settings icon
share icon
คำถาม

ศาสนศาสตร์ของเปาโลคืออะไร

คำตอบ


ศาสนศาสตร์ของเปาโลเป็นคำที่ใช้กับสิ่งที่บางคนเข้าใจว่าเป็นการสอนทางศาสนาซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในงานเขียนของเปาโลและแตกต่างอย่างชัดเจนกับข่าวประเสริฐของพระเยซู นั่นก็คือพระเยซูสอนอย่างหนึ่งและเปาโลสอนในสิ่งที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ผู้ที่เชื่อในศาสนศาสตร์ของเปาโลที่แยกออกมานั้นเชื่อว่าศาสนาคริสต์ทุกวันนี้แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำสอนของพระเยซู แต่เป็นผลจากการทุจริตของเปาโลต่อคำสอนเหลานั้น

เราเชื่อว่าพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่นั้นรวมกันเป็นหนึ่งเดียวคือ ข่าวประเสริฐนำเสนอชีวิตและการงานของพระเยซูผู้ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ จดหมายต่างๆ อธิบายความหมายและขอบเขตของการงานของพระเยซูและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่นพระธรรมมัทธิวบทที่ 28 บรรยายข้อเท็จจริงของการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูและพระธรรม 1 โครินธ์บทที่ 15 อธิบายความสำคัญของการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ พระธรรมมาระโก 15:38 กล่าวเกี่ยวกับการที่ผ้าม่านในพระวิหารขาดออกเป็นสองท่อนเมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์ แล้วฮีบรู 10:11-23 เปิดเผยถึงความสำคัญของเหตุการณ์นั้น พระวิญญาณบริสุทธิ์พระองค์เดียวกันที่ทรงดลใจในเรื่องพระกิตติคุณต่างๆ ก็ได้ทรงดลใจในเรื่องจดหมายเพื่อให้ความเข้าใจแก่เราแบบเต็มที่เกี่ยวกับแผนการของพระเจ้าเรื่องความรอด

อย่างไรก็ตามผู้ที่สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับ “ศาสนศาสตร์ของเปาโล” เล่าเรื่องอีกแบบหนึ่งคือ

พระเยซูเป็นผู้สอนที่ดี ซึ่งมีการพิจารณาว่าเขาเองเป็นพระเมสสิยาห์ที่ชาวยิวรอคอยมานาน เขาเชื่อว่าพระเจ้าจะล้มล้างอำนาจของโรมและนำราชอาณาจักของพระองค์มายังโลก ในการเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งนี้ พระเยซูทรงสอนข้อความเกี่ยวกับรักที่ไม่มีเงื่อนไข ความอดทน และการการยอมรับทุกคนโดยไม่ด่วนตัดสิน น่าเสียใจที่พันธกิจด้านการเริ่มต้นยุคใหม่ของโลกของพระเยซูนั้นล้มเหลวเมื่อชาวโรมันตรึงพระองค์บนไม้กางเขน

ผู้ติดตามของพระเยซูเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงทำให้อาจารย์ของพวกเขาฟื้นขึ้นมาจากความตาย แล้วยังคงพบปะกันในกรุงเยรูซาเล็มภายใต้การนำของยากอบน้องชายของพระเยซู ความตั้งใจของพวกเขาคือการรอคอยราชอาณาจักรที่จะยังคงมาและยังคงสังเกตเครื่องหมายของพระเยซูสำหรับยุคเรืองปัญญาของศาสนายูดาห์ แต่ตามมาด้วยซาอูลแห่งทาร์ซัส ผู้ซึ่งเสแสร้งว่าเปลี่ยนศาสนาเพื่อแทรกซึมเข้าไปยังคริสตจักร เปโตร ยากอบ แล้วก็คนอื่นๆ ที่รู้จักพระเยซูอย่างแท้จริงสงสัยในซาอูลผู้ซึ่งไม่เคยพบกับพระเยซู

จากนั้นซาอูลก็เริ่มเรียกตัวเองว่า “เปาโล” เขามีความเป็นอัจฉริยะ เขารวมแนวความคิดฮีบรูโบราณกับปรัชญานอกศาสนาของกรีกให้เข้ากันได้อย่างชำนาญ เป็นการสร้างศาสนาใหม่ที่สามารถดึงดูดใจทั้งชาวยิวและคนต่างชาติ เขาเริ่มเทศนาว่าพระเยซูนั้นแท้จริงแล้วเป็นพระเจ้า การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเชื่อมต่อกับระบบการถวายเครื่องบูชาของยิว และคนคนหนึ่งสามารถได้รับความรอดโดยเพียงแค่เชื่อ และบัญญัติของโมเสสเป็นสิ่งที่ล้าสมัย กิจกรรมการเป็นมิชั่นนารีที่กระตือรือร้นของเปาโลและงานเขียนที่โน้มน้าวใจของเขาได้นำ “ข่าวประเสริฐ” ใหม่ของเขาไปทั่วอาณาจักรโรม คริสตจักรเยรูซาเล็ม รวมถึงเปโตรและยากอบ ปฏิเสธเปาโลในฐานะที่เป็นคนนอกศาสนาและผู้นำลัทธิ

หลังจากที่เยรูซาเล็มถูกทำลายในปีค.ศ. 70 คริสตจักรของชาวยิวสูญเสียอำนาจ แต่คริสตจักรของคนต่างชาติที่สร้างโดยเปาโลได้ขยายอิทธิพลมากขึ้น ผู้ติดตามที่ร้อนรนคนหนึ่งของเปาโลเขียนพระธรรมกิจการ ซึ่งทำให้เปาโลได้รับสถานะที่เป็นตำนานด้วยการพรรณนาที่เปล่งปลั่งของเขาในฐานะวีรบุรุษของคริสตจักร หลังจากนั้นนักเขียนซึ่งไม่เป็นที่รู้จักสี่คนรวบรวมเศษเล็กๆ ของข้อมูลเกี่ยวกับพระเยซูและเขียนพระธรรมที่พวกเขาเรียกว่า “มัทธิว” “มาระโก” “ลูกา” และ “ยอห์น” แต่ศาสนศาสตร์ของเปาโลนั้นมีอำนาจเหนือคริสตจักกรอยู่แล้ว ทำให้มุมมองของนักเขียนกลายเป็นมลทิน ดังนั้นศาสนาของเปาโลจึงประสบความสำเร็จเหนือศาสนาของพระเยซู

กล่าวสั้นๆ คือเปาโลเป็นนักต้มตุ๋น เป็นพ่อค้าในการประกาศข่าวประเสริฐผู้ซึ่งประสบความสำเร็จในการบิดเบือนข้อความเกี่ยวกับความรักของพระเยซูให้กลายเป็นสิ่งที่พระเยซูเองจะไม่มีทางยอมรับ เป็นเปาโลไม่ใช่พระเยซูที่เริ่มต้น “ศาสนาคริสต์” ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

โดยปรกติแล้วผู้ที่ยึดถือทฤษฎีแบบด้านบนยังเชื่อในสิ่งต่อไปนี้คือ

1) พระเยซูไม่ได้เป็นพระเจ้า พระองค์ไม่เคยตรัสว่าพระองค์เป็นพระเจ้า และไม่เคยตั้งใจจะเริ่มต้นศาสนาใหม่
2) พระคัมภีร์ไม่ใช่หนังสือที่ได้รับการดลใจและเป็นปริศนาที่มีความขัดแย้ง ไม่มีส่วนใดในพระคัมภีร์ ยกเว้นอาจจะเป็นไปได้ในพระธรรมยากอบ ซึ่งเขียนขึ้นมาโดยใครก็ตามที่รู้จักพระเยซู มีคำสอนของพระเยซูเพียงเศษเสี้ยวในพระกิตติคุณ แต่เป็นการยากที่จะแยกแยะถึงสิ่งที่พระองค์ตรัสอย่างแท้จริง
3) เปาโลไม่เคยเป็นฟาริสีและไม่ได้รับการศึกษาที่สูง “การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ” ของเขาเป็นประสบการณ์ประสาทหลอนส่วนตัวหรือเป็นการโกงอย่างสมบูรณ์ การที่เขาอ้างว่าเป็นอัครทูตนั้นเป็นความพยายามที่จะเพิ่มเติมอำนาจของเขาเองในคริสตจักร
4) “การสร้าง” ในศาสนศาสตร์ของเปาโลรวมถึง ก) การเป็นพระเจ้าของพระเยซู ข) ความรอดโดยพระคุณผ่านทางความเชื่อ ค) ความรอดผ่านทางพระโลหิตของพระเยซู ง) พระลักษณะที่ไม่มีบาปของพระเยซู จ) แนวความคิดเกี่ยวกับต้นกำเนิดของบาปและ ฉ) พระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่มี “หลักการใหม่ๆ” เหล่านี้ที่ได้รับการยอมรับโดยผู้ที่ติดตามพระเยซูอย่างแท้จริง
5) คัมภีร์นอสติกนั้นใกล้เคียงกับความจริงของพระเยซูมากกว่าพระกิตติคุณโบราณสี่เล่มของพระคัมภีร์

แนวความคิดเกี่ยวกับ “ศาสนาคริสต์ของเปาโล” แสดงถึงการโจมตีต่อพระคัมภีร์อย่างเต็มที่ว่าเป็นพระคำของพระเจ้า ผู้ที่เชื่อในแนวความคิดแบบทฤษฎี “ศาสนาคริสต์ของเปาโล” บิดเบือนคำสอนของพระเยซูอย่างแท้จริง พวกเขาเลือกที่จะเชื่อพระคำของพระองค์ในด้านความรักแต่ปฏิเสธคำสอนของพระองค์ในเรื่องการพิพากษา (เช่นพระธรรมมัทธิวบทที่ 24) พวกเขายืนยันในเรื่องการที่พระเยซูทรงเป็นมนุษย์ แต่ปฏิเสธการเป็นพระเจ้าของพระองค์ แม้ว่าจะเป็นการสอนอย่างเรียบง่ายถึงความเท่าเทียมกันของพระองค์กับพระเจ้าในตอนเช่นยอห์น 10:30 พวกเขาต้องการพระเยซู “ที่มีความรัก” โดยที่ไม่ต้องยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอด

เวลาใดก็ตามที่ผู้สงสัยค้นพบหลักคำสอน “ที่ไม่สอดคล้องกัน” ในพระคัมภีร์ เป็นไปได้ที่เขาจะกล่าวว่า “ตอนนั้นถูกทำให้เสื่อมไป” หรือ “เปาโลเขียนสิ่งนั้นแต่เรารู้ว่าเขาเป็นคนโกหก” ที่ใดซึ่งสอนหลักคำสอน “ของเปาโล” เช่นการไถ่บาปของพระเยซูในยอห์น 1:29 ผู้สงสัยก็ปฏิเสธโดยกล่าวว่า “เพิ่มเข้าไปโดยสาวกเปาโล” ในความเป็นจริงแล้วพื้นฐานเดียวของผู้สงสัยในการคัดเลือกวิธีการเข้าหาพระคัมภีร์คือการยึดถืออคติส่วนตัวต่อแนวคิดเรื่องการไถ่บาปของพระเยซู

สิ่งที่น่าสนใจคือหนังสือรับรองของเปาโลในฐานะอัครทูตนั้นถูกโจมตี แม้กระทั่งในช่วงเวลาที่เขามีชีวิตอยู่ โดยผู้ที่ปรารถนาจะนำคริสตจักรเข้าสู่ความถูกต้องทางกฎหมายและอุดมการณ์ที่ชวนให้หลงผิดอื่นๆ เปาโลปกป้องตัวเองจากการโจมตีจอมปลอมของผู้สอนเท็จในพระธรรม 1 โครินธ์บทที่ 9 พระธรรม 2 โครินธ์บทที่ 12 และพระธรรมกาลาเทียบทที่ 1

ความเป็นอัครทูตของเปาโลได้รับการยืนยันถึงโดยการอัศจรรย์ที่เขาได้กระทำ (โรม 15:19) การอบรมที่เขาได้รับ (กาลาเทีย 1:15-20) และคำพยานจากอัครทูตคนอื่นๆ เปโตรผู้ซึ่งห่างไกลจากการเป็นศัตรูของเปาโลเขียนถึงเขาว่า “ดังที่เปาโลน้องที่รักของเราได้เขียนจดหมายถึงท่านทั้งหลายด้วย ตามสติปัญญาซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดประทานแก่ท่านนั้น เหมือนในจดหมายของท่านทุกฉบับ ท่านได้กล่าวถึงเหตุการณ์เหล่านั้น และในจดหมายนั้นมีบางข้อที่เข้าใจยาก ซึ่งคนทั้งหลายที่ไม่ได้เรียนรู้และไม่แน่นอนมั่นคงนั้นได้เปลี่ยนแปลงเสีย เหมือนเขาได้เปลี่ยนแปลงข้ออื่นๆ ในพระคัมภีร์ จึงเป็นเหตุกระทำให้ตัวพินาศ” (2 เปโตร 3:15-16)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ศาสนศาสตร์ของเปาโลคืออะไร
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries