settings icon
share icon
คำถาม

หลักการเสื่อมสูญเป็นไปตามพระคัมภีร์ไหม?

คำตอบ


หลักการเสื่อมสูญคือมุมมองที่ว่า "ของประทานเรื่องการอัศจรรย์" เรื่องการพูดภาษาแปลกๆ และการรักษาโรคได้เสื่อมสูญ-----ซึ่งการสิ้นยุคอัครสาวกทำให้การอัศจรรย์ที่เกี่ยวข้องกับยุคนั้นเสื่อมสูญไป ผู้นิยมหลักการเสื่อมสูญส่วนใหญ่เชื่อว่า ในขณะที่พระเจ้าทรงสามารถและทรงทำการอัศจรรย์ทุกวันนี้ พระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ทรงใช้แต่ละบุคคลที่จะแสดงหมายสำคัญการอัศจรรย์อีกต่อไปแล้ว

บันทึกในพระคัมภีร์แสดงให้เห็นว่าการอัศจรรย์ย์เกิดขึ้นในช่วงเวลาพิเศษ เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะของการรับรองพระดำรัสสอนใหม่จากพระเจ้าว่าจริงแท้ โมเสสสามารถทำการอัศจรรย์เพื่อรับรองพันธกิจของท่านว่าจริงแท้ต่อพระพักตร์ฟาโรห์

อพยพ 4:1-8 “โมเสสจึงทูลตอบว่า ‘แต่พระองค์เจ้าข้า เขาจะไม่เชื่อข้าพระองค์หรือฟัง เสียงของข้าพระองค์ เพราะเขาจะว่า 'พระเจ้ามิได้ทรงปรากฏแก่ท่านเลย' พระเจ้าจึงตรัสกับโมเสสว่า ‘อะไรอยู่ในมือของเจ้า’ ท่านทูลว่า ‘ไม้เท้า พระเจ้าข้า’ พระองค์ตรัสว่า ‘โยนลงที่พื้นดินเถิด’ ท่านจึงทิ้งไม้เท้าลงบนพื้นดิน ไม้เท้านั้นก็กลายเป็นงู โมเสสก็เดินหลบหนีงูไป พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า “เอื้อมมือจับหางงูไว้” (พอท่านเอื้อมมือจับหางงู มันก็กลายเป็นไม้เท้าอยู่ในมือของท่าน) ‘เพื่อเขาทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเจ้าของบรรพบุรุษของเขา พระเจ้าของอับราฮัม พระเจ้าของอิสอัค และพระเจ้าของยาโคบ ทรงปรากฏแก่เจ้าแล้ว’ พระเจ้าตรัสกับโมเสสอีกว่า ‘เอามือสอดไว้ที่อกของเจ้า’ ท่านสอดมือไว้ที่อก เมื่อชักมือออก มือของท่านก็เป็นโรคเรื้อน ขาวเหมือนหิมะ พระองค์จึงตรัสว่า ‘เอามือสอดไว้ที่อกอีกครั้งหนึ่ง’ โมเสสก็สอดมือเข้าที่อกอีก แล้วเมื่อท่านชักออกมา ดูเถิด มือนั้นกลับกลายเป็นเหมือนเนื้อหนังส่วนอื่นของท่าน พระเจ้าตรัสว่า ‘ถ้าเขาจะไม่เชื่อเจ้า และไม่เชื่อหมายสำคัญครั้งที่หนึ่ง เขาอาจเชื่อหมายสำคัญที่สอง”

เอลียาห์ได้กระทำการอัศจรรย์เพื่อรับรองพันธกิจของท่านว่าจริงแท้ต่อพระพักตร์อาหับ

1พงศ์กษัตริย์ 17:1 “ฝ่ายเอลียาห์ชาวทิชบีผู้ซึ่งตั้งอาศัยอยู่ในกิเลอาด ได้ทูลอาหับว่า “พระเยโฮวาห์พระเจ้าแห่งอิสราเอล ผู้ซึ่งข้าพระบาทปฏิบัติทรงพระชนม์อยู่แน่ฉันใด จะไม่มีน้ำค้างหรือฝนในปีเหล่านี้ นอกจากตามคำของข้าพระบาท”

1พงศ์กษัตริย์ 18:24 “และท่านทั้งหลายจงร้องออกพระนามพระเจ้าของท่าน และข้าพเจ้าจะร้องออกพระนามพระเยโฮวาห์ พระเจ้าองค์ที่ทรงตอบด้วยไฟ พระองค์นั้นแหละทรงเป็นพระเจ้า” และประชาชนทั้งปวงก็ตอบว่า “อย่างที่พูดก็ดีแล้ว”

พวกอัครสาวกได้แสดงการอัศจรรย์ เพื่อรับรองพันธกิจว่าจริงแท้ต่อหน้าอิสราเอล

กิจการ 4:10, 16 “ก็ให้ท่านทั้งหลายกับบรรดาชนอิสราเอลทราบเถิดว่า โดยพระนามของพระเยซูคริสต์ชาวนาซาเร็ธ ซึ่งท่านทั้งหลายได้ตรึงไว้ที่กางเขน และซึ่งพระเจ้าได้ทรงโปรดให้คืนพระชนม์ โดยพระองค์นั้นแหละชายคนนี้ที่ยืนอยู่ต่อหน้าท่าน จึงได้หายโรคเป็นปกติ ว่า ‘เราจะทำอย่างไรกับคนทั้งสองนี้ เพราะการที่เขาได้กระทำหมายสำ คัญอันเด่น คนทั้งปวงที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็มก็รู้กันแล้วและเราปฏิเสธไม่ได้”

พระราชกิจของพระเยซูได้ทรงสำแดงในรูปการอัศจรรย์ ซึ่งอัครสาวกยอห์นเรียกว่า “หมายสำคัญ”

ยอห์น 2:11 “นี่เป็นการกระทำอันเป็นหมายสำคัญครั้งแรกของพระเยซู ทรงกระทำที่บ้านคานาแคว้นกาลิลี และได้ทรงสำแดงพระสิริของพระองค์ และสาวกของพระองค์ก็ได้วางใจในพระองค์”

เป้าหมายของยอห์นคือว่า การอัศจรรย์เป็นบทพิสูจน์ความเที่ยงตรงของพระดำรัสสอนของพระเยซู

หลังจากพระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์ คริสตจักรได้ถูกจัดตั้งขึ้นและพันธสัญญาใหม่กำลังถูกเขียน อัครสาวกแสดงให้เห็นภาพ "หมายสำคัญ" เช่น “การพูดภาษาแปลกๆ” และฤทธิ์อำนาจในการรักษาโรค

1โครินธ์ 14:22 “เหตุฉะนั้นการพูดภาษาแปลกๆจึงไม่เป็นหมายสำคัญแก่คนที่เชื่อแต่เป็นนิมิตแก่คนที่ไม่เชื่อ แต่การเผยพระวจนะนั้น ไม่ใช่สำหรับคนที่ไม่เชื่อ แต่สำหรับคนที่เชื่อแล้ว”

นี่คือข้อพระคัมภีร์ที่กล่าวชัดเจนว่า ของประทานก็ไม่ได้มีเจตนาจะให้เพื่ออบรมศีลธรรมแก่คริสตจักร

อัครสาวกเปาโลคาดการณ์ว่า ของประทานการพูดภาษาแปลกๆ จะเสื่อมสูญไป

1โครินธ์ 13:8 “ความรักไม่มีวันสูญสิ้น แม้การเผยพระวจนะก็จะเสื่อมสูญไป แม้การพูดภาษาแปลกๆนั้น ก็จะมีเวลาเลิกกัน แม้วิชาความรู้ก็จะเสื่อมสูญไป”

ตรงนี้มีบทพิสูจน์หกอย่างว่ามันได้เสื่อมสูญไปแล้ว:

1) พวกอัครสาวก โดยการพูดภาษาแปลกๆ ไม่เหมือนใครเลยในประวัติคริสตจักร ทันทีที่พวกเขารับใช้พันธกิจเสร็จสิ้น ความจำเป็นที่จะต้องมีหมายสำคัญที่รับรองว่าเป็นจริงก็เสื่อมสูญไป

2) ของประทาน(หรือหมายสำคัญ) การอัศจรรย์ ถูกกล่าวถึงเฉพาะในจดหมายฝากของอัครสาวกฉบับต้นๆ เช่น 1 โครินธ์ จดหมายฝากของอัครสาวกฉบับหลังๆ เช่น เอเฟซัสและโรม มีเนื้อความละเอียดเกี่ยวกับของประทานแห่งพระวิญญาณ แต่ของประทานการอัศจรรย์ไม่ได้กล่าวถึง แม้ว่า พระธรรมโรมพูดถึงของประทานการพยากรณ์ คำภาษากรีกที่แปลว่า "การพยากรณ์" หมายความว่า "พูดล่วงหน้า" และไม่จำเป็นต้องรวมถึงการคาดการณ์เรื่องอนาคต

3)ของประทานการพูดภาษาแปลกๆ เป็นหมายสำคัญแก่ชาวอิสราเอลผู้ไม่เชื่อว่าพระเจ้าทรงประทานความรอดแก่ประชาชาติอื่น ๆ

1โครินธ์ 14:21-22 “ในธรรมบัญญัติมีคำเขียนไว้ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า ‘เราจะพูดกับชนชาตินี้โดยคน ต่างภาษา และโดยริมฝีปากของคนต่างด้าว ถึงกระนั้นเขาก็จะไม่ฟังเรา’ เหตุฉะนั้นการพูดภาษาแปลกๆจึงไม่เป็นหมายสำคัญแก่คนที่เชื่อแต่เป็นนิมิตแก่คนที่ไม่เชื่อ แต่การเผยพระวจนะนั้น ไม่ใช่สำหรับคนที่ไม่เชื่อ แต่สำหรับคนที่เชื่อแล้ว”

อิสยาห์ 28:11-12 “เปล่า แต่พระองค์จะตรัสกับชนชาตินี้ โดยต่างภาษา และด้วยปากของคนต่างด้าว คือแก่บรรดาผู้ที่พระองค์ตรัสว่า “นี่คือการหยุดพัก จงให้การหยุดพักแก่คนเหน็ดเหนื่อย และนี่คือการพักผ่อน’ ถึงกระนั้นเขาก็ยังไม่ฟัง”

4) การพูดภาษาแปลกๆ เป็นของประทานอันดับรองจากการพยากรณ์ (การเทศนา) การเทศนาพระวจนะของพระเจ้าอบรมศีลธรรมแก่ผู้เชื่อทั้งหลาย ในขณะที่การพูดภาษาแปลกๆไม่ใช่ ผู้เชื่อถูกสอนให้แสวงหาการพยากรณ์มากกว่าการพูดภาษาแปลกๆ

1โครินธ์ 14:1-3 “จงมุ่งหาความรัก และขวนขวายของประทานฝ่ายพระวิญญาณด้ว ยความจริงใจ เฉพาะอย่างยิ่งการเผยพระวจนะ เพราะว่าผู้หนึ่งผู้ใด ที่พูดภาษาแปลกๆได้ ไม่ได้พูดกับมนุษย์ แต่ทูลต่อพระเจ้า เพราะว่าไม่มีมนุษย์คนใดเข้าใจได้ แต่เขาพูดเป็นความล้ำลึกฝ่ายพระวิญญาณ ฝ่ายผู้ที่เผยพระวจนะนั้น พูดกับมนุษย์ทำให้เขาเจริญขึ้น เป็นที่หนุนจิตชูใจ”

5) ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการพูดภาษาแปลกๆ ได้เสื่อมสูญไปแล้ว การพูดภาษาแปลกๆ ไม่ได้ถูกกล่าวถึงเลย โดยบรรพบุรุษหลังยุคอัครสาวก ผู้เขียนคนอื่น ๆ เช่น จัสติน มาไทร์ ออริเจน คริสโซสตอม และออกัสติน พิจารณาว่าการพูดภาษาแปลกๆ เป็นบางสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในยุคแรกๆ ของคริสตจักร

6) การยึดถือปฏิบัติปัจจุบันยืนยันว่าการจรรย์เรื่องการพูดภาษาแปลกๆได้เสื่อมสูญแล้ว ถ้าของประทานยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ก็จะไม่มีความจำเป็นที่จะส่งมิชชันนารีไปเข้าเรียนโรงเรียนสอนภาษา พวกมิชชันนารีจะสามารถเดินทางไปยังประเทศใด ๆ และพูดภาษาใด ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว เช่นเดียวกับอัครสาวกก็สามารถพูดได้ในกิจการบทที่ 2 สำหรับของประทานด้านการรักษาโรค เราเห็นในพระคัมภีร์ว่าการรักษาโรคสัมพันธ์กับพันธกิจของพระเยซูและพวกอัครสาวก

ลูกา 9:1-2 “พระองค์ทรงเรียกสาวกสิบสองคนมาพร้อมกัน แล้วก็ประทานให้เขามีอำนาจเหนือผีทั้งปวง และรักษาโรคต่างๆให้หาย แล้วพระองค์ทรงใช้เขาไปประกาศแผ่นดินของพระเจ้า และรักษาคนป่วยเจ็บให้หาย”

และเราเห็นว่าเวลาใกล้สิ้นยุคของอัครสาวก การรักษาโรค เช่นเดียวกับการพูดภาษาแปลกๆ บ่อยน้อยลงเรื่อย อัครสาวกเปาโล ผู้ได้ยกยุทิกัสเป็นขึ้นจากความตาย

กิจการ 20:9-12 “ชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อยุทิกัสนั่งอยู่ที่หน้าต่างง่วงนอนเต็มที และเมื่อเปาโลสั่งสอนช้านานไปอีก คนนั้นก็โงกพลัดตกจากหน้าต่างชั้นที่สาม เมื่อยกขึ้นมาก็เห็นว่าตายเสียแล้ว ฝ่ายเปาโลจึงลงไปก้มตัวกอดผู้นั้นไว้ แล้วว่า “อย่าตกใจไปเลย ด้วยว่าชีวิตยังอยู่ในตัวเขา’ ครั้นเปาโลขึ้นไปห้องชั้นบน หักขนมปังและรับประทานแล้ว ก็สนทนากับเขาต่อไปอีกช้านาน จนสว่างท่านก็ลาเขาไป คนทั้งหลายจึงพาคนหนุ่มผู้ยังเป็นอยู่ไป และเขาทั้งหลายก็ปลื้มใจยินดีไม่น้อยเลย

เปาโลไม่ได้รักษาเอปาโฟรดิทัส

ฟีลิปปี 2:25-27 “ข้าพเจ้าคิดแล้วว่า จะต้องให้เอปาโฟรดิทัสน้องของข้าพเจ้า ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานและเพื่อนทหารของข้าพเจ้า และเป็นผู้รับใช้ของพวกท่านให้ปรนนิบัติข้าพเจ้าในยามขัดสน ไปหาท่านทั้งหลาย เพราะว่าเขาคิดถึงท่านและเป็นทุกข์เพราะท่านได้ข่าวว่าเขาป่วย เขาป่วยจริงๆ ป่วยจนเกือบจะตาย แต่พระเจ้าทรงพระกรุณาโปรดเขา และไม่ใช่ทรงโปรดเขาคนเดียว แต่ทรงโปรดข้าพเจ้าด้วย เพื่อไม่ให้ข้าพเจ้ามีความทุกข์ซ้อนทุกข์”

เปาโลก็ไม่ได้รักษาโตรฟีมัสเช่นกัน

2 ทิโมธี 4:20 “เอรัสทัส ยังค้างอยู่ที่เมืองโครินธ์ แต่เมื่อข้าพเจ้าจากโตรฟีมัสที่เมืองมิเลทัสมานั้น เขายังป่วยอยู่”

เปาโลก็ไม่ได้รักษาทิโมธี

1 ทิโมธี 5:23 “อย่าดื่มแต่น้ำอีกต่อไป แต่จงใช้เหล้าองุ่นบ้างเล็กน้อย เพื่อประโยชน์แก่กระเพาะอาหารของท่าน และโรคที่บังเกิดแก่ท่านเนืองๆ”

เปาโลก็ไม่ได้รักษาตัวท่านให้หาย

2โครินธ์ 12:7-9 “และเพื่อไม่ให้ข้าพเจ้ายกตัวจนเกินไป เนื่องจากที่ได้เห็นการสำแดงมากมายนั้น ก็ทรงให้มีหนามใหญ่ในเนื้อของข้าพเจ้า หนามนั้นเป็นทูตของซาตานคอยทุบตีข้าพเจ้าเพื่อไม่ให้ข้าพเจ้ายกตัวเกินไป เรื่องหนามใหญ่นั้น ข้าพเจ้าวิงวอนองค์พระผู้เป็นเจ้าถึงสามครั้ง เพื่อขอให้มันหลุดไปจากข้าพเจ้า แต่พระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า ‘การที่มีคุณของเราก็พอแก่เจ้าแล้ว เพราะความอ่อนแอมีที่ไหน เดชของเราก็มีฤทธิ์ขึ้นเต็มขนาดที่นั่น’ เหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงภูมิใจในบรรดาความอ่อนแอของข้าพเจ้า เพื่อฤทธิ์เดชของพระคริสต์จะได้อยู่ในข้าพเจ้า

เหตุผลสำหรับ "ความล้มเหลวในการรักษา" ของเปาโล คือ 1) ของประทานไม้ได้จัดไว้รักษาคริสเตียนทุกคนให้หายดี แต่เพื่อรับรองว่าอัครสาวกมีสิทธิอำนาจจริง และ 2) lสิทธิอำนาจของอัครสาวกได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องมีการอัศจรรย์อีกต่อไป เหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหลักฐานสำหรับหลักการเสื่อมสูญ

1โครินธ์ 13:13-14:1 “ดังนั้นยังตั้งอยู่สามสิ่ง คือความเชื่อ ความหวังใจ และความรัก แต่ความรักใหญ่ที่สุด จงมุ่งหาความรัก และขวนขวายของประทานฝ่ายพระวิญญาณด้วยความจริงใจ เฉพาะอย่างยิ่งการเผยพระวจนะ”

ตามแบบพระธรรมตอนนี้ เราจะทำดีเพื่อ " ติดตามความรักต่อไป" ของประทานที่สำคัญที่สุดในบรรดาทั้งหมด ถ้าหากเราต้องการของประทาน เราควรปรารถนาที่จะกล่าวพระคำของพระเจ้าออกไป เพื่อว่าทุกคนอาจจะได้รับคำสอนศีลธรรม

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

หลักการเสื่อมสูญเป็นไปตามพระคัมภีร์ไหม?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries