settings icon
share icon
คำถาม

เราควรจัดการความขัดแย้งในคริสตจักรอย่างไร?

คำตอบ


มีหลายพื้นที่ในคริสตจักรที่สามารถก่อให้เกิดความขัดแย้งได้ แต่ ความขัดแย้งส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่เกิดจากปัจจัยหนึ่งในความขัดแย้งสามรูปแบบ: ความขัดแย้งอันเนื่องจากความผิดบาปที่เห็นได้ชัดในหมู่ผู้เชื่อ ความขัดแย้งกับผู้นำ และความขัดแย้งระหว่างผู้เชื่อ. เป็นที่ยอมรับกันว่า หลายประเด็นสามารถข้ามพ้นไป และแท้จริงมันเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งสองรูปแบบหรือมากกว่านั้น

ผู้เชื่อหลายคนที่ทำบาปชัดเจนก่อให้เกิดความขัดแย้งในโบสถ์ เราอ่านพบในพระธรรม 1 โครินธ์ 5 คริสตจักรที่ไม่จัดการกับความผิดบาปในหมู่สมาชิก เท่ากับเปิดประตูไปสู่ปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย คริสตจักรไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อจะทำการตัดสินบรรดาผู้ไม่เชื่อ แต่เป็นที่คาดว่าคริสตจักรจะเผชิญหน้าและรื้อฟื้นผู้เชื่อที่สำนึกผิดต่อบาป ดังเช่นที่ระบุไว้ใน

1โครินธ์ 5:11 “แต่ข้าพเจ้าเขียนบอกท่านว่า ถ้าผู้ใดได้ชื่อว่าเป็นพี่น้องแล้ว แต่ยังล่วงประเวณี เป็นคนโลภ เป็นคนถือรูปเคารพ เป็นคนปากร้าย เป็นคนขี้เมา หรือเป็นคนฉ้อโกง อย่าคบคนอย่างนั้น แม้จะกินด้วยกันก็อย่าเลย”

แต่ละบุคคลดังกล่าวต้องไม่เป็นที่ยอมรับจากคริสตจักร จนกว่าพวกเขาจะเต็มใจที่จะกลับใจใหม่

มัทธิว 18:15-17 “หากว่าพี่น้องของท่านผู้หนึ่งทำผิดบาปต่อท่าน จงไปแจ้งความผิดบาปนั้นแก่เขา สองต่อสองเท่านั้น ถ้าเขาฟังท่าน ท่านจะได้พี่น้องคืนมา แต่ถ้าเขาไม่ฟังท่านจงนำคนหนึ่งหรือสองคนไปด้วย ให้เป็นพยานสองสามปากเพื่อทุกคำจะเป็นหลักฐานได้ ถ้าเขาไม่ฟังคนเหล่านั้น จงไปแจ้งความต่อคริสตจักร ถ้าเขายังไม่ฟังคริสตจักรอีก ก็ให้ถือเสียว่าเขาเป็นเหมือนคนต่างชาติหรือคนเก็บภาษี”

สิ่งนี้ตระเตรียมกระบวนการรัดกุมสำหรับการเผชิญหน้าและการฟื้นฟูผู้เชื่อ การเผชิญหน้าควรจะทำอย่างระมัดระวัง สุภาพอ่อนโยน และมีเป้าหมายในการฟื้นกลับสู่สภาพเดิม

กาลาเทีย 6:1 “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย แม้จับผู้ใดที่ละเมิดประการใดได้ ท่านซึ่งอยู่ฝ่ายพระวิญญาณ จงช่วยผู้นั้นด้วยใจอ่อนสุภาพให้เขากลับตั้งตัวใหม่ โดยคิดถึงตัวเอง เกรงว่าท่านจะถูกชักจูงให้หลงไปด้วย”

คริสตจักรทั้งหลายที่ลงวินัยแต่ละบุคคลที่ทำบาปด้วยความรัก จะตัดทอนความขัดแย้งในคริสตจักรลงอย่างมาก

บางครั้ง ผู้เชื่อทั้งหลายอาจจะไม่พอใจการกระทำหรือนโยบายของผู้นำคริสตจักร เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของคริสตจักรเริ่มแรก ได้แสดงให้เราเห็นภาพนี้

กิจการ 6:1-7 “’ในคราวนั้นเมื่อศิษย์กำลังทวีมากขึ้น พวกนิยมกรีกบ่นติเตียนพวกฮีบรูว่า ในการแจกทานทุกๆวันนั้น เขาเว้นไม่ได้แจกให้พวกแม่ม่ายชาวกรีก ฝ่ายอัครทูตทั้งสิบสองคนจึงเรียกบรรดาศิษย์ให้ประชุมกัน แล้วกล่าวว่า “ซึ่งเราจะละเลยพระวจนะของพระเจ้า มัวไปแจกอาหารก็หาควรไม่ เหตุฉะนั้นพี่น้องทั้งหลายจงเลือกเจ็ดคนในพวกท่าน ที่มีชื่อเสียงดีประกอบด้วย พระวิญญาณบริสุทธิ์และสติปัญญา เราจะตั้งเขาให้ดูแลการงานนี้ ฝ่ายพวกเราจะขะมักเขม้นอธิษฐาน และรับใช้พระเจ้าในพันธกิจแห่งพระวจนะเสมอไป’ คนทั้งหลายเห็นชอบกับคำนี้ จึงเลือกสเทเฟนผู้ประกอบด้วยความเชื่อและพระวิญญาณ บริสุทธิ์ กับฟีลิป โปรโครัส นิคาโนร์ ทิโมน ปารเมนัส และนิโคเลาส์ชาวเมืองอัน ทิโอกซึ่งเป็นผู้เข้าจารีตฝ่ายศาสนายิว คนทั้งเจ็ดนี้เขาให้มายืนต่อหน้าพวกอัครทูต แล้วพวกอัครทูตก็อธิษฐานและ วางมือบนเขา การประกาศพระวจนะของพระเจ้าได้เจริญขึ้น และจำพวกศิษย์ก็ทวีขึ้นเป็น อันมากในกรุงเยรูซาเล็ม และพวกปุโรหิตเป็นอันมากก็ได้เชื่อในพระศาสนา”

กลุ่มคนในคริสตจักรเยรูซาเล็มบ่นต่ออัครทูตว่า บางคนไม่ได้รับการดูแลเท่าที่พวกเขาสมควรได้รับ สถานการณ์นั้นได้ถูกแก้ไขให้ดีขึ้นและคริสตจักรก็เติบโตขึ้น คริสตจักรยุคแรกได้ใช้ความขัดแย้งเป็นโอกาสเพื่อที่จะปรับปรุงงานพันธกิจ อย่างไรก็ตาม เมื่อคริสตจักรไม่ได้มีกระบวนการที่ชัดเจนในการจัดการกับเรื่องราวต่างๆ ผู้คนดูเหมือนอยากจะสร้างเวทีสำหรับพูดของตัวเองขึ้นมา แต่ละบุคคลอาจจะเริ่มต้นสำรวจความคิดเห็นคนอื่น ๆ ในคริสตจักร เข้าร่วมซุบซิบนินทา หรือแม้กระทั่งสร้างสิ่งปิดกั้น "ผู้คนที่เกี่ยวข้อง" ผู้นำสามารถช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้โดยการไม่เห็นแก่ตัวเอง เป็นผู้เลี้ยงแกะที่น่ารัก ผู้นำควรเป็นผู้รับใช้และเป็นตัวอย่างมากกว่าเป็นเจ้านาย

1 เปโตร 5:1-3 “เหตุฉะนั้นข้าพเจ้าจึงตักเตือนบรรดาผู้ใหญ่ในพวกท่านทั้งหลาย ในฐานะที่ข้าพเจ้าก็เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง และเป็นพยานถึงความทุกข์ทรมานของพระคริสต์ และมีส่วนที่จะรับศักดิ์ศรีอันจะมาปรากฏภายหลัง จงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแลของท่าน ไม่ใช่ด้วยความฝืนใจแต่ด้วย ความเต็มใจ ไม่ใช่ด้วยการเห็นแก่ทรัพย์สิ่งของที่ได้มา โดยทุจริต แต่ด้วยใจเลื่อมใส และไม่ใช่เหมือนเป็นเจ้านายที่ข่มขี่ผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ แต่เป็นแบบอย่างแก่ฝูงแกะนั้น”

สมาชิกโบสถ์ที่ท้อแท้ใจควรเคารพพวกผู้นำ จงช้าที่จะไปกล่าวหาพวกเขา และพูดความจริงด้วยความรักกับพวกเขา ไม่ใช่พูดกับคนอื่น ๆ เกี่ยวกับพวกเขา

ฮีบรู 13:7, 17 “ท่านทั้งหลายจงระลึกถึงหัวหน้าของท่าน ผู้ซึ่งได้ประกาศพระวจนะของพระเจ้าแก่ท่าน และจงพิจารณาดูผลปลายทางที่เกิดแก่เขา แล้วจงตามอย่างความเชื่อของเขา ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังและยอมอยู่ในโอวาทของหัวหน้าของท่าน จงให้เขาทำงานนี้ด้วยความชื่นใจ ไม่ใช่ด้วยความเศร้าใจ ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์อะไรแก่ท่านทั้งหลายเลย เพราะว่าท่านเหล่านั้นดูแลรักษาจิตวิญญาณของท่านอยู่ เสมือนหนึ่งผู้ที่จะต้องเสนอรายงาน”

1ทิโมธี 5:19 “อย่ายอมรับคำกล่าวหาผู้ปกครองคนใด เว้นเสียแต่จะมีพยานสองสามคน”

เอเฟซัส 4:15 “แต่ให้เรายึดความจริงด้วยใจรัก เพื่อจะจำเริญขึ้นทุกอย่างสู่พระองค์ผู้เป็นศีรษะ คือพระคริสต์”

ในโอกาสเหล่านั้นเมื่อปรากฏว่าผู้นำไม่ตอบสนองเป็นธุระจัดการให้ แต่ละบุคคลควรทำตามรูปแบบที่บันทึกไว้ในพระธรรมมัทธิว 18 เพื่อรับประกันว่าไม่มีความสับสนวุ่นวายเรื่องที่ว่าแต่ละคนจะยืนอยู่ตรงไหนกัน

มัทธิว 18:15-17 “หากว่าพี่น้องของท่านผู้หนึ่งทำผิดบาปต่อท่าน จงไปแจ้งความผิดบาปนั้นแก่เขา สองต่อสองเท่านั้น ถ้าเขาฟังท่าน ท่านจะได้พี่น้องคืนมา แต่ถ้าเขาไม่ฟังท่านจงนำคนหนึ่งหรือสองคนไปด้วย ให้เป็นพยานสองสามปากเพื่อทุกคำจะเป็นหลักฐานได้ ถ้าเขาไม่ฟังคนเหล่านั้น จงไปแจ้งความต่อคริสตจักร ถ้าเขายังไม่ฟังคริสตจักรอีก ก็ให้ถือเสียว่าเขาเป็นเหมือนคนต่างชาติหรือคนเก็บภาษี”

พระคัมภีร์เตือนสอนว่าผู้คนในคริสตจักรอาจมีความขัดแย้งต่อกันและกันได้ ความขัดแย้งบางอย่างมีรากมาจากความหยิ่งและความเห็นแก่ตัว

ยากอบ 4:1-10 “อะไรเป็นสาเหตุของสงคราม และอะไรเป็นสาเหตุของการทะเลาะวิวาทกันในพวกท่าน มิใช่กิเลสตัณหาของท่านหรือ ที่ทำให้ท่านต่อสู้กัน ท่านทั้งหลายอยากได้ แต่ไม่ได้ ท่านก็ฆ่ากัน ท่านโลภแต่ไม่ได้ ท่านก็ทะเลาะและทำสงครามกัน ท่านไม่มีเพราะท่านไม่ได้ขอ ท่านขอและไม่ได้รับ เพราะท่านขอผิด หวังได้ไปเพื่อสนองกิเลสตัณหาของท่าน คนทุจริตเอ๋ย ไม่รู้หรือว่า การเป็นมิตรกับโลกนั้น คือการเป็นศัตรูกับพระเจ้า เหตุฉะนั้น ผู้ใดใคร่เป็นมิตรกับโลก ผู้นั้นก็ตั้งตัวเป็นศัตรูกับพระเจ้า หรือท่านคิดว่าเป็นสิ่งไร้สาระหรือ ที่พระคัมภีร์กล่าวว่า “พระองค์ทรงเป็นห่วงวิญญาณที่ได้ทรงประทานให้อยู่ในเราทั้งหลาย’ แต่พระองค์ก็ได้ทรงประทานพระคุณเพิ่มขึ้นอีก เหตุฉะนั้น พระคัมภีร์จึงกล่าวว่า พระเจ้าทรงต่อสู้ผู้ที่หยิ่งจองหอง แต่ทรงประทานพระคุณแก่คนที่ใจถ่อม เหตุฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงน้อมใจยอมฟังพระเจ้า จงต่อสู้กับมาร และมันจะหนีท่านไป ท่านทั้งหลายจงเข้าใกล้พระเจ้า และพระองค์จะเสด็จมาใกล้ท่าน คนบาปทั้งหลายเอ๋ย จงชำระมือให้สะอาด และคนสองใจ จงชำระใจของตนให้บริสุทธิ์ จงเป็นทุกข์โศกเศร้าและร้องไห้ จงให้การหัวเราะกลับกลายเป็นการโศกเศร้า และความปีติยินดีกลับกลายเป็นความเศร้าสลด ท่านทั้งหลายจงถ่อมใจลงต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า และพระองค์จะทรงยกชูท่านขึ้น”

ความขัดแย้งบางอย่างเกิดขึ้นได้ เนื่องจากความบาดหมางใจที่ยังไม่ได้รับการให้อภัย

มัทธิว 18:18-35 “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า สิ่งสารพัดซึ่งท่านจะกล่าวห้ามในโลก ก็จะถูกกล่าวห้ามในสวรรค์ และสิ่งซึ่งท่านจะกล่าวอนุญาตในโลก ก็จะได้รับอนุญาตในสวรรค์เหมือนกัน เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายอีกว่า ถ้าในพวกท่านที่อยู่ในโลกสอง คนจะร่วมใจกันขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์ก็จะทรงกระทำให้ ด้วยว่ามีสองสามคนประชุมกันที่ไหนๆในนามของเรา เราจะอยู่ท่ามกลางเขาที่นั่น’ ขณะนั้นเปโตรมาทูลพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้า หากพี่น้องของข้าพระองค์จะกระทำผิดต่อข้าพระองค์เรื่อยไป ข้าพระองค์ควรจะยกความผิดของเขาสักกี่ครั้ง ถึงเจ็ดครั้งหรือ’ พระเยซูตรัสตอบเขาว่า ‘เรามิได้ว่าเพียงเจ็ดครั้งเท่านั้น แต่เจ็ดครั้งคูณด้วยเจ็ดสิบ ‘เหตุฉะนั้นแผ่นดินสวรรค์เปรียบเหมือนเจ้าองค์หนึ่งทรงประสงค์จะคิดบัญชีกับทาส เมื่อตั้งต้นทำการนั้นแล้ว เขาพาคนหนึ่งซึ่งเป็นหนี้หนึ่งหมื่นตะลันต์มาเฝ้า ท่านจึงสั่งให้ขายตัวกับทั้งเมีย และลูกและบรรดาสิ่งของที่เขามีอยู่นั้นเอามาใช้หนี้ เพราะเขาไม่มีเงินจะใช้หนี้ ทาสลูกหนี้ผู้นั้นจึงกราบลงวิงวอนว่า 'ข้าแต่ท่าน ขอโปรดผัดไว้ก่อน แล้วข้าพเจ้าจะใช้หนี้ทั้งสิ้น' เจ้าองค์นั้นมีพระทัยเมตตา โปรดยกหนี้ปล่อยตัวเขาไป แต่ทาสผู้นั้นออกไปพบคนหนึ่งเป็นเพื่อนทาสด้วยกัน ซึ่งเป็นหนี้เขาอยู่หนึ่งร้อยเดนาริอัน จึงจับคนนั้นบีบคอว่า 'จงใช้หนี้ให้ข้า' เพื่อนทาสคนนั้นได้กราบลงอ้อนวอนว่า 'ขอโปรดผัดไว้ก่อนแล้วข้าพเจ้าจะใช้ให้' แต่เขาไม่ยอม จึงนำทาสลูกหนี้นั้นไปจำจองไว้จนกว่าจะใช้เงินนั้น ฝ่ายพวกเพื่อนทาสเมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น ก็พากันสลดใจยิ่งนัก จึงนำเหตุการณ์ทั้งปวงไปกราบทูลเจ้าองค์นั้น ท่านจึงทรงเรียกทาสนั้นมาสั่งว่า 'อ้ายข้าชาติชั่ว เราได้โปรดยกหนี้ให้เอ็งหมด เพราะเอ็งได้อ้อนวอนเรา เอ็งควรจะเมตตาเพื่อนทาสด้วยกัน เหมือนเราได้เมตตาเอ็งมิใช่หรือ' แล้วเจ้าองค์นั้นกริ้ว จึงมอบผู้นั้นไว้แก่เจ้าหน้าที่ให้ทรมาน จนกว่าจะใช้หนี้หมด พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์ จะทรงกระทำแก่ท่านทุกคนอย่างนั้น ถ้าหากว่าท่านแต่ละคนไม่ยกโทษให้แก่พี่น้องของท่านด้วยใจกว้างขวาง”

พระเจ้าทรงสอนเราให้มุ่งมั่นพยายามให้เกิดความสงบสุข

โรม 12:18 “ถ้าเป็นได้ คือเท่าที่เรื่องขึ้นอยู่กับท่าน จงอยู่อย่างสงบสุขกับทุกคน”

โคโลสี 3:12-15 “เหตุฉะนั้นในฐานะที่เป็นพวกซึ่งพระเจ้าทรงเลือกไว้ เป็นพวกที่บริสุทธิ์และ เป็นพวกที่ทรงรัก จงสวมใจเมตตา ใจปรานี ใจถ่อม ใจอ่อนสุภาพ ใจอดทนไว้นาน จงผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งกันและกัน และถ้าแม้ว่าผู้ใดมีเรื่องราวต่อกัน ก็จงยกโทษให้กันและกัน องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงโปรดยกโทษให้ท่านฉันใด ท่านจงกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วจงสวมความรักทับสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เพราะความรักย่อมผูกพันทุกสิ่งไว้ให้ถึงซึ่งความสมบูรณ์ และจงให้สันติสุขของพระคริสต์ครองจิตใจของท่าน พระเจ้าทรงเรียกท่านไว้ให้เป็นกายเดียวด้วย เพื่อสันติสุขนั้น และท่านจงมีใจกตัญญู”

มันเป็นความรับผิดชอบของผู้เชื่อทุกคนที่จะพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งให้ได้

ขั้นตอนพื้นฐานบางอย่างเพื่อได้คำตอบรวมสิ่งต่อไปนี้คือ:

1. พัฒนาท่าทีจิตใจที่ถูกต้อง---อ่อนโยน ถ่อมตน ให้อภัย และมีใจอดทน

กาลาเทีย 6:1 “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย แม้จับผู้ใดที่ละเมิดประการใดได้ ท่านซึ่งอยู่ฝ่ายพระวิญญาณ จงช่วยผู้นั้นด้วยใจอ่อนสุภาพให้เขากลับตั้งตัวใหม่ โดยคิดถึงตัวเอง เกรงว่าท่านจะถูกชักจูงให้หลงไปด้วย”

ยากอบ 4:10 “ท่านทั้งหลายจงถ่อมใจลงต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า และพระองค์จะทรงยกชูท่านขึ้น”

เอเฟซัส 4:31-32 “จงให้ใจขมขื่น และใจขัดเคือง และใจโกรธ และการทะเลาะเถียงกัน และการพูดให้ร้าย กับการคิดปองร้ายทุกอย่างอยู่ห่างไกลจากท่านเถิด และท่านจงเมตตาต่อกัน มีใจเอ็นดูต่อกัน และอภัยโทษให้กัน เหมือนดังที่พระเจ้าได้ทรงโปรดอภัยโทษให้แก่ท่านในพระคริสต์นั้น”

ยากอบ 1:19-20 “ดูก่อนพี่น้องที่รักของข้าพเจ้า จงทราบข้อนี้ จงให้ทุกคนไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ เพราะว่าความโกรธของมนุษย์ไม่ได้กระทำให้เกิดความชอบธรรมแห่งพระเจ้า”

2. ประเมินส่วนของคุณในความขัดแย้ง- (จำเป็นต้องถอนไม้ท่อนออกจากตาของคุณเองก่อนที่จะช่วยเหลือผู้อื่น)

มัทธิว 7:1-5 “อย่ากล่าวโทษเขา เพื่อพระเจ้าจะไม่ทรงกล่าวโทษท่าน เพราะว่าท่านทั้งหลายจะกล่าวโทษเขาอย่างไร พระเจ้าจะทรงกล่าวโทษท่านอย่างนั้น และท่านจะตวงให้เขาด้วยทะนานอันใด พระเจ้าจะได้ทรงตวงให้ท่านด้วยทะนานอันนั้น เหตุไฉนท่านมองดูผงที่ในตาพี่น้องของท่าน แต่ไม้ทั้งท่อนที่อยู่ในตาของท่าน ท่านก็ไม่รู้สึก เหตุไฉนท่านจะกล่าวแก่พี่น้องว่า 'ให้เราเขี่ยผงออกจากตาของเธอ' แต่ที่จริงไม้ทั้งท่อนมีอยู่ในตาของท่านเอง ท่านคนหน้าซื่อใจคด จงชักไม้ทั้งท่อนออกจากตาของท่านก่อน แล้วท่านจะเห็นได้ถนัด จึงจะเขี่ยผงออกจากตาพี่น้องของท่านได้”

3. ไปพบเป็นส่วนบุคคล (ไม่ใช่พบคนอื่น ๆ)เพื่อออกเสียงแสดงความเป็นห่วงของคุณ

มัทธิว 18:15 “หากว่าพี่น้องของท่านผู้หนึ่งทำผิดบาปต่อท่าน จงไปแจ้งความผิดบาปนั้นแก่เขา สองต่อสองเท่านั้น ถ้าเขาฟังท่าน ท่านจะได้พี่น้องคืนมา”

สิ่งนี้ต้องทำด้วยความรัก และไม่เพียงแต่จะระบายความข้องใจหรือระบายอารมณ์

เอเฟซัส 4:15 “แต่ให้เรายึดความจริงด้วยใจรัก เพื่อจะจำเริญขึ้นทุกอย่างสู่พระองค์ผู้เป็นศีรษะ คือพระคริสต์”

การกล่าวหาบุคคลใดสักคนมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมให้เกิดแรงต้านทานขึ้น ดังนั้น จงปราศรัยกันถึงปัญหามากกว่าการโจมตีตัวบุคคล นี้เป็นโอกาสที่ดีกว่าที่จะช่วยให้คนได้ชี้แจงสถานการณ์ หรือแสวงหาการอภัยโทษแทนการโจมตีกัน

4. หากความพยายามครั้งแรกนั้นไม่บรรลุผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จงไปพบกับอีกคนหนึ่งต่อไปเพื่อให้เขาช่วยเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยให้

มัทธิว 18:16 “แต่ถ้าเขาไม่ฟังท่านจงนำคนหนึ่งหรือสองคนไปด้วย ให้เป็นพยานสองสามปากเพื่อทุกคำจะเป็นหลักฐานได้”

โปรดจำไว้ว่าเป้าหมายของคุณคือไม่ได้เอาชนะความขัดแย้ง; มันคือการนำพี่น้องผู้เชื่อของคุณกลับมาเพื่อปรองดองกันดังนั้น จงเลือกคนที่สามารถช่วยให้คุณแก้ปัญหาความขัดแย้งได้

ความขัดแย้งสามารถจัดการได้ดีที่สุดเมื่อแต่ละบุคคลอธิษฐานและถ่อมใจมุ่งเน้นไปที่ รักผู้อื่น ด้วยความตั้งใจที่จะสานสัมพันธ์ใหม่อีกครั้ง ความขัดแย้งส่วนใหญ่ที่สุดในคริสตจักรควรสามารถจัดการสำเร็จได้ ถ้ามีการปฏิบัติตามหลักความเชื่อในพระคัมภีร์ดังกล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็อาจมีที่ปรึกษาภายนอกมาช่วย เราขอแนะนำให้ใช้แหล่งที่มาอื่นๆ ที่สามารถช่วยได้ เช่นพันธกิจสร้างสันติภาพ (www.hispeace.org) English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

เราควรจัดการความขัดแย้งในคริสตจักรอย่างไร?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries