะขอเกี่ยวใส่ปากปลาแล้วปลาก็จะสามารถ "ถูกลากออกไปได้" เมื่อเราเผชิญกับการล่อลวงเราควรปฏิเสธทันทีเช่นเดียวกับที่โยเซฟทำเมื่อถูกภรรยาของโปติฟาร์ล่อลวงเขา (ปฐมกาล 39: 11–12) ความลังเลนั้นเปิดประตูสู่การล่อลวง พระธรรมโรม 13:14 เรียกความลังเลใจเช่นนี้ว่า “การจัดเตรียมสำหรับเนื้อหนัง” เช่นเดียวกับปลาที่ไม่ระมัดระวัง ส่วนเราคว้าความคิดที่ล่อใจไว้โดยเชื่อว่ามันจะทำให้เราพอใจและสมหวัง เราลิ้มรสความเพ้อฝัน จินตนาการใหม่ๆ และสถานการณ์ที่เป็นบาปและเพลิดเพลินไปกับความคิดที่ว่าพระเจ้าไม่ได้จัดเตรียมทุกสิ่งที่เราต้องการเพื่อให้เรามีความสุข (ปฐมกาล 3: 2–4) นี่เป็นเรื่องโง่เขลา พระธรรม 2 ทิโมธี 2:22 กล่าวว่า “ท่านจงหนีจากราคะตัณหาของคนหนุ่ม …” การ “หนี” หมายถึงการเอาออกไปในทันที โยเซฟไม่ได้รอที่จะพิจารณาทางเลือกของเขา เขารู้ถึงการล่อลวงทางเพศและเขาก็วิ่งหนี เมื่อเราลังเลเราก็จัดเตรียมสำหรับเนื้อหนังและให้โอกาสมันในการเลือกความชั่ว บ่อยครั้งที่เราถูกอำนาจของมันครอบงำ แซมสันเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง แต่เขาก็ควรคู่กับตัณหาของตัวเอง (ผู้วินิจฉัย 16: 1)

ขั้นตอนต่อไปในการพัฒนาที่ลดลงของการล่อลวงตามพระธรรมยากอบบทที่ 1 คือ “การเข้าใจในความปรารถนา” ตัณหาเริ่มจากเป็นเมล็ดพันธ์ เป็นความคิดที่เต็มไปด้วยความปรารถนาผิดๆ ถ้าเราปล่อยให้เมล็ดพันธุ์แห่งตัณหางอก มันก็จะงอกขึ้นเป็นสิ่งที่ใหญ่กว่า มีพลังมากขึ้น ยากต่อการถอนรากถอนโคนมากขึ้น การล่อลวงจะกลายเป็นบาปเมื่อมันได้รับอนุญาตให้งอก ความปรารถนาใช้ชีวิตของมันเองและกลายเป็นตัณหา พระเยซูตรัสชัดเจนว่าตัณหาเป็นความบาปแม้ว่าเราจะไม่ได้กระทำทางร่างกายก็ตาม (มัทธิว 5: 27–28) หัวใจของเราอยู่ในอาณาเขตของพระเจ้าและเมื่อเราปล่อยให้ความชั่วร้ายเติบโตที่นั่น เราก็ทำให้พระวิหารของพระองค์เป็นมลทิน (1 โครินธ์ 3:16, 6:19)

ความปรารถนาผิดๆ ก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่มนุษย์ทุกคน บัญญัติข้อที่สิบห้ามไม่ให้โลภซึ่งหมายถึงความปรารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา (เฉลยธรรมบัญญัติ 5:21,โรม 13: 9) จิตใจของมนุษย์พยายามที่จะทำให้ตัวเองพอใจอยู่ตลอดเวลาและเมื่อพบบางสิ่งหรือใครบางคนที่เชื่อว่าจะสนองความต้องการได้ ตัณหาจึงเริ่มขึ้น

เพียงแค่เมื่อหัวใจของเราทุ่มเทให้กับพระสิริของพระเจ้าเท่านั้นเราจึงจะเอาชนะความปรารถนาที่ล่วงล้ำเข้ามาและพิชิตตัณหาได้ เมื่อเรายอมจำนนต่อพระเจ้าเราจะพบว่าความต้องการของเราได้รับคำตอบในความสัมพันธ์กับพระองค์ เราจะต้อง “สยบทุกความคิดให้ยอมจำนนเชื่อฟังพระคริสต์” (2 โครินธ์ 10: 5) เราต้องยอมให้พระวิญญาณบริสุทธิ์รักษาความคิดของเราให้อยู่ในที่ที่พระองค์ต้องการให้อยู่ จะเป็นการช่วยที่จะอธิษฐานทุกวันด้วยถ้อยคำในสดุดี 19:14 คือ “ขอให้วาจาที่ออกจากปากและการใคร่ครวญในใจของข้าพระองค์นั้นเป็นที่พอพระทัยในสายพระเนตรของพระองค์ ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้าพระศิลาและพระผู้ไถ่ของข้าพระองค์” เมื่อความปรารถนาในใจของเราคือการเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามากกว่าตัวเราเอง ก็จะช่วยใหเราพ้นจากตัณหาได้

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

พระคัมภีร์กล่าวถึงการเอาชนะตัณหาไว้ว่าอย่างไร?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries