settings icon
share icon
คำถาม

หลักการมานุษยวิทยาคืออะไร

คำตอบ


มานุษยวิทยาหมายถึง “สิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือการมีอยู่ของมนุษย์” หลักการหมายถึง “กฎ” หลักการมานุษยวิทยาเป็นกฎของการมีอยู่ของมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันว่าการมีอยู่ของเราในจักรวาลนั้นขึ้นอยู่กับค่าคงที่ของจักรวาลที่มากและตัวแปรซึ่งค่าของตัวเลขอยู่ในขอบเขตของค่าที่จำกัด หากเพียงแค่ตัวแปรเดียวนั้นขาดไป แม้กระทั่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เราก็จะไม่ได้มีตัวตนอยู่ สิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้มากที่สุดคือการที่ตัวแปรมากมายจะเรียงตัวอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องโดยบังเอิญในการเห็นด้วยของเราได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาบางคนเสนอว่าพระเจ้าเป็นผู้ตั้งใจกำหนดโครงสร้างของจักรวาลเพื่อให้มันเข้ากับความจำเป็นเฉพาะของเรา และนี่เป็นหลักการมานุษยวิทยาที่ว่าจักรวาลดูเหมือนจะได้รับการปรับแต่งเพื่อการดำรงอยู่ของเรา

ให้เราพิจารณาตัวอย่างของโปรตอนเป็นต้น โปรตอนเป็นอนุภาคย่อยของอะตอมที่มีประจุบวกซึ่ง (ตามด้วยนิวตรอน) ก่อให้เกิดเป็นรูปแบบนิวเคลียสของอะตอม (ซึ่งเป็นวงโคจรของอิเล็กตรอนประจุลบ) ไม่ว่าจะโดยการสร้างขึ้นมาหรือจากโชคชะตาที่บังเอิญ (ขึ้นอยู่กับมุมมองของคุณ) โปรตอนแค่บังเอิญใหญ่กว่าอิเล็กตรอน 1,836 เท่า ถ้ามันใหญ่กว่านี้เล็กน้อยหรือเล็กกว่านี้เล็กน้อยเราก็จะไม่มีตัวตนอยู่ (เพราะว่าอะตอมไม่สามารถที่จะสร้างโมเลกุลที่เราต้องการได้) ฉะนั้นในท้ายที่สุดแล้วโปรตอนมีขนาดใหญ่กว่าอิเล็กตรอน 1,836 เท่าได้อย่างไร ทำไมไม่ใช่ 100 เท่าหรือ 100,000 เท่า ทำไมไม่เล็กกว่า จากตัวแปรที่เป็นไปได้ทั้งหมด ท้ายที่สุดแล้วโปรตอนกลายเป็นว่ามีขนาดที่เหมาะสมพอดีได้อย่างไร สิ่งนี้เป็นโชคชะตาหรือได้รับการออกแบบขึ้นมา

หรือเป็นไปได้อย่างไรที่ว่าโปรตอนมีประจุบวกที่เท่ากับประจุลบของอิเล็กตรอน ถ้าโปรตอนไม่ได้ทำให้อิเล็กตรอนสมดุลและในทางกลับกัน เราเองก็จะไม่มีตัวตนอยู่ พวกมันไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ด้วยขนาด แต่ก็สมดุลกันอย่างสมบูรณ์แบบ ธรรมชาติเพียงแค่สะดุดไปเจอกับความสัมพันธ์ที่เป็นผลสำเร็จหรือพระเจ้าตรัสสั่งมันเพื่อผลประโยชน์ของเรา

นี่เป็นตัวอย่างของหลักการมานุษยวิทยาซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับความเป็นอยู่ที่ดีของโลกของเราคือ

คุณสมบัติเฉพาะของน้ำ สิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นที่รู้จักทุกชนิดพึ่งพาน้ำ ดีที่ไม่เหมือนกับสสารอื่นๆ ทั้งหมดที่มนุษย์รู้จัก รูปแบบของน้ำที่แข็ง (น้ำแข็ง) มีความหนาแน่น้อยกว่าในรูปแบบของของเหลว สิ่งนี้ทำให้น้ำแข็งลอย ถ้าน้ำแข็งไม่ได้ลอย โลกของเราจะประสบกับความเยือกเย็นที่ควบคุมไม่อยู่ คุณสมบัติอื่นๆ ของน้ำรวมถึงการละลาย การยึดเกาะระหว่าอนุภาค การติดแน่นและคุณสมบัติอื่นๆ เกี่ยวกับความร้อน

ชั้นบรรยากาศของโลก ถ้ามีเพียงแค่หนึ่งในก๊าซจำนวนมากที่มีปริมาณมากเกินไปซึ่งทำให้เกิดชั้นบรรยากาศ โลกของเราก็จะประสบกับปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ควบคุมไม่อยู่ ในทางกลับกันถ้ามีก๊าซเหล่านี้ไม่พอ ชีวิตในโลกจะถูกทำลายล้างโดยรังสีคอสมิก

คุณสมบัติในการสะท้อนแสงของโลกหรือ “อัตราส่วนสะท้อน” (แอลบีโด) (จำนวนรวมของแสงที่สะท้อนออกจากโลกเปรียบเทียบกับจำนวนรวมของแสงที่มีการดูดซึม) ถ้าอัตราส่วนสะท้อนของโลกมากกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ เราจะประสบกับความเยือกเย็นที่ควบคุมไม่อยู่ ถ้ามีน้อยกว่านั้น เราจะประสบกับปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ควบคุมไม่อยู่

สนามแม่เหล็กของโลก ถ้ามันเบากว่านี้มาก โลกของเราจะถูกทำลายล้างโดยรังสีคอสมิก ถ้าแรงกว่านี้มาก เราจะถูกทำลายล้างโดยพายุสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่รุนแรง

ตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ ถ้าเราอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่านี้หลายเท่า น้ำในโลกของเราก็จะแข็งตัว ถ้าเราอยู่ใกล้มากกว่านี้ น้ำก็จะเดือด นี่เป็นหนึ่งในหลากหลายตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะนั้นพิเศษจนช่วยให้เกิดสิ่งมีชีวิตบนโลก

ตำแหน่งระบบสุริยะของเราในกาแล็กซี เป็นอีกครั้งที่มีตัวอย่างมากมายสำหรับเรื่องนี้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระบบสุริยะของเราใกล้จุดศูนย์กลางของกาแล็กซี หรือใกล้แขนเกลียวของกาแล็กซีทางช้างเผือกใดๆ ที่ขอบของมัน หรือใกล้กลุ่มดาวมากเกินไป ก็ทำให้โลกของเราถูกทำลายล้างโดยรังสีคอสมิก

สีของดวงอาทิตย์ ถ้าดวงอาทิตย์เป็นสีแดงหรือสีน้ำเงินมากกว่านี้การสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะถูกขัดขวาง การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นกระบวนการทางชีวเคมีตามธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อชีวิตบนโลก

รายการข้างต้นนั้นไม่ได้ให้รายละเอียดอย่างถี่ถ้วน สิ่งนี้เป็นแค่ตัวอย่าเล็กๆ น้อยๆ ของหลายๆ ปัจจัยซึ่งเป็นไปตามลำดับที่ถูกต้องเพื่อให้มีสิ่งมีชีวิตบนโลก มันดีมากที่พวกเรานั้นได้อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์ซึ่งมีสิทธิพิเศษ ในระบบสุริยะซึ่งมีสิทธิพิเศษ ในกาแล็กซีซึ่งมีสิทธิพิเศษ ในจักรวาลซึ่งมีสิทธิพิเศษ

คำถามสำหรับเราในตอนนี้คือ ด้วยค่าคงตัวสากลมากมายและพารามิเตอร์ทางจักรวาลวิทยาที่กำหนดขอบเขตให้กับจักรวาลของเรา และด้วยตัวแปรที่เป็นไปได้มากมายสำหรับแต่ละอย่าง แล้วสิ่งนี้เกิดขึ้นภายในค่าของช่วงแคบที่แคบที่สุดซึ่งจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของเราได้ย่างไร ความคิดเห็นโดยทั่วไปของคนส่วนใหญ่ก็คือเรานั้นอยู่ที่นี่ด้วยโชคชะตาโดยบังเอิญต่อโอกาศที่จะเป็นไปได้อย่างมากหรือโดยการออกแบบอย่างมีจุดประสงค์ของผู้กระทำที่ชาญฉลาด

ผู้สนับสนุนของมุมมองของความบังเอิญได้พยายามหาทางทำให้ได้ระดับกับโอกาสที่เป็นไปไม่ได้ต่อโชคชะตาโดยบังเอิญด้วยการตั้งสมมุติฐานของสถานการณ์ซึ่งจักรวาลของเราเป็นเพียงแค่จักรวาลหนึ่งท่ามกลางหลายๆ จักรวาลซึ่งกลายมาเป็นคำว่า “พหุภพ” สิ่งนี้ให้โอกาสที่มากมายแก่ธรรมชาติเพื่อ “ทำให้ถูกต้อง” โดยทำให้อัตราการต่อรองของความสำเร็จลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

ให้เราจินตนาการถึงจักรวาลต่างๆ ที่ไม่มีชีวิตจำนวนนับไม่ถ้วนซึ่งตัวแปรที่จำเป็นหนึ่งตัวแปรหรือมากกว่านั้นล้มเหลวที่จะตกไปในช่วงของค่าที่เฉพาะเจาะจงซึ่งจำเป็นต้องมีสำหรับสิ่งมีชีวิต แนวความคิดที่ว่าในที่สุดธรรมชาติจะทำให้ถูกต้อง และได้มีการกระทำอย่างชัดเจนโดยมีหลักฐานทางข้อเท็จจริงที่ว่าเรามีตัวตนอยู่ (หรือข้อถกเถียงก็ดำเนินต่อไป) เป็นความโชคดีของเราที่จักรวาลบังเอิญสะดุดเข้าไปยังการรวมตัวกันอย่างถูกต้องของค่าทางจักรวาลวิทยา หลักการมานุษยวิทยานั้นมักจะอ้างว่าเป็นพื้นฐานที่มาจากประสบการณ์หรือการทดลองมากกว่าทฤษฎีสำหรับอีกนัยหนึ่งของสมมุติฐานทางคณิตศาสตร์ของพหุภพ

ผู้สร้างทฤษฎีการออกแบบอันชาญฉลาดยกย่องหลักการมานุษยวิทยาว่าเป็นหลักฐานเพิ่มเติมในการสนับสนุนวิทยานิพนธ์ของพวกเขาที่ว่าชีวิตมีการกำหนดโครงสร้างโดยการวางแผนและควบคุมอย่างเชี่ยวชาญแบบเหนือธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ระบบทางชีววิทยาที่ส่งเสริมการรับรองคุณภาพของการออกแบบ (เนื้อหาข้อมูลของดีเอนเอ ความซับซ้อนที่เฉพาะเจาะจง ความซับซ้อนที่ลดทอนไม่ได้ ฯลฯ) แต่จักรวาลซึ่งสนับสนุนและให้สภาพแวดล้อมสำหรับชีวิตปรากฏว่าได้มีการออกแบบมาซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

หลักการมานุษยวิทยาคืออะไร
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries