settings icon
share icon
คำถาม

หลักคำสอนเทียมเท็จคืออะไร

คำตอบ


หลักคำสอนคือ “ชุดความคิดหรือความเชื่อที่มีการสอนหรือเชื่อว่าเป็นความจริง” หลักคำสอนในพระคัมภีร์หมายถึงคำสอนที่สอดคล้องกับพระวจนะที่มีการเปิดเผยของพระเจ้าก็คือพระคัมภีร์ หลักคำสอนเทียมเท็จคือแนวคิดใดๆ ก็ตามที่เพิ่มเติม ตัดออกไป โต้แย้ง หรือทำให้หลักคำสอนที่ให้ไว้ในพระวจนะของพระเจ้าเป็นโมฆะ ยกตัวอย่างเช่น คำสอนใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับพระเยซูที่ปฏิเสธการทรงบังเกิดจากหญิงสาวพรหมจารีเป็นคำสอนที่ผิด เพราะมันขัดแย้งกับคำสอนที่ชัดเจนของพระคัมภีร์ (มัทธิว 1:18)

อย่างเร็วที่สุดตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช หลักคำสอนเทียมเท็จได้แทรกซึมเข้าไปในคริสตจักรแล้ว และจดหมายหลายฉบับในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ได้เขียนขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้น (กาลาเทีย 1:6–9, โคโลสี 2:20–23, ทิตัส 1:10–11) เปาโลแนะนำทิโมธีผู้เป็นบุตรบุญธรรมให้ป้องกันและต่อต้านคนนอกรีตและทำให้ฝูงแกะสับสนคือ “ถ้าผู้ใดสอนผิดไปจากนี้ และไม่ยอมเห็นด้วยกับพระวจนะอันมีหลักของพระเยซูคริสตเจ้าของเรา และคำสอนที่สมกับทางของพระเจ้า ผู้นั้นก็เป็นคนทะนงตัวและไม่รู้อะไร…” (1 ทิโมธี 6:3–4)

ในฐานะผู้ติดตามของพระคริสต์ เราไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ ที่จะเพิกเฉยต่อศาสนศาสตร์ เพราะเรามี “คำแนะนำทั้งหมดจากพระเจ้า” (กิจการ 20:27) สำหรับเราและพระคัมภีร์ก็สมบูรณ์ เมื่อเรา “ศึกษาเพื่อแสดงตนเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า” (2 ทิโมธี 2:15) เราก็มีโอกาสน้อยลงซึ่งจะถูกนักพูดที่ลื่นไหลและผู้เผยพระวจนะเท็จชักจูงไป เมื่อเรารู้พระวจนะคำของพระเจ้า “เราจะไม่เป็นเด็กอีกต่อไป ถูกซัดไปซัดมาและหันไปเหมาด้วยลมปากแห่งคำสั่งสอนทุกอย่าง และด้วยเล่ห์กลของมนุษย์ตามอุบายฉลาดอันเป็นการล่อลวง” (เอเฟซัส 4:14)

สิ่งสำคัญคือต้องชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างหลักคำสอนเทียมเท็จและความขัดแย้งทางสังกัดของคริสเตียน กลุ่มชุมนุมต่างๆ มองประเด็นรองในพระคัมภีร์ต่างกัน ความแตกต่างเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากหลักคำสอนเทียมเท็จในส่วนของใครก็ตามเสมอไป นโยบายของคริสตจักร การตัดสินใจของรัฐบาล รูปแบบการนมัสการ ฯลฯ ล้วนเปิดกว้างสำหรับการอภิปราย เนื่องจากไม่ได้กล่าวถึงโดยตรงในพระคัมภีร์ แม้แต่ประเด็นที่กล่าวถึงในพระคัมภีร์ก็มักมีการถกเถียงกันโดยสาวกของพระคริสต์ที่มีความจริงใจอย่างเท่าเทียมกัน ความแตกต่างในการตีความหรือการปฏิบัติไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติว่าเป็นหลักคำสอนเทียมเท็จแล้วพวกเขาก็ไม่ควรแบ่งแยกพระกายของพระคริสต์ (1 โครินธ์ 1:10)

หลักคำสอนเทียมเท็จคือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความจริงพื้นฐานบางประการหรือสิ่งที่จำเป็นสำหรับความรอด ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางส่วนของหลักคำสอนเทียมเท็จคือ

• การลบนรกออกไป พระคัมภีร์อธิบายว่านรกเป็นสถานที่ซึ่งแท้จริงแห่งการทรมานนิรันดร์ เป็นปลายทางของจิตวิญญาณที่ไม่ได้บังเกิดใหม่ทุกคน (วิวรณ์ 20:15, 2 เธสะโลนิกา 1:8)

การปฏิเสธนรกขัดแย้งโดยตรงกับคำตรัสของพระเยซูเอง (มัทธิว 10:28, 25:46) และดังนั้นจึงเป็นคำสอนเทียมเท็จ

• แนวความคิดที่ว่า “มีหนทางมากมายสู่พระเจ้า” ปรัชญานี้ได้รับความนิยมเมื่อเร็วๆ นี้ภายใต้หน้ากากของความอดทน หลักคำสอนเทียมเท็จนี้อ้างว่า ในเมื่อพระเจ้าเป็นความรัก พระองค์จะทรงยอมรับในความพยายามจากศาสนาใดๆ ก็ตามตราบใดที่ผู้ปฏิบัติมีความจริงใจ สัมพัทธนิยมดังกล่าวเป็นการคัดค้านต่อพระคัมภีร์ทั้งเล่มอย่างรุนแรงและขจัดเอาความจำเป็นใดๆ ก็ตามที่พระบุตรของพระเจ้ารับเอาสภาพเนื้อหนังและถูกตรึงบนไม้กางเขนเพื่อเรา (เยเรมีย์ 12:17, ยอห์น 3:15–18) มันยังขัดแย้งกับคำตรัสโดยตรงของพระเยซูที่ว่าพระองค์ทรงเป็นหนทางเดียวที่จะไปถึงพระเจ้า (ยอห์น 14:6)

• คำสอนใดๆ ก็ตามที่กำหนดนิยามใหม่สำหรับการที่พระเยซูคริสต์ทรงเป็นมนุษย์ หลักคำสอนที่ปฏิเสธความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์ การบังเกิดจากหญิงพรหมจารี ธรรมชาติที่ปราศจากบาปของพระองค์ การสิ้นพระชนม์ที่แท้จริงของพระองค์ หรือการฟื้นคืนพระชนม์ทางกายของพระองค์คือหลักคำสอนเท็จ การหลงผิดในการศึกษาเกี่ยวกับพระเจ้าพระบุตรและองค์พระเยซูคริสต์เจ้าของกลุ่มๆ หนึ่งนั้นระบุอย่างง่ายๆ ว่าเป็นนิกายหรือลัทธิที่อาจอ้างว่าเป็นคริสเตียน แต่จริงๆ แล้วเป็นการสอนเทียมเท็จ แม้แต่สังกัดหลักจำนวนมากก็เริ่มลดลงอย่างรวดเร็วไปสู่การละทิ้งความเชื่อโดยประกาศว่าพวกเขาไม่ยึดถือการตีความตามตัวอักษรของพระคัมภีร์หรือความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์อีกต่อไป ในพระธรรม 1 ยอห์น 4:1–3 แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการปฏิเสธ การศึกษาเกี่ยวกับพระเจ้าพระบุตรและองค์พระเยซูคริสต์เจ้าในพระคัมภีร์เป็น “การต่อต้านพระคริสต์” พระเยซูทรงเรียกผู้สอนเท็จภายในคริสตจักรว่า “หมาป่านุ่งห่มเหมือนแกะ” (มัทธิว 7:15)

• คำสอนที่เพิ่มการงานทางศาสนาของมนุษย์ในงานที่ทำเสร็จแล้วบนไม้กางเขนของพระคริสต์ เป็นส่วนประกอบจำเป็นสำหรับความรอด คำสอนนี้อาจเป็นการกล่าวอย่างเดียวถึงความรอดโดยความเชื่อเพียงอย่างเดียว แต่ยืนยันว่าพิธีกรรมทางศาสนา (เช่น การรับบัพติศมาในน้ำ) เป็นการช่วยให้รอด บางกลุ่มถึงกับออกกฎหมายว่าด้วยทรงผม การแต่งกาย และการบริโภคอาหาร พระธรรมโรม11:6 เตือนไม่ให้พยายามผสมผสานพระคุณเข้ากับการกระทำ พระธรรมเอเฟซัส 2:8–9 กล่าวว่าเราได้รับความรอดโดยพระคุณของพระเจ้าโดยทางความเชื่อและไม่มีสิ่งใดที่เราสามารถเพิ่มเติมหรือนำออกไปจากสิ่งนี้ได้ พระธรรมกาลาเทีย 1:6–9 กล่าวคำสาปแช่งต่อทุกคนที่เปลี่ยนข่าวดีเรื่องความรอดโดยพระคุณ

• คำสอนที่นำเสนอพระคุณเป็นใบอนุญาตให้ทำบาป หลักคำสอนเท็จนี้บอกเป็นนัยว่าสิ่งที่ทุกคนต้องทำเพื่อยืนหยัดกับพระเจ้าคือการเชื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระเยซู อธิษฐานในบางครั้ง แล้วกลับมาควบคุมชีวิตของตนเองด้วยความมั่นใจในสวรรค์ในตอนท้าย เปาโลจัดการกับความคิดนี้ในพระธรรมโรมบทที่ 6 พระธรรม 2 โครินธ์ 5:17 กล่าวว่าคนที่ “อยู่ในพระคริสต์” กลายเป็น “คนที่ถูกสร้างใหม่” การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการตอบสนองต่อความเชื่อในพระคริสต์ของผู้เชื่อโดยเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายนอก ส่วนการรู้จักและรักพระคริสต์คือการเชื่อฟังพระองค์ (ลูกา 6:46)

ซาตานได้ทำให้พระคำของพระเจ้าน่าสับสนและบิดเบือนไปตั้งแต่ในสวนเอเดน (ปฐมกาล 3:1–4, มัทธิว 4:6) ครูสอนเท็จและผู้รับใช้ของซาตานพยายามทำตัวให้เป็น “ผู้รับใช้แห่งความชอบธรรม”

(2 โครินธ์ 11:15) แต่พวกเขาจะเป็นที่รู้จักโดยผลของพวกเขา (มัทธิว 7:16) คนหลอกลวงที่ส่งเสริมหลักคำสอนเทียมเท็จจะแสดงสัญญาณของความจองหอง ความโลภ และการกบฏ (ดูยูดา 1:11)

รวมถึงมักจะส่งเสริมหรือมีส่วนร่วมในการผิดศีลธรรมทางเพศ (2 เปโตร 2:14, วิวรณ์ 2:20)

พวกเราฉลาดพอที่จะตระหนักว่าเราอ่อนแอต่อความคิดแบบนอกศาสนามากน้อยเพียงใด และทำนิสัยของพวกเราให้เป็นเหมือนที่ชาวเมืองเบโรอาทำในกิจการ 17:11 คือ “พวกเขา...ตรวจดูพระคัมภีร์ทุกวันเพื่อดูว่าสิ่งที่เปาโลกล่าวนั้นเป็นความจริงหรือไม่” เมื่อเราตั้งเป้าหมายที่จะทำตามการนำของคริสตจักรยุคแรก เราจะไปได้ไกลในการหลีกเลี่ยงหลุมพรางของหลักคำสอนเทียมเท็จ กิจการ 2:42 กล่าวว่า “พวกเขาอุทิศตนเพื่อคำสอนของอัครสาวกและการสามัคคีธรรม ในการหักขนมปังและการอธิษฐาน” การอุทิศตนดังกล่าวจะปกป้องเราและรับรองว่าเราอยู่บนเส้นทางที่พระเยซูทรงกำหนดไว้สำหรับเรา

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

หลักคำสอนเทียมเท็จคืออะไร
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries