คำถาม
อะไรคือความมั่นคงที่มีเงื่อนไข?
คำตอบ
"ความมั่นคงที่มีเงื่อนไข" เป็นศาสนศาสตร์ที่ใช้ในการอ้างอิงถึงความรอดของผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสต์ เป็นการอธิบายถึงความยืนยงของคุณภาพของความรอดของคริสเตียน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือความรอดของคริสเตียน "มั่นคงโดยไม่มีเงื่อนไข" สิ่งนี้กระตุ้นให้เกิดคำถามที่ว่าเหนือเงื่อนไขอะไรที่จะทำให้ความรอดของผู้เชื่อนั้นมั่นคง ผู้ที่เชื่อในความมั่นคงที่มีเงื่อนไขยืนยันว่าความรอดนั้นมีเงื่อนไขเหนือความเชื่อที่เหลืออยู่จนกระทั่งสิ้นยุค การที่จะใช้คำอุปมาพระคัมภีร์ใช้นักวิ่งต้องเข้าเส้นชัยเพื่อจะได้รับรางวัล ผู้ที่เชื่อในหลักการความมั่นคงที่มีเงื่อนไขใช้ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้เข้ามาสนับสนุน
"ผู้เผยพระวจนะปลอมหลายคนจะเกิดมีขึ้น และล่อลวงคนเป็นอันมากให้หลงไป ความรักของคนส่วนมากจะเยือกเย็นลง เพราะความอธรรมแผ่กว้างออกไป แต่ผู้ใดทนได้จนถึงที่สุดผู้นั้นจะรอด" (มัทธิว 24:11 – 13)
"ดูก่อน พี่น้องทั้งหลาย เหตุฉะนั้นเราทั้งหลายเป็นหนี้ แต่มิใช่เป็นหนี้ฝ่ายเนื้อหนัง ที่จะดำเนินชีวิตตามเนื้อหนัง เพราะว่าถ้าท่านทั้งหลายดำเนินชีวิตตามฝ่ายเนื้อหนังแล้ว ท่านจะต้องตาย แต่ถ้าโดยฝ่ายพระวิญญาณ ท่านได้ทำลายการของฝ่ายกายเสียท่านก็จะดำรงชีวิตได้ เพราะว่าพระวิญญาณของพระเจ้าทรงนำผู้ใด ผู้นั้นก็เป็นบุตรของพระเจ้า" (โรม 8:12 – 14)
"ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอให้ท่านคำนึงถึงข่าวประเสริฐ ที่ข้าพเจ้าเคยประกาศแก่ท่านทั้งหลาย ซึ่งท่านได้ยอมรับไว้ อันเป็นฐานซึ่งท่านทั้งหลายตั้งมั่นอยู่ และซึ่งจะทำให้ท่านรอด ถ้าท่านยังยึดตามหลักคำสอนที่ข้าพเจ้าได้ประกาศนั้น เว้นเสียแต่ท่านได้เชื่อเฉยๆ" (1 โครินธ์ 15:1 – 2)
"อย่าหลงเลย ท่านจะหลอกลวงพระเจ้าไม่ได้ เพราะว่าผู้ใดหว่านอะไรลง ก็จะเกี่ยวเก็บสิ่งนั้น ผู้ที่หว่านในย่านเนื้อหนังของตน ก็จะเกี่ยวเก็บความเปื่อยเน่าจากเนื้อหนังนั้น แต่ผู้ที่หว่านในย่านพระวิญญาณ ก็จะเกี่ยวเก็บชีวิตนิรันดร์จากพระวิญญาณนั้น อย่าให้เราเมื่อยล้าในการทำดี เพราะว่าถ้าเราไม่ท้อใจแล้ว เราก็จะเกี่ยวเก็บในเวลาอันสมควร" (กาลาเทีย 6:7 – 9)
บทเหล่านี้และบทอื่นๆ ชี้ให้เห็นถึงเงื่อนไขคุณภาพของความรอดของผู้เชื่อ ในแต่ละบทนี้ผู้เขียนพระคัมภีร์ (ภายใต้การดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์) ใช้ภาษาที่มีเงื่อนไข (เช่นถ้าคุณอดทนคุณถึงจะได้รับความรอด) การที่จะเน้นธรรมชาติของความมั่นคงของผู้เชื่อในพระคริสต์ การที่จะแน่ใจในความมั่นคงของความรอดของเรา ผู้เชื่อต้อง 1) อดทนจนถึงยุคสุดท้าย 2) ดำเนินชีวิตโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ 3) ยึดพระคำในการเทศนา และ 4) หว่านพระวิญญาณ ไม่ใช่ว่าของประทานแห่งความรอดนั้นขาดในทางใดแต่ส่วนตัวของผู้เชื่อต้องพยายามอย่างจริงจังที่จะยังคงสัตย์ซื่อ ในคำของเปาโล "จงอุตส่าห์ประพฤติ เพื่อให้ได้ความรอด ด้วยความเกรงกลัวและตัวสั่น" (ฟิลิปปี 2:12)
เมื่อรู้ถึงน้ำหนักของหลักฐานทางพระคัมภีร์ จะดูเหมือนว่ามุมมองของความมั่นคงที่มีเงื่อนไขเป็นสิ่งที่ไม่สามารถที่จะโจมตีได้ ใครจะโต้เถียงเรื่องความคิดที่ว่าผู้เชื่อต้องสัตย์ซื่อจนกว่าจะสิ้นยุคเพื่อที่จะรักษาความรอดของตัวเองเอาไว้ได้ แต่ยังมีอีกมุมหนึ่งของถกเถียงกันนี้ เป็นการโต้เถียงทางศาสนศาสตร์ที่เก่าแก่ระหว่างลัทธิอาร์เมเนียน (ผู้ที่ยืดถือในความมั่นคงที่มีเงื่อนไข) และลัทธิคาลวิน (ผู้ที่ยึดถือสิ่งที่เรียกว่าความมั่นคง "นิรันดร์" หรือความเพียรของธรรมิกชน) ในเมื่อผุ้ที่นับถือลัทธิอาร์เมเนียนสามารถที่จะอ้างอิงข้อพระคัมภีร์เป็นโหลๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงความมั่นคงที่มีเงื่อนไข ผู้ที่นับถือลัทธิคาลวินสามารถจะชี้ให้เห็นถึงการเรียงลำดับทางพระคัมภีร์เพื่อที่จะสนับสนุนความมั่นคงนิรันดร์ในจำนวนที่เท่าๆ กัน ได้แก่ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้
"ด้วยว่าจะมีพระคริสต์เทียมเท็จ และผู้ทำนายเทียมเท็จหลายคนเกิดขึ้น ทำหมายสำคัญอันใหญ่และการมหัศจรรย์ ล่อลวงแม้ผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรรให้หลง ถ้าเป็นได้" (มัทธิว 24:24)
"เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า แม้ความตาย หรือชีวิต หรือบรรดาทูตสวรรค์ หรือเทพเจ้า หรือสิ่งซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งซึ่งจะมีในภายหน้า หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย หรือซึ่งสูง หรือซึ่งลึก หรือสิ่งใดๆ อื่นที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้น จะไม่สามารถกระทำให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้" (โรม 8:38 – 39)
"เราให้ชีวิตนิรันดร์แก่แกะนั้น แกะนั้นจะไม่พินาศเลย และจะไม่มีผู้ใดแย่งชิงแกะเหล่านั้นไปจากมือของเราได้ พระบิดาของเราผู้ประทานแกะนั้นให้แก่เราเป็นใหญ่กว่าทุกสิ่ง และไม่มีผู้ใดอาจชิงแกะนั้นไปจากพระหัตถ์ของพระบิดาของเราได้" (ยอห์น 10:28 – 29)
"ท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เมื่อท่านได้ฟังสัจวาทะ คือข่าวประเสริฐเรื่องความรอดของท่าน และได้วางใจในพระองค์ ได้รับการผนึกตราไว้ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์แห่งพระสัญญา เป็นมัดจำของการรับมรดกของเรา จนกว่าเราจะได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ เป็นที่ถวายสรรเสริญแด่พระสิริของพระองค์" (เอเฟซัส 1:13 – 14)
พระคัมภีร์บทอื่นๆ สามารถที่จะแสดงรายการรายละเอียดของเงื่อนไขนิรันดร์ของผู้เชื่อในพระคริสต์ที่แท้จริง สำหรับข้อที่ระบุไว้ข้างต้นมีอยู่หนึ่งสิ่งที่เด่นออกมาความมั่นคงนิรันดร์ของผู้เชื่อไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับความพยายามส่วนตัวของผู้เชื่อ แต่เป็นการปกป้องพระคุณของพระเจ้า ในทางตรงกันข้ามบทที่ไม่สนับสนุนความมั่นคงที่มีเงื่อนไขดูเหมือนว่าเน้นไปที่ความสามารถของผู้เชื่อที่จะยังคงมีความสัตย์ซื่อ
เราจะต้องทำอย่างไรกับเรื่องเหล่านั้นทั้งหมด พระคัมภีร์สอนทั้งความมั่นคงที่มีเงื่อนไขและเงื่อนไขนิรันดร์หรือไม่ คำตอบคือ "ไม่" แต่เราต้องยอมรับว่าบทเหล่านี้กล่าวถึงการที่ผู้เชื่อยังคงมีความสัตย์ซื่อกับบทที่กล่าวเกี่ยวกับพระเจ้ารักษาผู้เชื่อไว้จนกระทั่งสิ้นยุค คำตอบคือการดูสิ่งที่นักศาสนศาสตร์เรียกว่าหลักการแห่งพระคุณ (Doctrines of Grace) หลักการแห่งพระคุณถูกผลัดกันเรียกกับประเด็นห้าข้อของลัทธิคาลวิน (เป็นชื่อที่ไม่เหมาะสมเพราะ Calvin ไม่เคยทำให้ปะติดปะต่อกันเรียกเพียงแค่ "ห้าข้อ") ในที่นี้แบบย่อๆ คือหลักการแห่งพระคุณ
ความเสื่อมทรามโดยสิ้นเชิง (Total Depravity) คือเนื่องจากบาปแรก มนุษย์เลยเกิดมาด้วยความชั่วอย่างที่สุดและไม่สามารถที่จะทำอะไรที่พอพระทัยพระเจ้าได้หรือไม่สามารถที่จะแสวงหาพระเจ้าได้
การทรงเลือกโดยปราศจากเงื่อนไข (Unconditional Election) เพราะว่าความเสื่อมทรามของมนุษย์พระเจ้าต้องยื่นมือเข้ามาทำให้ความรอดของผู้เชื่อนั้นมั่นคง พระเจ้าทำสิ่งนี้โดยการเลือกเขาโดยไม่มีเงื่อนไข (ตัวอย่างเช่นมนุษย์ไม่ต้องมีส่วนในการทำอะไรเลย) ให้ได้รับความรอด
การไถ่บาปอย่างจำกัด (Limited Atonement) เพื่อที่จะได้รับสิ่งที่พระเจ้าเลือกเข้าสู่ความรอด การไถ่บาปต้องกระทำเพื่อให้พอพระทัยต่อการพิพากษาอันชอบธรรมของพระเจ้าต่อบาปของพวกเขา พระเจ้าทำสิ่งนี้ผ่านทางการเสียสละของพระบุตรของพระองค์คือพระเยซูคริสต์
พระคุณที่ไม่อาจขัดขวางได้ (Irresistible Grace) พระเจ้านำคุณความดีของความรอดนี้มาใช้ใน "เวลาจริง" โดยการสุ่มเลือกแบบขัดขวางไม่ได้ของพระองค์ด้วยอำนาจในการบังเกิดใหม่ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ สิ่งนี้จะสำเร็จได้โดยผ่านทางวิธีการเทศนาสั่งสอนข่าวประเสริฐ
การทรงพิทักษ์รักษาธรรมิกชน (Perseverance of the Saints) ความรอดที่พระเจ้าสร้างขึ้นมาสำหรับผู้เชื่อเห็นได้จนถึงยุคสุดท้ายในขณะที่พระเจ้าทรงพิทักษ์รักษาและชำระบาปของผู้ที่พระองค์ได้เลือกไว้จนกระทั่งสิ้นยุค
เพื่อที่จะประเมินว่าไม่ว่าความรอดของผู้เชื่อจะมีเงื่อนไขในความมั่นคงหรือมีความมั่นคงนิรันดร์ก็ตาม คนคนหนึ่งควรจะจัดการกับประเด็นห้าข้อของหลักการแห่งพระคุณที่อยู่ต่อหน้านี้ก่อน การทรงพิทักษ์รักษาธรรมิกชนไม่ได้เป็นหลักการเดี่ยวๆ แต่ในทางตรรกวิทยานั้นมุ่งไปที่อีกสี่ประเด็น พื้นฐานของหลักการแห่งพระคุณคือประเด็นแรกการทรงเลือกโดยปราศจากเงื่อนไขซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริงทั้งสี่ประเด็นที่เหลือก็คงจะเป็นจริงตามมาอย่างแน่นอน พระคัมภีร์สอนอย่างชัดเจนว่ามนุษย์เองไม่มีความสามารถใดๆ เลยที่จะมาหาพระเจ้าเพื่อที่จะได้รับความรอด (มัทธิว 10:25 – 26, ยอห์น 6:44, โรม 3:10 – 18)
ผู้ที่วิจารณ์ลัทธิคาลวินและหลักการแห่งพระคุณจะถือสิทธิ์ที่ว่าถ้าเราสอนหลักการเหล่านี้ความบริสุทธิ์และความเชื่อในศาสนาจะหายไป กล่าวอีกนัยหนึ่งคือถ้าความรอดคือความมั่นคงนิรันดร์อะไรจะยับยั้งผู้เชื่อจากการทำบาปตามใจชอบ อัครทูตเปาโลถามคำถามเดียวกันในโรม 6:1 การตอบสนองของเปาโลคือความบาปนั้นเข้ากันไม่ได้กับชีวิตใหม่ในพระคริสต์ (โรม 6:2 – 4) ห่างจากการสนับสนุนให้สามารถที่จะทำบาปได้ หลักการแห่งพระคุณทำมากกว่านั้นเพื่อที่จะส่งเสริมความเชื่อของคริสเตียน มากกว่าหลักการของความมั่นคงที่มีเงื่อนไข ผู้ที่เคร่งในหลักศีลธรรมรู้ว่าความเชื่อในศาสนาและการอุทิศตัวที่เข้มงวดในการดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์นั้นมีอำนาจมากกว่าลัทธิคาลวิน ในหลักการแห่งพระคุณความเชื่อในศาสนานั้นถูกมองว่าเป็นการตอบสนองที่ยิ่งใหญ่ของผู้เชื่อต่อพระคุณที่อัศจรรย์ของพระเจ้าในความรอด (โรม 12:1 – 2) หลักการเหล่านี้ถ้ามีการยึดถือและเชื่ออย่างถูกต้องทำให้งานที่เราทำเป็นการตอบสนองต่อความรักแท้ต่อพระเจ้าผู้ทรงพระคุณที่เรารักมากจนช่วยเราจากบาปและความทุกข์ทรมานของเรา หลักข้อเชื่อไฮเดลเบิร์ก (The Heidelberg Catechism) (เป็นหนึ่งในเอกสารการสารภาพบาปยุคแรกของการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์และอุปกรณ์การสอนของเด็กและผู้เชื่อใหม่) ที่แบ่งเป็นหมวดๆ คือความทุกข์ยากของมนุษย์ (The Misery of Man) (สถานะความบาปของเรา) สำหรับอิสรภาพของมนุษย์ (Of Man's Deliverance) (การกระทำอันเป็นพระคุณของพระเจ้าคือความรอดผ่านทางพระเยซูคริสต์) และสำหรับการขอบพระคุณ (Of Thankfulness) (การตอบสนองต่อพระคุณของพระเจ้าซึ่งเป็นส่วนสรุปสำคัญของหน้าที่ของเราในฐานะที่เป็นคริสเตียน)
ฉะนั้นถ้าเรายอมรับสมมุติฐานว่าหลักการแห่งพระคุณเป็นความจริง (ยกตัวอย่างเช่นในทางพระคัมภีร์) ดังนั้นเราจะทำให้เข้ากับบทเหล่านั้นที่ดูเหมือนว่าจะส่งเสริมความมั่นคงที่มีเงื่อนไข คำตอบสั้นๆ คือว่าเรา (ผู้เชื่อ) เก็บรักษา (ยังคงสัตย์ซื่อจนยุคสุดท้าย) เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงพิทักษ์รักษาเรา ถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือถ้าเราไม่ทำอะไรเพื่อที่จะได้รับหรือได้มาซึ่งชีวิตนิรันดร์ (ความรอดเป็นของขวัญจากพระคุณของพระเจ้าที่ได้มาโดยที่ไม่ต้องเสียอะไรเลย) ดังนั้นเราจะสูญเสียความรอดไปได้อย่างไร เงื่อนไขความมั่นคงเป็นที่ยอมรับสำหรับเพียงแค่ผู้ที่เชื่อเช่นเดียวกันว่าด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งพวกเขาสนับสนุนการมีความรับผิดชอบต่อความรอดตั้งแต่ในตอนแรก (ซึ่งศาสนศาสตร์อาร์เมเนียนมีเหตุผลที่จะกล่าวเป็นนัยเช่นนนั้น) แต่สิ่งขัดแย้งกับข้อพระคัมภีร์เช่นเอเฟซัส 2:8 – 9 "ด้วยว่าซึ่งท่านทั้งหลายรอดนั้นก็รอดโดยพระคุณเพราะความเชื่อ และมิใช่โดยตัวท่านทั้งหลายกระทำเอง แต่พระเจ้าทรงประทานให้ ความรอดนั้นจะเนื่องด้วยการกระทำก็หามิได้ เพื่อมิให้คนหนึ่งคนใดอวดได้" ซึ่งยืนยันอย่างชัดเจนว่าเราไม่ได้มีความรับผิดชอบอะไรเลยต่อความรอดของเรา แม้แต่ความเชื่อที่จำเป็นสำหรับการรับของขวัญนี้ก็เป็นของขวัญที่มาจากพระเจ้า
ลัทธิอาร์เมเนียนให้เหตุผลต่อมนุษย์ที่จะโอ้อวดในยุคสุดท้าย ถ้าโดยความร่วมมือของฉันกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าฉันยังคงสัตย์ซื่อจนสิ้นยุค ฉันจะโอ้อวด (นิดหน่อย) เกี่ยวกับการที่ฉันสามารถอยู่ในเส้นทางและวิ่งจนสุดทาง อย่างไรก็ตามจะไม่มีการโอ้อวดในสวรรค์นอกจากที่จะโอ้อวดในองค์พระผู้เป็นเจ้า (1 โครินธ์ 1:31) หลักการของความมั่นคงที่มีเงื่อนไขไม่ได้มาจากพระคัมภีร์และพระคัมภีร์นั้นชัดเจนว่าเรารักษาความเชื่อไว้เพราะพระเจ้าทรงพิทักษ์รักษาเรา
English
อะไรคือความมั่นคงที่มีเงื่อนไข?