settings icon
share icon
คำถาม

แนวคิดเกี่ยวกับนิพพานในศาสนาพุทธคืออะไร

คำตอบ


นิพพานตามศาสนาพุทธแล้วเป็นสภาวะทางความคิดที่ซับซ้อนของการมีอยู่ซึ่งบุคคลหนึ่งหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานของโลกและเขาหรือเธอตระหนักถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล ผู้ที่สติสัมปชัญญะของเขาเข้าสู่นิพพานนั้นในท้ายที่สุดจะสามารถละทิ้งวงจรของการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อไปเป็นวิญญาณแม้ว่าจะไม่มีตัวตนก็ตาม คำว่านิพพานแท้จริงแล้วหมายถึง “การเป่าให้ดับ” หรือ “การทำให้หมดไป” แต่ความหมายนั้นเมื่อนำไปใช้กับชีวิตฝ่ายวิญญาณของบุคคลหนึ่งจะซับซ้อนมากขึ้น นิพพานสามารถที่จะหมายถึงการกระทำที่ทำให้ดับไป ถ้าไม่เป็นการค่อยๆ ทำให้ดับก็เป็นการทำให้ดับอย่างรวดเร็ว (เหมือนกับการเป่าเทียนให้ดับ) เป้าหมายสุดท้ายของศาสนาพุทธคือนิพพาน เมื่อการทำให้ความปรารถนา “หมดไป” นั้นสิ้นสุด และบุคคลนั้นถูกเปลี่ยนให้เป็นอีกสภาพหนึ่ง ให้เราจินตนาการถึงเทียนที่ถูกจุดไว้และถูกทำให้ดับ พลังงานของมันไม่ได้ถูกทำลายไปแต่กลายเป็นพลังงานอีกประเภทหนึ่ง นี่เป็นภาพง่ายๆ ของสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อจิตวิญญาณไปถึงนิพพาน

มี “ไฟ” อยู่สามประเภทซึ่งชาวพุทธแสวงหาที่จะดับเพื่อที่จะพบกับนิพพาน สิ่งเหล่านี่คือกิเลส การรังเกียจ (ความเกลียดชัง) และความไม่รู้ (ความหลง) เมื่อกล่าวอย่างผิวเผินการทำให้หมดไปดูเหมือนจะมาจากพระคัมภีร์ พระคัมภีร์เตือนไม่ให้ถูกครอบงำหรือถูกนำโดยตัณหาหรือความปรารถนา (โรม 6:12) และบัญชาว่าให้เรา “ประหาร” อะไรก็ตามที่เป็นทางโลกซึ่งอยู่ภายในตัวเรา รวมถึงความปรารถนาด้านความบาป (โคโลสี 3:5) ความเกลียดชังและความไม่รู้ซึ่งจงใจก็ถูกประณามในพระคัมภีร์เช่นเดียวกัน มีไม่ต่ำกว่า 71 บทในพระธรรมสุภาษิตที่กล่าวถึง “คนโง่เขลา” และไม่มีบทไหนเลยที่มีการกล่าวถึงในด้านบวก ความเกลียดชังยังเป็นสภาพเชิงลบตามหลักการของพระคัมภีร์ “ความเกลียดชังยั่วยุให้เกิดความแตกแยก แต่ความรักบดบังความผิดทั้งมวล” (สุภาษิต 10:12)

อย่างไรก็ตามการทำให้ “ตัณหา” หมดไปในศาสนาพุทธนั้นแตกต่างอย่างมากจากคำบัญชาของพระคัมภีร์ว่าให้ “จงหลีกหนีจากตัณหาของคนหนุ่ม” (2 ทิโมธี 2:22) ศาสนาพุทธไม่ได้มองว่าบาปเป็นความรุนแรงของหลักจรรยาบรรณของพระเจ้าสูงสุด ในทางกลับกันศาสนาพุทธแนะนำให้ขจัดความปรารถนาทั้งหมดออกไปซึ่งแน่นอนว่าเป็นการเอาชนะตัวเอง และเพื่อกำจัดความปรารถนาทั้งหมดคนคนหนึ่งต้องปรารถนาที่จะให้มันหายไป สิ่งนี่ไม่ใช่แนวความคิดที่มาจากพระคัมภีร์ อย่างไรก็ตามพระเจ้าทรงสัญญาว่าจะให้ตามความปรารถนาในหัวใจของเราเมื่อเรามีความยินดีในพระองค์ (สดุดี 37:4) และสวรรค์ตามหลักการของพระคัมภีร์นั้นตรงกันข้ามกับนิพพานที่ว่าเป็นสถานที่แห่งความพึงพอใจมากมายและความปรารถนานั้นก็สำเร็จ (พระธรรมสดุดีบทที่ 16)

แนวความคิดเกี่ยวกับนิพพานนั้นตรงกันข้ามกับการสอนของพระคัมภีร์เรื่องสวรรค์ พระคัมภีร์กล่าวว่าไม่มีทางที่เราจะหาทางไปสวรรค์ด้วยตัวของเราเอง (โรม 3:20) ไม่มีการทำสมาธิ การปฏิเสธตัวเอง หรือการรู้แจ้งเห็นจริงจำนวนใดที่จะทำให้คนคนหนึ่งชอบธรรมต่อพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ได้ นอกจากนี้ศาสนาพุทธยังสอนว่าบุคคลหนึ่งที่ไปถึงสภาพแห่งนิพพานจะสูญเสียอัตลักษณ์ส่วนบุคคลไปทั้งหมด ความปรารถนาทั้งหมด และแม้กระทั่งร่างกายของเขาหรือเธอ พระคัมภีร์สอนว่าสวรรค์เป็นสถานที่ที่แน่นอนซึ่งไม่ใช่สภาวะทางจิต โดยที่เรายังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ส่วนตัวและอาศัยอยู่ในร่างกายที่ฟื้นขึ้นมาจากความตาย เราจะไม่ได้มีตัวตนอยู่ในสภาวะที่คลุมเครือของการขาดการสนใจตลอดไป ในทางกลับกันเราจะชื่นชมยินดีการทำให้ความปรารถนาพื้นฐานของเราสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบคือ การสามัคคีธรรมพระเจ้าตามนี้คือ “พระองค์จะทรงให้ข้าพระองค์เปี่ยมด้วยความชื่นชมยินดีต่อหน้าพระองค์ มีความชื่นบานอยู่ที่เบื้องขวาพระหัตถ์ของพระองค์เป็นนิตย์” (สดุดี 16:11)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

แนวคิดเกี่ยวกับนิพพานในศาสนาพุทธคืออะไร
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries