settings icon
share icon
คำถาม

ศาสนศาสต์แบบเรื่องเล่าคืออะไร?

คำตอบ


ศาสนศาสตร์เรื่องเล่าหรือที่บ้างครั้งเรียกว่าศาสนศาสตร์ "หลังเสรีนิยม" ได้พัฒนาขึ้นระหว่างครึ่งหลังของศตวรรษที่ยี่สิบ ศาสนศาสตร์นี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากกลุ่มของนักศาสนศาสตร์ที่โรงเรียนเยล ดิวินิตี้ (Yale Divinity School) ผู้ค้นพบคือจอร์จ ลินด์เบค (George Lindbeck), ฮันส์ วิลเฮม ฟราย (Hans Wilhelm Frei) และนักวิชาการท่านอื่นๆ ได้รับแรงบันดาลใจจากคาร์ล บาร์ธ (Karl Barth), ทอมัส อไควนัส (Thomas Aquinas) และต่อขอบเขตบางอย่าง Nouvelle Théologie โรงเรียนเกี่ยวกับการเสนอการปฏิรูปในคริสตจักรคาทอลิก นำโดยคาทอลิกชาวฝรั่งเศสเช่นเฮ็นรี เดอ ลูบัค (Fr.Henri de Lubac)

ศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าเป็นความคิดที่ว่าการใช้พระคัมภีร์ของศาสนศาสตร์คริสเตียนควรจะมุ่งเน้นไปที่การนำเสนอความเชื่อในรูปแบบของเรื่องเล่ามากกว่าพัฒนาการของการสอนที่มีเหตุผลจากพระคัมภีร์เองหรือสิ่งที่โดยทั่วไปแล้วเรียกว่า "ศาสนศาสตร์ระบบ" โดยพื้นฐานแล้วศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าเป็นคำกว้างๆ แบบพอเหมาะ แต่บ่อยครั้งเป็นการเผชิญหน้ากับศาสนศาสตร์ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วมองไปที่ความหมายของเรื่อง ฉะนั้นสิ่งนี้จะรวมกับการปฏิเสธความหมายที่ได้รับมาจากความจริงของการสอนหรือระบบทางศาสนศาสตร์นั้นๆ

ในเวลาอื่นๆ ศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่านั้นร่วมกับความคิดที่ว่าเรานั้นส่วนมากแล้วไม่ต้องเรียนรู้หลักการ ข้อบังคับหรือกฎต่างๆ จากรพะคัมภีร์แต่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์กับพระเจ้า แล้วทำตามบทบาทหน้าที่ในภาพกว้างที่ยิ่งใหญ่กว่าสำหรับความรอดของเรา ได้มีข้อถกเถียงและการวิจารณ์มากมายเกี่ยวกับประเด็นของการที่ศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าหรือศาสนศาสตร์หลังเสรีนิยมนั้นมีศาสนศาสตร์เป็นศูนย์กลางรวมถึงการเปรียบเทียบกันไม่ได้ ความเชื่อเรื่องการแบ่งพรรคแบ่งพวก ความเชื่อที่ไม่ต้องการคำอธิบาย สัมพัทธนิยมและความจริง

ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อมีการใช้อย่างถูกต้องแล้วศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าสามารถที่จะเป็นหน่วยโครงสร้างสำหรับศาสนศาสตร์ระบบและสำหรับศาสนศาสตร์สายคัมภีร์ (ยกตัวอย่างเช่น ประวัติศาสตร์ที่ดำเนินต่อไปของการที่พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์เองต่อมนุษยชาติ) ศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าสอนว่าพระคัมภีร์ได้รับการมองว่าเป็นเรื่องราวของการที่พระเจ้ามีปฏิสัมพันธ์กับประชากรของพระองค์ ผู้ที่สนับสนุนศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าสนับสนุนว่าสิ่งนี้ไม่ได้หมายความพระคัมภีร์ไม่ได้มีการสอนที่ยืนยันว่าเป็นความจริง แต่วัตถุประสงค์หลักของพระคัมภีร์คือการบันทึกความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับประชากรของพระองค์และวิธีการที่เราทุกวันนี้ในโลกยุคหลังสมัยใหม่สามารถที่จะดำเนินเรื่องต่อไป จากนั้นนี่ก็คือการให้ความสำคัญเหนือการวิเคราะห์ที่แน่นอนมากกว่าของศาสนศาสตร์ระบบ ผู้ที่สนับสนุนศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าเดินหน้าต่อไปเพื่อถกเถียงว่าศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่ามีโอกาสน้อยกว่าที่จะดึงข้อพระคัมภีร์ออกมาจากเนื้อหาเพื่อสนับสนุนสถานะของหลักคำสอน

มีมุมมองอื่นๆ ของศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าที่มีประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่นเรื่องราวในพระคัมภีร์มีอยู่เพื่อสอนความจริงแก่เราคือเราต้องเรียนรู้จากความจริงเหล่านั้นเพื่อนำบทเรียนเหล่านั้นมาใช้ในชีวิตของเรา ดั่งที่เป็นเช่นนั้นเราควรจะตีความและนำเรื่องราวเหล่านี้ตามที่เกี่ยวข้องกับเจตนาเดิมของผู้เขียนพระคัมภีร์มาใช้ นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมเรื่องราวเหล่านี้ได้มีการเก็บรักษาไว้เพื่อเรา (ดูโรม 15:4) แรงจูงใจในแง่บวกอีกด้านของศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าคือว่ามันทำให้คุณค่าทางชุมชนนั้นแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ในยุคสมัยใหม่ผู้คนมักจะทำให้ศูนย์กลางของศาสนาคริสต์อยู่ที่ความเชื่อของคนคนเดียว แต่เรื่องราวของความสัมพันธ์กับพระเจ้ากับประชากรของพระองค์ในพระคัมภีร์เตือนความจำเราว่าชุมชนนั้นสำคัญ

เป็นความจริงที่ว่าพระคัมภีร์ประกอบไปด้วยขนาดของเรื่องราวที่เยอะมากซึ่งมีเจตนาที่จะถ่ายทอดความจริงให้แก่เรา ฉะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเราที่จะรับเอาบางรูปแบบของศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่ามาใช้ อย่างไรก็ตามศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าก็มีปัญหาอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการนำมาใช้อย่างขาดความรับผิดชอบ และโดยไม่ต้องตั้งคำถาม สิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ สิ่งนี้เป็นความจริงโดยเฉพาะเมื่อผู้สอนและผู้เทศนาไม่มีความกังวลเกี่ยวอะไรกับความหมายเดิมของพระคัมภีร์และถูกชักจูงโดยสัญชาตญาณของพวกเขาเองหรือโดยการตอบสนองต่อพระคัมภีร์ของพวกเขาเอง ผลลัพธ์คือศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่ามักจะถูกใช้ในวิธีการที่อันตราย

ศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าได้มีการใช้อย่างไม่ถูกต้องเมื่อผู้คนกำหนดว่าศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าไม่ได้อยู่ภายใต้ศาสนศาสตร์ระบบหรือว่าอยู่ภายใต้ศาสนศาสตร์ใดที่ไม่อาจทราบได้ ในกรณีเช่นมีการบอกเป็นนัยว่าบทเรียนของศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าสามารถที่จะเข้าใจได้นอกเหนือจากโลกทัศน์ของผู้เขียนต้นฉบับหรือผู้เขียนตัวเนื้อหาเอง โดยพื้นฐานแล้วผลลัพธ์ของสิ่งนี้คือการสอนเท็จด้วยคำสอนของศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าที่ออกมาจากเรื่องเพื่อการนำไปใช้และกำจัดการวิเคราะห์ที่มีเหตุผลของพระคัมภีร์ แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถที่จะทำสิ่งนี้ได้ เป็นไปได้ว่าแรงจูงใจที่ชัดเจนของศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่านั้นพบอยู่ในคริสตจักรที่ปรากฎขึ้นด้วยความไม่เชื่อใจและค่อนข้างที่จะไม่ได้ให้เกียรติแก่ศาสนศาสตร์ระบบ

ผู้แนะนำศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าโดยเฉพาะในคริสตจักรที่ปรากฏขึ้นอ้างว่าศาสนศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่เราไม่ควรมีเหตุผลด้วย พวกเขากล่าวว่าคน "ดี" มาถึงบทสรุปที่แตกต่างกันในหลายปีที่ผ่านมา แล้วทำไมต้องสนใจที่จะทำให้เกิดสถานะของบทสรุปเกี่ยวกับศาสนศาสตร์ใดๆ เลย ดังนั้นจากมุมมองของพวกเขาศาสนศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปธรรม แน่นอนและมีอำนาจพวกเขาสนับสนุนว่าในอดีตผู้คนเชื่อทางหนึ่งหรืออีกทางหนึ่ง มีคนคนหนึ่งที่ถูกและคนคนหนึ่งที่ผิด

ผลของสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดในบางคริสตจักรทุกวันนี้เรามีแนวความคิดสัมพัทธนิยมแบบรุนแรง ดูเหมือนว่าไม่มีใครรู้ว่าใครถูกหรือไม่มีใครผิด และสิ่งที่แย่ไปกว่านั้นก็คือไม่ได้ดูเหมือนว่าจะทำให้ใครเป็นกังวล ผลสุดท้ายก็คือคริสตจักรตกเป็นเหยื่อของแนวคิดหลังสมัยใหม่แบบสุดโต่ง ซึ่งสิ่งที่เป็นจริงสำหรับคนหนึ่งอาจจะไม่จิรงสำหรับอีกคนหนึ่ง เป็นการที่คริสตจักรยอมให้สิ่งใดก็ตามและทุกสิ่งเกิดขึ้นและไม่ได้ยืนหยัดในสิ่งใดเลย

ผู้สนับสนุนศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าบางคน เช่นในขบวนการของคริสตจักรที่ปรากฏขึ้นล้มเลิกการเทศนาทั้งหมดไป บางคนอาจจะนั่งเป็นวงกลมระหว่างเพื่อนและแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาคิดว่าพระเจ้าเป็นอะไรสำหรับพวกเขาในวันนั้นหรือในสัปดาห์นั้น พวกเขาอาจจะแม้กระทั่งอ้างพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของเขา แต่ประสบการณ์และความรู้สึกของพวกเขาเป็นจุดสำคัญไม่ใช่พระคำของพระเจ้า พวกเขาเล่าเรื่องหรืออ่านจากตอนหนึ่งของพระคัมภีร์และหยุด ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตักเตือน ตำหนิหรือเรียกร้องให้กระทำ ไม่ได้เกี่ยวกับการทำให้เหมือนว่าคำแถลงของพระคัมภีร์นั้นเชื่อถือได้แต่ในทางกลับกันใช้พระคัมภีร์เพื่อเสริมกำลังแก่ความปรารถนาของเนื้อหนัง

คริสตจักรมีความจำเป็นที่จะต้องเป็นเสาและเป็นตัวสนับสนุนความจริง (1 ทิโมธี 3:15) และความจริงเป็นใจความสำคัญของหลักคำสอนที่แผ่ออกไปในพระคัมภีร์ผ่านทางพระเยซูคริสต์ที่เป็นบุคคล แม้ว่าศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าจะมีประโยชน์ในทางอื่นๆ ตามที่เราได้เห็นมาศาสนศาสตร์แบบเรื่องเล่าโน้มเอียงไปทางการดึงดูดใจผู้ที่มีความเชื่อแบบหลังสมัยใหม่ซึ่งชอบทำให้ศาสนาของพวกเขาและ "พระเจ้า" ของพวกเขาขึ้นอยู่กับความรู้สึกในวันที่กำหนดไว้หรือเกี่ยวกับตอนใดตอนหนึ่งของพระคัมภีร์

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ศาสนศาสต์แบบเรื่องเล่าคืออะไร?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries