settings icon
share icon
คำถาม

พระคัมภีร์กล่าวว่าอย่างไรเกี่ยวกับโชค

คำตอบ


คำว่า “โชค” นั้นใช้เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่เชื่อว่าเป็นความบังเอิญที่เกิดขึ้น หลายครั้งที่คำว่า “โชค” นั้นใช้อย่างเฉพาะเจาะจงเพื่ออธิบายถึงเหตุการณ์ที่เชื่อถือได้หรือที่น่ายินดี หรือการได้รับบางสิ่งบางอย่างที่ดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ คำถามหลักก็คือสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นโดยความบังเอิญหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นคนคนหนึ่งก็สามารถกล่าวได้ว่าใครสักคนกำลังโชคดีหรือโชคร้าย แต่ถ้ามันไม่ได้เกิดขึ้นโดยความบังเอิญ ดังนั้นก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้คำเหล่านั้น พระธรรมปัญญาจารย์ 9:11-12 กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นสิ่งอื่นอีกภายใต้ดวงอาทิตย์คือ คนว่องไวไม่ชนะการวิ่งแข่งเสมอไป คนเข้มแข็งไม่ชนะศึกเสมอไป หรือใช่ว่าคนฉลาดจะได้อาหาร ใช่ว่าคนปราดเปรื่องจะได้ทรัพย์สมบัติ และใช่ว่าผู้รู้จะได้รับความโปรดปราน แต่เวลาและโอกาสมาถึงพวกเขาทุกคน ยิ่งกว่านั้น ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไรจะถึงคราวของตน เหมือนปลาติดร่างแหอันโหดร้าย และนกติดกับฉันใด คนก็ติดกับของคราวร้าย ซึ่งโถมเข้าใส่เขาโดยไม่นึกไม่ฝันฉันนั้น” สิ่งที่พระธรรมปัญญาจารย์แบ่งปันส่วนมากมาจากมุมมองส่วนใหญ่ของบุคคลผู้ที่มองดูชีวิตบนโลกโดยปราศจากพระเจ้าหรือชีวิต “ภายใต้ดวงอาทิตย์” จากมุมมองดังกล่าวนั้นการละทิ้งพระเจ้าจากสถานการณ์ก็ดูเหมือนว่าจะมีทั้งโชคดีและโชคร้าย

ในการแข่งขันนักวิ่งคนหนึ่งอาจวิ่งได้เร็วที่สุด แต่เพราะว่าคนที่อยู่ข้างหน้าเขาพลาดเท้า เขาจึงสะดุดไปทับคนนั้นและล้มลงทำให้ไม่ชนะการแข่งขัน เขาช่างโชคร้ายอะไรถึงเพียงนี้ หรือกษัตริย์นักรบอาจมีกองทัพที่แข็งแกร่งที่สุดแต่ “บังเอิญ” มีลูกธนูพุ่งขึ้นไปในอากาศจากการสุ่มยิงของนายทหารนิรนามโดยฝ่ายศัตรูซึ่งบังเอิญแทงเข้าไปในเกราะตรงตำแหน่งซึ่งอ่อนแอที่สุดของพระองค์เข้า (2 พงศาวดาร 18:33) ส่งผลให้กษัตริย์องค์นั้นสิ้นพระชนม์และพ่ายแพ้ในสงคราม กษัตริย์อาหับช่างโชคร้ายอะไรถึงเพียงนี้ เป็นเรื่องของโชคใช่หรือไม่ เมื่ออ่านในพระธรรม 2 พงศาวดารบทที่ 18 ทั้งบท เราพบว่าพระเจ้าทรงมีอำนาจควบคุมเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว นายทหารที่ยิงธนูลูกนั้นไม่รู้วิถีเส้นโคจรอย่างสิ้นเชิง แต่พระเจ้าด้วยอำนาจสูงสุดของพระองค์ทรงรู้มาตลอดว่านั่นหมายถึงการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์อาหับผู้ชั่วร้าย

เหตุการณ์ “ความบังเอิญ” ที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นในพระธรรมนางรูธ รูธเป็นหญิงม่ายผู้ซึ่งดูแลแม่สามีที่เป็นม่ายของเธอ นางกำลังมองหาที่นาเพื่อเก็บข้าวมาเลี้ยงพวกเขาเอง “รูธก็ออกไปเก็บรวงข้าวที่ตกเรี่ยรายหลังคนเกี่ยว ปรากฏว่าที่นาซึ่งรูธเข้าไปนั้นเป็นของโบอาสซึ่งเป็นคนตระกูลเดียวกับเอลีเมเลค” (นางรูธ 2:3) เอลีเมเลคเคยเป็นสามีของนาโอมี แม่สามีของเธอ ดังนั้นโบอาสจึงเป็นญาติของเธอและเมตตาต่อรูธ ขณะที่รูธกลับมาบ้านพร้อมเมล็ดข้าวมากมายเกินกว่าที่นาโอมีคาดไว้ “นาโอมีถามว่า “ไปเก็บมาจากไหนกันวันนี้ เจ้าไปทำงานที่ไหน ขอพระเจ้าทรงอวยพรคนนั้นที่ใจดีต่อลูก” รูธจึงเล่าให้แม่สามีฟังโดยตลอด และบอกว่า “เจ้าของนาที่ฉันไปทำงานวันนี้ชื่อโบอาส” นาโอมีพูดกับลูกสะใภ้ว่า “ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงอวยพรเขาด้วยเถิด พระองค์ทรงเมตตากรุณา ทั้งต่อคนที่ยังมีชีวิตอยู่และคนที่ตายจากไปอย่างไม่หยุดยั้ง คนคนนี้เป็นญาติสนิทคนหนึ่งของเราซึ่งจะช่วยไถ่ได้” (นางรูธ 2:19-20) ดังนั้นนาโอมีจึงไม่เห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็น “ความบังเอิญ” แต่เป็นการจัดเตรียมของพระเจ้า เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในภายหลัง (นางรูธ 4:14)

พระธรรมสุภาษิต 16:33 กล่าวถึงหลักการโดยทั่วไปว่า “เขาโยนสลากเสี่ยงทายลงบนตัก แต่ผลชี้ขาดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า” สิ่งนี้อ้างอิงถึงการจับฉลาก (คล้ายกับการโยนเหรียญหรือการทอยลูกเต๋า) เพื่อตัดสินคดีความบางคดี คดีที่เกี่ยวข้องกับอาคานในพระธรรมโยชูวาบทที่ 7 เป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งใช้หลักการของพระธรรมสุภาษิต 16:33 ในการหาตัวผู้กระทำผิด พระธรรมสุภาษิต 18:18 กล่าวในทำนองเดียวกันว่า “การจับฉลากยุติข้อโต้แย้ง และแยกคู่พิพาทออกจากกัน” นอกจากนั้นแนวคิดที่ว่าการจัดเตรียมของพระเจ้าแสดงถึงบทบาทในการกำหนดผลการจับฉลาก เพื่อให้ข้อพิพาทเกี่ยวกับการพิจารณาคดีสามารถตัดสินใจได้ไม่สำคัญว่าความขัดแย้งจะยิ่งใหญ่เพียงใด พระธรรมสุภาษิต 16:33 ชี้ให้เห็นว่ามีบางสิ่งเหมือนกับการสุ่ม เช่นเดียวกับการทอยลูกเต๋าหรือการโยนเหรียญซึ่งไม่ได้อยู่นอกเหนือการควบคุมสูงสุดของพระเจ้า และด้วยเหตุนี้ผลลัพธ์ของมันจึงไม่ใช่แค่ความบังเอิญเท่านั้น

อำนาจสูงสุดของพระเจ้าเกี่ยวข้องกับสองลักษณะ พระประสงค์ที่กระตือรือร้นหรืออำนาจสูงสุดของพระเจ้าจะเกี่ยวข้องกับบางสิ่งบางอย่างที่พระองค์ทรงกระทำให้เกิดขึ้น เช่นการนำกษัตริย์อาหับผู้ชั่วร้ายเข้าสู่สนามรบ (2 พงศาวดาร 18:18-19) การสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์อาหับไม่ได้เป็นเพียงผลจากการยิงธนูแบบบังเอิญเท่านั้น แต่ตามพระธรรม 2 พงศาวดารบทที่ 18 เปิดเผยว่าพระเจ้าทรงนำเหตุการณ์ที่เป็นการนำกษัตริย์อาหับเข้าสู่สนามรบโดยตรงและใช้ลูกธนูที่บังเอิญยิงนั้นเพื่อบรรลุพระประสงค์ของพระองค์ที่มีต่อกษัตริย์อาหับในวันนั้น

พระประสงค์ซึ่งไม่มีการโต้แย้งของพระเจ้าเกี่ยวข้องกับการที่พระองค์ทรงอนุญาตแทนที่จะเป็นการทรงกระทำบางสิ่งบางอย่างให้เกิดขึ้น ในบทที่ 1 ของพระธรรมโยบแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงอนุญาตให้ซาตานทำในชีวิตของโยบ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับความชั่วร้ายที่พระเจ้าทรงอนุญาตให้พี่น้องของโยเซฟกระทำต่อโยเซฟเพื่อให้บรรลุผลในสิ่งที่ดีกว่า ซึ่งความดีนั้นไม่ได้ปรากฏแก่โยเซฟจนกระทั้งหลายปีต่อมา (ปฐมกาล 50:20)

เนื่องจากเราไม่ได้มีสิ่งที่เปิดเผยให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นบนสวรรค์ เราจึงไม่สามารถกำหนดได้เสมอไปว่าพระประสงค์อันกระตือรือร้นหรือพระประสงค์ที่ไม่มีการโต้แย้งของพระเจ้าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิตของเรา แต่เรารู้ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ภายใต้ร่มแห่งพระประสงค์ของพระองค์ ไม่ว่าจะโดยความกระตือรือร้นหรือโดยพระประสงค์ที่ไม่มีการโต้แย้งก็ตาม และดังนั้นไม่มีอะไรที่เป็นเพียงความบังเอิญ เมื่อมีคนทอยลูกเต๋าเพื่อเล่นเกมกระดาน บางครั้งพระเจ้าอาจจะให้ลูกเต๋าตกลงในทางใดทางหนึ่ง แต่บ่อยครั้งกว่านั้นในเรื่องที่ไม่สำคัญ พระองค์อาจจะปล่อยให้ลูกเต๋าตกลงไปตามกำหนดสำหรับกฎแห่งธรรมชาติของพระองค์ โดยปราศจากความกระตือรือร้นใดๆ มาเกี่ยวข้อง แต่แม้กระทั่งเมื่อพระองค์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างกระตือรือร้น ยังไงสิ่งที่ปรากฎบนลูกเต๋าก็ยังคงอยู่ภายใต้อำนาจสูงสุดของพระองค์

ดังนั้นสำหรับเหตุการณ์ใดก็ตามของชีวิต ไม่สำคัญว่าจะเล็กน้อยเพียงใด (มัทธิว 10:29-31) หรือใหญ่โตเพียงใด (ดาเนียล 4:35, สุภาษิต 21:1) พระเจ้าทรงครอบครองอยู่เหนือทุกสิ่ง (เอเฟซัส 1:11, สดุดี 115:3, อิสยาห์ 46:9-10) และไม่มีสิ่งใดที่เป็นเพียงเรื่องบังเอิญ

จากมุมมองทางโลก สิ่งต่างๆ อาจดูเหมือนว่าเกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ตลอดพระคัมภีร์ทั้งเล่มเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าพระเจ้าทรงควบคุมการทรงสร้างทั้งหมดของพระองค์ แล้วก็ทรงสามารถกระทำการสุ่มตามกฎแห่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นเจตจำนงเสรีของทั้งคนดีและคนชั่ว รวมถึงความมุ่งหมายที่ชั่วร้ายของปีศาจและรวมพวกเขาทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อบรรลุพระประสงค์ที่ดีและสมบูรณ์แบบของพระองค์ (ปฐมกาล 50:20, โยบบทที่ 1 และบทที่ 42, ยอห์น 9:1-7) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคริสเตียนได้รับพระสัญญาว่าพระเจ้าจะทรงกระทำทุกสิ่ง ไม่ว่าจะดูเหมือนว่าดีหรือไม่ดี รวมกันเป็นผลดีแก่ผู้ที่รักพระองค์ และทรงเรียกตามพระประสงค์ของพระองค์ (โรม 8:28)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

พระคัมภีร์กล่าวว่าอย่างไรเกี่ยวกับโชค
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries