settings icon
share icon
คำถาม

เหตุการณ์สําคัญในชีวิตของพระเยซูคริสต์คืออะไร (ตอนที่ 2)

คำตอบ


ต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์สําคัญในชีวิตของพระคริสต์และพระคัมภีร์เล่มต่างๆ ที่อธิบายถึงแต่ละเหตุการณ์ (ตอนที่ 2)

การเลี้ยงคน 5,000 คนเป็นดังนี้ (มัทธิว 14:15-21, มาระโก 6:34-44, ลูกา 9:12-17, ยอห์น 6:5-13) จากขนมปังก้อนเล็กห้าก้อนและปลาสองตัว พระเยซูทำให้อาหารเพียงพอที่จะเลี้ยงคนจำนวนมากกว่า 5,000 คน พระกิตติคุณทั้งหลายบอกเราว่ามีผู้ชาย 5,000 คนอยู่ที่นั่น แต่มัทธิวเสริมว่ายังมีผู้หญิงและเด็กอยู่ที่นั่นเช่นเดียวกัน โดยประมาณการว่ามีฝูงชนสูงถึง 20,000 คน แต่พระเจ้าของเราเป็นพระเจ้าแห่งการจัดเตรียมที่อุดมสมบูรณ์ เพียงน้อยนิดก็สามารถเพิ่มพูนในพระหัตถ์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า การเรียนรู้บทเรียนที่สะเทือนอารมณ์นั้นจะเรียนรู้โดยการเห็นว่าก่อนที่พระองค์จะทรงทวีคูณขนมปังและปลา พระเยซูทรงบัญชาฝูงชนให้นั่งลง นี่เป็นภาพที่สวยงามของฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าในการทำสิ่งที่เราทำไม่ได้ให้สำเร็จ ในขณะที่เราไว้วางใจในพระองค์ ไม่มีอะไรที่ผู้คนจะทำเพื่อเลี้ยงตัวเองได้ซึ่งมีเพียงพระองค์เท่านั้นที่ทรงสามารถทำเช่นนั้นได้ พวกเขามีเพียงเงินเล็กน้อยแต่ในพระหัตถ์ของพระเจ้ามันกลายเป็นงานเลี้ยงที่ไม่ใช่เพียงพอเท่านั้น แต่ยังมีมากมายอีกด้วย

การจำแลงพระกายเป็นดังนี้ (มัทธิว 17:1-8, มาระโก 9:2-8, ลูกา 9:26-36) เหตุการณ์นี้เรียกว่า “การจำแลงพระกาย” ซึ่งหมายถึง “การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ” เพราะพระเยซูทรงเปลี่ยนแปลงต่อหน้าต่อตาของเปโตร ยากอบ และยอห์นไปเป็นพระลักษณะที่แท้จริงของพระองค์ พระสิริแห่งการเป็นพระเจ้าฉายออกมาจากพระองค์ เปลี่ยนพระพักตร์และเสื้อผ้าของพระองค์ในลักษณะที่ยากต่อผู้เขียนพระกิตติคุณจะสามารถบรรยายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น​เดียว​กับ​ที่​อัครทูตยอห์น​ใช้คำ​อุปมา​หลาย​อย่าง​เพื่อ​บรรยาย​ถึง​สิ่ง​ที่​เขา​เห็น​ใน​นิมิต​ของวิวรณ์ เช่นเดียวกับมัทธิว มาระโก และ​ลูกา​ก็​ต้อง​ใช้​ภาพ​เช่น “แสง​ฟ้าแลบ” “ดวงอาทิตย์” และ “แสง” เพื่อ​บรรยายถึงลักษณะของพระเยซู แท้จริงแล้วมันคือสิ่งเหนือธรรมชาติ การปรากฏของโมเสสและเอลียาห์เพื่อสนทนากับพระเยซูแสดงให้เราเห็นสองสิ่ง ประการแรกชายสองคนเป็นตัวแทนของธรรมบัญญัติและผู้เผยพระวจนะ ทั้งคู่ได้ทำการพยากรณ์ถึงการเสด็จมาและการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู ประการที่สองความจริงที่ว่าพวกเขากล่าวถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ในกรุงเยรูซาเล็มที่กำลังจะเกิดขึ้น (ลูกา 9:31) แสดงให้เห็นว่าพวกเขารู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้และแผนการอันยิ่งใหญ่สูงสุดของพระเจ้าที่กำลังเปิดเผยตามที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ล่วงหน้า พระเจ้าตรัสจากสวรรค์และทรงบัญชาเหล่าสาวกให้ “ฟังพระองค์!” โดยระบุว่าขณะนี้พระเยซูมีพลังและอำนาจที่จะสั่งพวกเขาซึ่งไม่ใช่โมเสสและเอลียาห์

การฟื้นขึ้นมาจากความตายของลาซารัสเป็นดังนี้ (ยอห์น 11:1-44) ลาซารัสน้องชายของมารีย์และมารธาแห่งหมู่บ้านเบธานีเป็นเพื่อนสนิทของพระเยซูซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมครอบครัวนี้ถึงเรียกหาพระเยซูเมื่อลาซารัสป่วย พระเยซูทรงล่าช้าหลายวันก่อนที่จะไปหมู่บ้านเบธานีโดยทรงรู้ว่าลาซารัสจะต้องตายนานพอที่จะพิสูจน์ให้เห็นถึงฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่มีฤทธิ์อำนาจเหนือชีวิตและความตาย และด้วยการทำให้ลาซารัสฟื้นจากหลุมศพ พระเยซูทรงย้ำถึงสิทธิอำนาจของพระองค์ในฐานะพระเจ้าและอำนาจสูงสุดของพระองค์เหนือความตาย โดยผ่านเหตุการณ์นี้พระบุตรของพระเจ้าจะได้รับเกียรติอย่างแน่ชัด เช่นเดียวกับการอัศจรรย์และเหตุการณ์อื่นๆ เป้าหมายประการหนึ่งคือเพื่อให้เหล่าสาวกและเรา “จะได้เชื่อ” (ยอห์น 20:31) พระเยซูคือผู้ที่พระองค์ตรัสว่าพระองค์ทรงเป็นและการอัศจรรย์ที่น่าประหลาดใจที่สุดนี้เป็นพยานถึงข้อเท็จจริงนั้น พระเยซูตรัสกับมารธาว่า “เราคือผู้ที่ทำให้คนเป็นขึ้นจากตายและให้ชีวิตแก่เขา” (ยอห์น 11:25) และถามเธอว่าเธอเชื่อสิ่งที่พระองค์ตรัสหรือไม่ นี่คือพื้นฐานของชีวิตคริสเตียน เราเชื่อว่าพระเยซูทรงมีอำนาจมากในการฟื้นคืนพระชนม์และเราวางใจในพระองค์ที่จะประทานชีวิตนิรันดร์แก่เราผ่านฤทธิ์อำนาจนั้น เราถูกฝังไว้กับพระองค์และฟื้นขึ้นมาจากความตายโดยสิทธิอำนาจเหนือความตายของพระองค์ โดยผ่านฤทธิ์เดชของพระองค์เท่านั้นที่เราจะได้รับการช่วยให้รอดอย่างแท้จริง

การเสด็จเข้าอย่างผู้พิชิตเป็นดังนี้ (มัทธิว 21:1–11, 14–17, มาระโก 11:1–11, ลูกา 19:29–44, ยอห์น 12:12–19) การเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิตของพระเยซูในสัปดาห์ก่อนการตรึงที่กางเขนคือพื้นฐานของสิ่งที่เรียกว่าวันอาทิตย์ทางตาล ฝูงชนที่ต้อนรับพระองค์วางกิ่งปาล์มบนถนนเพื่อพระองค์แต่การนมัสการพระองค์นั้นชั่วคราว ในเวลาอีกเพียงไม่กี่วันฝูงชนกลุ่มเดียวกันนี้ก็ร้องเรียกให้พระองค์สิ้นพระชนม์และตะโกนว่า “ตรึงเขาที่ไม้กางเขน! ตรึงเขาที่ไม้กางเขน!” (ลูกา 23:20-21) แต่เมื่อพระองค์ทรงขี่หลังลูกลาเข้าไปในกรุงเยรูซาเล็มซึ่งแสดงถึงความถ่อมตัวและถ่อมใจของพระองค์ พระองค์ทรงได้รับการนับถือจากฝูงชนและการรับรู้ถึงการอ้างสิทธิ์ของการเป็นพระเมสสิยาห์ของพระองค์ แม้แต่เด็กๆ ก็ต้อนรับพระองค์โดยแสดงให้เห็นว่าพวกเขารู้ในสิ่งที่ผู้นำชาวยิวไม่รู้ก็คือว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมสสิยาห์ การที่พระเยซูเสด็จเข้าไปในกรุงเยรูซาเล็มทำให้คำพยากรณ์ในพันธสัญญาเดิมของเศคาริยาห์มีการกล่าวซ้ำในยอห์น 12:15 คือ “ดูเถิด กษัตริย์ของเจ้ากำลังเสด็จมาประทับนั่งมาบนลูกลา”



English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

เหตุการณ์สําคัญในชีวิตของพระเยซูคริสต์คืออะไร (ตอนที่ 2)
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries