settings icon
share icon
คำถาม

สำหรับคริสเตียนแล้วอนุญาตให้มีอารยะขัดขืนตอนไหน

คำตอบ


จักรพรรดิของกรุงโรมจากปีค.ศ. 54 ถึงค.ศ. 68 คือแนโร เกลาดิอุส ไกซาร์ เอากุสตุส แกร์มานิกุส (Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus) เป็นที่รู้จักกันในชื่อสั้นๆ คือแนโร จักรพรรดิองค์นี้ไม่ได้เป็นที่รู้จักว่าเดินในทางของพระเจ้าและมีส่วนที่ในการกระทำที่ผิดกฎหมายรวมถึงการแต่งงานแบบรักร่วมเพศมากมาย ในปีค.ศ. 64 เกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ในกรุงโรม โดยแนโรถูกสงสัยว่าเป็นคนลอบวางเพลิง ในงานเขียนของสมาชิกสภาสูงสุดของกรุงโรมและนักประวัติศาสตร์ตากิตุส (Tacjtus) บันทึกไว้ว่า “การจะกำจัดการแจ้ง [ว่าเข้าเป็นคนวางเพลิง] แนโรยึดความผิดและก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างรุนแรงในชนชั้นที่ถูกเกลียดสำหรับความน่าสะอิดสะเอียนของพวกเขาซึ่งเรียกกันว่าคริสเตียนโดยผู้ที่มาตั้งรกราก” (หนังสือ Annals, XV)

ช่วงเวลาการปกครองของแนโรที่อัครทูตเปาโลเขียนในจดหมายของเขาถึงชาวโรม ขณะที่คนคนหนึ่งอาจจะคาดหวังให้เขาหนุนใจคริสเตียนในโรมให้ยืนขึ้นเพื่อผู้ปกครองที่กดขี่ของพวกเขา ในบทที่ 13 เราพบสิ่งนี้แทนคือ

“ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง เพราะว่าไม่มีอำนาจใดเลยที่ไม่ได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ถืออำนาจนั้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น เพราะฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอำนาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ซึ่งพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น และผู้ที่ขัดขืนนั้นจะต้องถูกลงโทษ เพราะว่าผู้ครอบครองนั้นไม่น่ากลัวเลยสำหรับคนที่ประพฤติดี แต่ว่าเป็นที่น่ากลัวสำหรับคนที่ประพฤติชั่ว ท่านไม่อยากจะกลัวผู้มีอำนาจหรือ? ถ้าอย่างนั้นก็จงทำแต่ความดี แล้วท่านก็จะได้เป็นที่พอใจของผู้มีอำนาจนั้น เพราะว่าผู้ครอบครองนั้น เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าเพื่อให้ประโยชน์แก่ท่าน แต่ถ้าท่านทำความชั่วก็จงกลัวเถิด เพราะว่าผู้ครอบครองไม่ได้ถือดาบไว้เฉยๆ แต่เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า และจะเป็นผู้ลงโทษแทนพระเจ้าแก่ทุกคนที่ประพฤติชั่ว เพราะฉะนั้นท่านจะต้องเชื่อฟังผู้ครอบครอง ไม่ใช่เพื่อจะหลีกเลี่ยงการลงโทษอย่างเดียว แต่เพื่อมโนธรรมด้วย เพราะเหตุผลนี้ ท่านจึงได้เสียส่วยด้วย เพราะว่าผู้มีอำนาจนั้นเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า และปฏิบัติหน้าที่นี้อยู่ จงให้แก่ทุกคนที่ท่านต้องให้เขา คือส่วย แก่คนที่ท่านต้องเสียส่วย ให้ภาษี แก่คนที่ท่านต้องเสียภาษีให้ ความยำเกรง แก่คนที่ท่านต้องให้ความยำเกรง เกียรติ แก่คนที่ท่านต้องให้เกียรติ” (โรม 13:1-7)

แม้กระทั่งภายใต้การปกครองอันไร้ความปรานีและไม่มีพระเจ้าของจักรพรรดิ การเขียนของเปาโลภายใต้การดลใจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ บอกผู้เขียนของเขาให้ยอมจำนนต่อรัฐบาล มากไปกว่านั้นเขายังกล่าวว่าไม่มีผู้มีอำนาจใดที่มีอยู่นอกเหนือจากที่สร้างขึ้นโดยพระเจ้าและผู้ปกครองกำลังรับใช้พระเจ้าในตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองของพวกเขา

เปโตรเขียนในสิ่งที่คล้ายกันอย่างมากไว้ในหนึ่งในจดหมายสองฉบับในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่คือ “พวกท่านจงยอมเชื่อฟังผู้มีสิทธิอำนาจ เพราะเห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นจักรพรรดิผู้มีอำนาจ หรือจะเป็นบรรดาผู้ว่าราชการเมืองที่จักรพรรดิส่งไปให้ลงโทษผู้ทำชั่วและยกย่องผู้ทำดี เพราะพระเจ้าทรงประสงค์จะให้พวกท่านระงับความโง่ของคนโฉดเขลาด้วยการทำดี จงดำเนินชีวิตอย่างคนมีเสรีภาพ แต่อย่าใช้เสรีภาพนั้นเป็นข้ออ้างเพื่อทำความชั่ว แต่จงดำเนินชีวิตอย่างผู้รับใช้ของพระเจ้า จงให้เกียรติทุกคน จงรักพวกพี่น้อง จงยำเกรงพระเจ้า จงถวายเกียรติแด่จักรพรรดิ” (1 เปโตร 2:13-17)

การสอนของทั้งเปาโลและเปโตรนำไปสู่คำถามบางประการจากคริสเตียนในที่ซึ่งอารยะขัดขืนเป็นที่น่ากังวล เปาโลและเปโตรหมายถึงว่าคริสเตียนต้องยอมจำนนต่อสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลสั่งไม่ว่าจะเป็นการขอให้พวกเขาทำอะไรก็ตามหรือ

การมองมุมมองที่หลากหลายต่ออารยะขัดขืนแบบคร่าวๆ
มีอย่างน้อยสามมุมมองในเรื่องของอารยะขัดขืน มุมมองตามลัทธิอนาธิปไตยกล่าวว่าบุคคลหนึ่งสามารถเลือกที่จะไม่เชื่อฟังรัฐบาลเมื่อไรก็ได้ตามที่เขาชอบใจหรือเมื่อใดก็ตามที่เขารู้สึกว่าเขามีเหตุผลส่วนตัวในการทำเช่นนั้น ทัศนคติดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการสนับสนุนจากพระคัมภีร์แต่อย่างใด ดังที่เห็นได้จากงานเขียนของเปาโลในพระธรรมโรมบทที่ 13

พวกชาตินิยมหัวรุนแรงกล่าวว่าคนคนหนึ่งควรทำตามและเชื่อฟังประเทศของเขาไม่ว่าคำสั่งจะเป็นอะไร ตามที่จะกล่าวถึงในอีกสักครู่ ซึ่งมุมมองนี้ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากพระคัมภีร์เช่นเดียวกัน มากไปกว่านั้นมันก็ไม่ได้มีสนับสนุนในประวัติศาสตร์ของชนชาติต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นในระหว่างการพิจารณาคดีนูเรมเบิร์ก ทนายความของอาชญากรสงครามนาซีนั้นพยายามใช้ข้อแก้ต่างว่าลูกความของพวกเขาทำตามคำสั่งโดยตรงของรัฐบาลเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถรับผิดชอบต่อการกระทำของพวกเขาได้ อย่างไรก็ตามหนึ่งในผู้พิพากษาได้ปฏิเสธข้อโต้แย้งของพวกเขาด้วยคำถามง่ายๆ คือ “แต่ท่านสุภาพบุรุษทั้งหลาย ไม่มีกฎหมายใดอยู่เหนือกฎหมายของพวกเราหรือ”

จุดยืนที่พระคัมภีร์สนับสนุนคือการยอมจำนนตามพระคัมภีร์ โดยคริสเตียนได้รับอนุญาตให้ทำการปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎหมายถ้ารัฐบาลออกคำสั่งที่เป็นการทำชั่ว ซึ่งกำหนดให้คริสเตียนต้องปฏิบัติตนในลักษณะที่ขัดต่อคำสอนและข้อกำหนดที่ชัดเจนของพระคำของพระเจ้า

อารยะขัดขืน - ตัวอย่างในพระคัมภีร์
ในพระธรรมอพยพบทที่ 1 กษัตริย์ฟาโรห์แห่งอียิปต์ได้ออกคำสั่งที่ชัดเจนแก่นางผดุงครรภ์ชาวฮีบรูสองคนว่าพวกเขาต้องฆ่าเด็กชายชาวยิวทั้งหมด คนที่เป็นชาตินิยมหัวรุนแรงจะต้องทำตามคำสั่งของรัฐบาลอย่างแน่นอน แต่พระคัมภีร์กล่าวว่านางผดุงครรภ์ไม่เชื่อฟังฟาโรห์และ “...ยำเกรงพระเจ้า จึงไม่ได้ทำตามพระบัญชาของกษัตริย์อียิปต์ ปล่อยให้เด็กชายรอดชีวิต” (อพยพ 1:17) พระคัมภีร์กล่าวต่อไปว่านางผดุงครรภ์โกหกฟาโรห์เกี่ยวกับเหตุผลที่ว่าทำไมพวกเธอถึงให้เด็กๆ เหล่านั้นมีชีวิตอยู่ แต่แม้ว่าพวกเธอโกหกและไม่เชื่อฟังรัฐบาลของพวกเธอ “พระเจ้าจึงทรงดีต่อนางผดุงครรภ์นั้น คนอิสราเอลยิ่งทวีขึ้น และมีกำลังเข้มแข็งมาก เพราะนางผดุงครรภ์นั้นยำเกรงพระเจ้า พระองค์จึงโปรดให้พวกนางมีครอบครัว” (อพยพ 1:20-21)

ในพระธรรมโยชูวาบทที่ 2 ราหับฝ่าฝืนคำสั่งของกษัตริย์เมืองเยรีโคโดยตรงที่ให้สร้างผู้สอดแนมชาวอิสราเอลโดยให้เข้าไปในเมืองเพื่อหาข่าวกรองสำหรับการต่อสู้ ในทางกลับกันเธอกลับหย่อนพวกเขาลงทางหน้าต่างด้วยเชือกเพื่อที่พวกเขาจะสามารถหนีไปได้ แม้ว่าราหับจะได้รับคำสั่งซึ่งชัดเจนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล แต่เธอก็ปฏิเสธคำสั่งและได้เป็นอิสระจากการทำลายเมืองเมื่อโยชูวาและกองทัพของอิสราเอลมาทำลายเมือง

พระธรรม 1 ซามูเอลมีบันทึกคำสั่งของกษัตริย์ซาอูลในระหว่างการรบว่าไม่มีใครสามารถกินอะไรได้จนกว่าซาอูลจะชนะการต่อสู้กับชาวฟิลิสเตีย อย่างไรก็ตามโยนาธานโอรสของซาอูล ผู้ซึ่งไม่ได้ยินคำสั่งนั้นได้กินน้ำผึ้งเพื่อให้ตัวเองรู้สึกสดชื่นจากการต่อสู้อย่างหนักที่กองทัพได้เข้าร่วม เมื่อซาอูลทรงทราบเรื่องนี้ เขาก็สั่งให้ฆ่าโอรสของเขา อย่างไรก็ตามผู้คนห้ามซาอูลและพระบัญชาของพระองค์ อีกทั้งช่วยเหลือโยนาธานจาการถูกฆ่า (1 ซามูเอล 14:45)

อีกตัวอย่างหนึ่งของอารยะขัดขืนที่สอดคล้องกับการยอมจำนนตามพระคัมภีร์นั้นพบในพระธรรม 1 พงศ์กษัตริย์บทที่ 18 บทนี้แนะนำคร่าวๆ ถึงผู้ชายที่ชื่อโอบาดีห์ซึ่ง “ยำเกรงพระยาห์เวห์ยิ่งนัก” เมื่อพระราชินีที่ชื่อเยเซเบลกำลังฆ่าผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า โอบาดีห์พาผู้เผยพระวจนะร้อยคนไปและซ่อนพวกเขาจากเธอเพื่อที่พวกเขาจะได้มีชีวิตอยู่ การกระทำเช่นนั้นท้าท้ายต่อความปรารถนาของผู้ที่มีอำนาจอย่างชัดเจน

ในพระธรรม 2 พงศ์กษัตริย์สิ่งเดียวที่ยืนยันอย่างกระจ่างถึงการปฏิวัติการปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลนั้นได้รับการบันทึกไว้ อาธาลิยาห์ซึ่งเป็นแม่ของอาหัสยาห์เริ่มทำลายลูกหลานของพงศ์พันธุ์ยูดาห์ อย่างไรก็ตามโยอาชบุตรของอาหัสยาห์ถูกนำไปโดยพระธิดาของกษัตริย์และซ่อนไว้จากอาธาลิยาห์เพื่อว่าสายเลือดจะถูกสงวนไว้ หกปีต่อมาเยโฮยาดารวบรวมผู้คนที่อยู่รอบตัวเขา แล้วแต่งตั้งโยอาชเป็นกษัตริย์และฆ่าอาธาลิยาห์

ดาเนียลได้บันทึกตัวอย่างของการอารยะขัดขืนไว้จำนวนหนึ่ง โดยตัวอย่างแรกพบได้ในบทที่ 3 ซึ่งชัดรัค เมชาค และอาเบดเนโกปฏิเสธที่จะกราบนมัสการปฏิมากรทองคำในการไม่เชื่อฟังพระบัญชาของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ตัวอย่างที่สองอยู่ในบทที่ 6 เมื่อดาเนียลฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาของกษัตริย์ดาริอุสไม่ให้อธิษฐานถึงใครอื่นนอกจากกษัตริย์ ในทั้งสองกรณีนี้ พระเจ้าทรงช่วยคนของพระองค์ให้พ้นจากการรับโทษประหาร

ในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ พระธรรมกิจการได้บันทึกอารยะขัดขืนของเปโตรและยอห์นต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจในขณะนั้น หลังจากที่เปโตรได้รักษาชายผู้พิการมาแต่กำเนิดแล้ว เปโตรและยอห์นก็ถูกจับเพราะสั่งสอนเรื่องของพระเยซูและถูกคุมขัง ปุโรหิตตั้งใจหยุดพวกเขาจากการสั่งสอนเรื่องพระเยซู อย่างไรก็ตามเปโตรกล่าวว่า “...เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าเราควรเชื่อฟังพวกท่านหรือควรเชื่อฟังพระเจ้า ขอพวกท่านพิจารณาดู เพราะเราไม่สามารถหยุดพูดในสิ่งที่ได้เห็นและได้ยิน” (กิจการ 4:19-20) หลังจากนั้นพวกผู้ครอบครองได้เผชิญหน้ากับอัครทูตทั้งสองอีกและเตือนพวกเขาถึงคำสั่งที่ไม่ให้สั่งสอนเรื่องพระเยซู แต่เปโตรตอบว่า “...เราจำเป็นต้องเชื่อฟังพระเจ้ามากกว่าเชื่อฟังมนุษย์” (กิจการ 5:29)

ตัวอย่างสุดท้ายของอารยะขัดขืนนั้นพบในพระธรรมวิวรณ์ซึ่งปฏิปักษ์ของพระคริสต์สั่งให้ทุกคนที่มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคสุดท้ายนมัสการรูปเคารพของตัวเอง แต่ยอห์นผู้เขียนพระธรรมวิวรณ์กล่าวว่าผู้ที่มาเป็นคริสเตียนในเวลานั้นจะไม่เชื่อฟังปฏิปักษ์ของพระคริสต์และรัฐบาลของเขา รวมถึงปฏิเสธที่จะนมัสการรูปเคารพนั้น (วิวรณ์ 13:15) เช่นเดียวกับที่เพื่อนของดาเนียลฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ให้บูชารูปเคารพของเขา

อารยะขัดขืน – บทสรุป
มีบทสรุปอะไรบ้างที่สามารถดึงมาจากตัวอย่างของพระคัมภีร์ด้านบน คำแนะนำสำหรับอารยะขัดขืนของคริสเตียนสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้คือ
• คริสเตียนควรต่อต้านรัฐบาลที่ออกคำสั่งหรือข้อบังคับที่ชั่วร้ายและควรทำด้วยการไม่ใช้ความรุนแรงภายใต้กฎหมายเพื่อเปลี่ยนรัฐบาลที่อนุญาตให้ทำความชั่ว
• อารยะขัดขืนได้รับการอนุญาตเมื่อกฎหมายหรือคำสั่งของรัฐบาลฝ่าฝืนกฎและคำสั่งของพระคัมภีร์โดยตรง
• ถ้าคริสเตียนไม่เชื่อฟังรัฐบาลที่ชั่วร้าย ยกเว้นเขาจะสามารถหนีจากรัฐบาลนั้นๆ ได้ เขาควรยอมรับการลงโทษของรัฐบาลสำหรับการกระทำของเขา
• คริสเตียนได้รับอนุญาตอย่างแน่นอนให้ทำงานเพื่อก่อตั้งผู้นำของรัฐบาลใหม่ภายใต้กฎหมายที่ได้มีการออกไว้

ท้ายที่สุดคริสเตียนได้รับการบัญชาให้อธิษฐานเผื่อผู้นำและเพื่อให้พระเจ้าเข้าแทรกแซงในเวลาของพระองค์เพื่อเปลี่ยนเส้นทางใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่ทางของพระเจ้าที่พวกเขากำลังเดินอยู่คือ “เพราะฉะนั้นก่อนสิ่งอื่นใดทั้งหมด ข้าพเจ้าขอร้องพวกท่านให้วิงวอน อธิษฐาน ทูลขอ และขอบพระคุณเพื่อทุกคน เพื่อกษัตริย์ทั้งหลายและทุกคนที่มีตำแหน่งสูง เพื่อเราจะได้ดำเนินชีวิตอย่างสงบและมีสันติในทางพระเจ้า และเป็นที่นับถือ” (1 ทิโมธี 2:1-2)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

สำหรับคริสเตียนแล้วอนุญาตให้มีอารยะขัดขืนตอนไหน
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries