settings icon
share icon
คำถาม

ปัจเจกนิยมเปรียบเทียบกับกลุ่มนิยมพระคัมภีร์กล่าวอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?

คำตอบ


ปัจเจกนิยมอาจจะกำหนดว่าเป็นการให้ความสนใจบุคคลเหนือกว่าผู้คนในกลุ่ม แนวความคิดของกลุ่มนิยมคือว่าความต้องการของกลุ่มมีลำดับที่เหนือกว่าแต่ละบุคคลในกลุ่มนั้น มีทั้งวัฒนธรรมที่มีความโน้มเอียงไปสู่หลักปรัชญาทั้งสองนี้ ยกตัวอย่างเช่นประเทศสหรัฐอเมริกามีประวัติศาสตร์ที่สนับสนุนแนวคิดทางด้านปัจเจกนิยม ในขณะที่วัฒนธรรมในประเทศเกาหลีใต้โน้มเอียงไปทางแนวคิดแบบกลุ่มนิยม มีอันใดอันหนึ่งที่ดีหรือแย่กว่ากันหรือไม่จากแง่คิดในพระคัมภีร์ คำตอบนั้นไม่ใช่สิ่งที่ง่าย "พระเจ้าตรัสดังนี้" ความจริงคือว่าพระคัมภีร์ให้ตัวอย่างของทั้งปัจเจกนิยมและกลุ่มนิยม

ปัจเจกนิยมมุ่งเน้นไปที่การทำอะไรก็ตามที่ดีที่สุดสำหรับ "ฉัน" ไม่ว่าจะมีผลอะไรกับ "กลุ่ม" หรือไม่ก็ตาม กลุ่มนิยมมุ่งเน้นไปยังการทำอะไรก็ตามที่ดีที่สุดสำหรับ "กลุ่ม" ไม่ว่าจะมีผลกระทบต่อบุคคลในกลุ่มหรือไม่ก็ตาม จากมุมมองของพระคัมภีร์ระบบความคิดทั้งสองนี้เมื่อแสดงออกมาอย่างเต็มขอบเขตก็ไม่ใช่สิ่งที่พระเจ้าประสงค์ ท้ายที่สุดแล้วพระเจ้าสร้างมนุษย์เพื่อจุดมุ่งหมายของพระองค์ (อิสยาห์ 43:7) ไม่ใช่เพื่อจุดมุ่งหมายของพวกเขาเองหรือจุดมุ่งหมายของอีกคนหนึ่ง การมุ่งเน้นไปยังพระเจ้าจะเป็นการทำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพระเจ้าและราชอาณาจักรของพระองค์ (มัทธิว 6:33ก)

นี่เป็นข้อในพระคัมภีร์ที่แสดงออกถึงกลุ่มนิยมของขอบเขตใดขอบเขตหนึ่ง การพยากรณ์อย่างไม่ได้ตั้งใจของคายาฟาสคือ "เป็นการดีสำหรับพวกท่านที่จะมีคนหนึ่งตายเพื่อประชาชน แทนที่จะให้คนทั้งชาติต้องพินาศ" (ยอห์น 11:50) เป็นหนึ่งในกรณีของความคิดแบบกลุ่มนิยม ในคริสตจักรยุคแรกในกรุงเยรูซาเล็ม ผู้คนรวบรวมทรัพยากรของพวกเขาและให้แก่ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับเพื่อที่จะไม่มีใครที่ขาดสิ่งใด (กิจการ 2:44 – 45, 4:32 – 35) ในพระธรรม 2 โครินธ์ 8:12 – 14 เปาโลหนุนใจคริสตจักร์เมืองโครินธ์ที่จะให้เงินแก่คริสตจักรในกรุงเยรูซาเล็มอย่างสม่ำเสมอ "แต่เพื่อที่จะให้มีความเท่าเทียมกัน" (ข้อ 13) หลักสังเกตในตัวอย่างเหล่านี้อย่างไรก็ตามคือผู้คนที่ให้มีทางเลือกสำหรับสาเหตุนั้น เป็นการให้แบบสมัครใจอย่างเคร่งครัด (กิจการ 5:4) ไม่มีใครถูกบังคับให้มอบบทรัพยากรของพวกเขาเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มแต่พวกเขากระทำอย่างเต็มใจด้วยความรักต่อพระเจ้าและคริสตจักร ในฐานะบุคคลที่ให้เพื่อเป็นประโยชน์แก่กลุ่ม บุคคลนั้นก็ได้รับการอวยพระพรเช่นเดียวกัน (2 โครินธ์ 9:6 – 8) หลักการของราชอาณาจักรมีส่วนประกอบของกลุ่มนิยมแต่จะเหนือไปกว่านั้นอีก ความตั้งใจของเราในการรับใช้คริสตจักรไม่ใช่เพียงแค่ที่จะเป็นประโยชน์ในฐานะผู้ที่มีแนวคิดด้านกลุ่มนิยมแต่ความตั้งใจของเราคือการทำให้พระเจ้าพอพระทัย (ฮีบรู 13:16)

ข้ออื่นๆ ในพระคัมภีร์แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของบุคคล ในคำอุปมาหนึ่งของพระเยซู พระองค์เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเติบโตและการอารักขาสิ่งพระเจ้าให้เราไว้เป็นอย่างดี เพราะว่าโดยส่วนตัวแล้วเราเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบร่วมกัน (ลูกา 19:15) ในพระธรรมลูกาบทที่ 15 พระเยซูเล่าเรื่องของผู้เลี้ยงแกะที่ทิ้งฝูงแกะเพื่อไปตามหาแกะที่หายไปหนึ่งตัวและเรื่องของผู้หญิงที่พลิกบ้านหามรดกที่ได้รับตกทอดมาหนึ่งชิ้น (ดูลูกา 15:3 – 10) คำอุปมาทั้งสองแสดงให้เห็นคุณค่าที่พระเจ้าให้กับบุคคลเหนือกลุ่ม ดังที่เราเห็นแบบกลุ่มนิยมตามที่ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดของปัจเจกนิยมเพียงแค่บางส่วน พระเจ้าให้คุณค่าบุคคลเหนือกลุ่มเป็นบางเวลาเพราะว่าสิ่งนี้เป็นที่พอพระทัยพระองค์และเป็นการถวายพระสิริแด่พระองค์ เมื่อพระเจ้าได้รับการถวายเกียรติ ทุกคนก็ได้รับประโยชน์ ทั้งบุคคลและกลุ่ม ให้เราสังเกตว่าในคำอุปมาในพระธรรมลูกาบทที่ 15 ทุกสิ่งที่หายไปก็มีการพบและทุกคนชื่นชมยินดี (ลูกา 15:6, 9)

พระเจ้าให้คุณค่าทั้งปัจเจกนิยมและกลุ่มมนิยม พระคัมภีร์ไม่ได้โต้เถียงสำหรับไม่ว่าจะเป็นปัจเจกนิยมหรือกลุ่มนิยมว่าเป็นระบบความคิดที่ถูกต้อง ในทางกลับกันเป็นการนำเสนอย่างอื่นรวมๆ กันซึ่งแสดงออกมาในคำอธิบายของพระกายของพระคริสต์ใน 1 โครินธ์ 12 เปาโลบอกกับเราว่าบุคคลผู้เชื่อเป็นเหมือนอวัยวะของร่างกาย ต่างมีบทบาทที่สำคัญและขาดไม่ได้เพื่อความสำเร็จในการทำงานของร่างกายตามที่ควรจะเป็น (1 โครินธ์ 12:14, 27) อวัยวะต่างๆ ทำงานเมื่อมันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายโดยรวม นิ้วโป้งสามารถทำสิ่งที่ส่วนอื่นของร่างกายทำไม่ได้ แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อติดอยู่กับมือเท่านั้น (ดู 1 โครินธ์ 12: 18 – 20) เช่นเดียวกันร่างกายโดยรวมเป็นสิ่งมีชีวิตที่อัศจรรย์ แต่เมื่อแต่ละอวัยวะของร่างกายได้รับการดูแลเป็นส่วนๆ ไป (ดู 1 โครินธ์ 12: 25 – 26)

การโต้แย้งเหนือสิ่งที่พระคัมภีร์บอกเกี่ยวกับปัจเจกนิยมเปรียบเทียบกับกลุ่มนิยมจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องสงสัยคือว่าแม้กระนั้นเราทุกก็คนสามารถที่จะเรียนรู้ได้จากซี. เอส. ลิวอิส (C. S. Lewis) ในหัวข้อนี้ไม่ว่าเราจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม "ข้าพเจ้ารู้สึกถึงความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะบอกกับคุณ และข้าพเจ้าหวังว่าคุณจะมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะบอกกับผมคือ อันใดในความผิดพลาดทั้งสองนี้ [ปัจเจกนิยมหรือกลุ่มนิยม] เลวร้ายกว่ากัน นั่นคือการที่ปีศาจจัดการกับเรา มันมักจะส่งความผิดพลาดเข้ามาในโลกนี้เป็นคู่ซึ่งเป็นคู่ของสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน และมันหนุนใจเราให้ใช้เวลามากๆ ในการคิดใคร่ครวญว่าอันไหนเลวร้ายกว่า คุณเห็นไหมว่าทำไม แน่นอนว่ามันพึ่งพาสิ่งที่คุณไม่ชอบมากที่สุดของข้อผิดพลาดเดียวที่จะนำคุณไปยังทางตรงกันข้ามทีละเล็กทีละน้อย แต่อย่าให้เราถูกหลอก เราต้องมองไปที่เป้าหมายและตรงผ่านข้อผิดพลาดทั้งสอง เราไม่มีความกังวลใดๆ สิ่งที่นอกเหนือจากนั้นเกี่ยวกับทั้งสองข้อผิดพลาด" (จาก Mere Christianity, เล่มที่ 4, บทที่ 6)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ปัจเจกนิยมเปรียบเทียบกับกลุ่มนิยมพระคัมภีร์กล่าวอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries