settings icon
share icon
คำถาม

อะไรคือความแตกต่างระหว่างบัญญัติทางพิธีกรรม บัญญัติทางศีลธรรม และบัญญัติตุลาการในพันธสัญญาเดิม

คำตอบ


บัญญัติของพระเจ้าที่ให้กับโมเสสเป็นแนวทางที่ครอบคลุมเพื่อให้แน่ใจว่าพฤติกรรมของชนชาติอิสราเอลสะท้อนถึงสถานะของพวกเขาในฐานะประชากรที่พระเจ้าทรงเลือก สิ่งนี้รวมถึงพฤติกรรมด้านศีลธรรม ตำแหน่งของพวกเขาในฐานะแบบอย่างที่ดีในทางของพระเจ้าต่อชนชาติอื่นๆ และเป็นกระบวนการที่มีระบบสำหรับการยอมรับความบริสุทธิ์ของพระเจ้าและความบาปของมนุษย์ ในความพยายามที่จะเข้าใจจุดประสงค์ของบัญญัติเหล่านี้มากขึ้น ชาวยิวและคริสเตียนจัดลำดับให้กับบัญญัติเหล่านี้ สิ่งนี้นำไปสู่ความแตกต่างระหว่าง บัญญัติทางศีลธรรม บัญญัติทางพิธีกรรม และบัญญัติตุลาการ

บัญญัติทางศีลธรรม
บัญญัติทางศีลธรรมหรือ mishpatim เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมกับการพิพากษาแล้วบ่อยครั้งก็แปลเป็น “พระบัญญัติ” กล่าวกันว่า mishpatim นั้นมีพื้นฐานมาจากพระลักษณะอันบริสุทธิ์ของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้พระบัญญัตินั้นจึงบริสุทธิ์ ยุติธรรม และไม่เปลี่ยนแปลง เป้าหมายคือการส่งเสริมสวัสดิภาพของผู้ที่เชื่อฟัง คุณค่าของบัญญัตินั้นถือว่าชัดเจนด้วยสาเหตุและสามัญสำนึก บัญญัติทางศีลธรรมครอบคลุมข้อบังคับด้านความยุติธรรม ความเคารพ และการประพฤติทางเพศ และรวมถึงบัญญัติสิบประการ อีกทั้งยังรวมถึงบทลงโทษสำหรับการไม่เชื่อฟังพระบัญญัติต่างๆ เช่นเดียวกัน บัญญัติทางศีลธรรมไม่ได้ชี้ให้ผู้คนเห็นถึงพระคริสต์ มันเพียงแค่เผยให้เห็นถึงการล้มลงในความบาปของมนุษย์

คนที่อยู่ในสังกัดโปรเตสแตนต์สมัยใหม่แบ่งออกโดยการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายของ mishpatim ในยุคของคริสตจักร บางคนเชื่อว่าคำยืนยันของพระเยซูที่ว่าบัญญัติจะมีผลจนกว่าโลกนั้นสูญสลายไป (มัทธิว 5:18) นั้นหมายความว่าผู้เชื่อก็ยังผูกพันกับบัญญัติอยู่ อย่างไรก็ตามผู้อื่นเข้าใจว่าพระเยซูทำให้ความต้องการนี้สำเร็จ (มัทธิว 5:17) และในทางกลับกันเราอยู่ภายใต้พระบัญญัติของพระคริสต์ (กาลาเทีย 6:2) ซึ่งเชื่อกันว่าคือ “รักพระเจ้าและรักผู้อื่น” (มัทธิว 22:36-40) แม้ว่าบัญญัติทางศีลธรรมมากมายในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมจะให้ตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับการรักพระเจ้าและรักผู้อื่น และการเป็นอิสระจากกฎบัญญัตินั้นไม่ได้เป็นใบอนุญาตให้ทำบาป (โรม 6:15) แต่เราก็ไม่ได้ผูกพันโดยเฉพาะกับ mishpatim

บัญญัติทางพิธีกรรม
บัญญัติทางพิธีกรรมเรียกว่า hukkim หรือ chuqqah ในภาษาฮีบรูซึ่งตามตัวอักษรแล้วหมายถึง “ขนบธรรมเนียมของชนชาติ” คือคำต่างๆ มักแปลเป็น “รัฐบัญญัติ” บัญญัติเหล่านี้เน้นไปที่ความสนใจของผู้ติดตามที่มีต่อพระเจ้า โดยที่รวมถึงคำแนะนำเรื่องการกลับมายืนอย่างถูกต้องกับพระเจ้า (ยกตัวอย่างเช่น การถวายเครื่องบูชาและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “ความไม่สะอาด”) การระลึกถึงงานของพระเจ้าในอิสราเอล (ยกตัวอย่างเช่น งานเลี้ยงและเทศกาลต่างๆ) ข้อบังคับเฉพาะที่มีจุดหมายเพื่อแยกแยะชาวอิสราเอลจากเพื่อนบ้านนอกศาสนาของพวกเขา (ยกตัวอย่างเช่น ข้อจำกัดเรื่องการรับประทานอาหารและการใส่เสื้อผ้า) และสัญญาณที่ชี้ให้เห็นถึงการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ (ยกตัวอย่างเช่น วันสะบาโต การเข้าสุหนัต ปัสกา และการไถ่บาปบุตรหัวปี) ชาวยิวบางคนเชื่อว่าบัญญัติทางพิธีกรรมไม่ได้มีการกำหนดไว้อย่างแน่นอน พวกเขาถือว่าเมื่อสังคมพัฒนาขึ้นความคาดหวังของพระเจ้าในเรื่องการมีความสัมพันธ์ของพระองค์กับผู้ที่ติดตามพระองค์ก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน มุมมองนี้ไม่ได้มีระบุไว้ในพระคัมภีร์ห

คริสเตียนไม่ได้ผูกพันกับบัญญัติทางพิธีกรรม ในเมื่อคริสตจักรไม่ใช่ชนชาติอิสราเอล เทศกาลการระลึกถึง เช่นเทศกาลสัปดาห์และเทศกาลปัสกาจึงไม่มีผลบังคับใช้ พระธรรมกาลาเทีย 3:23-25 อธิบายว่าตั้งแต่พระเยซูเสด็จมา คริสเตียนไม่จำเป็นต้องถวายเครื่องสัตวบูชาหรือเข้าสุหนัต กระนั้นยังมีการโต้เถียงในคริสตจักรของสังกัดโปรเตสแตนต์เกี่ยวกับการบังคับใช้วันสะบาโต บางคนกล่าวว่าการที่มันได้รับการรวมไว้ในบัญญัติสิบประการนั้นทำให้มีน้ำหนักไปในทางของบัญญัติทางพิธีกรรม คนอื่นๆ อ้างโคโลสี 2:16-17 และโรม 14:5 เพื่ออธิบายว่าพระเยซูได้ทำให้วันสะบาโตสำเร็จและกลายเป็นการพักผ่อนสะบาโตของเรา ตามที่โรม 14:5 กล่าวว่า “แต่ละคนควรแน่ใจในความคิดเห็นของตนอย่างเต็มที่” การบังคับใช้บัญญัติพันธสัญญาเดิมในชีวิตของคริสเตียนนั้นมักเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของมันในการรักพระเจ้าและรักผู้อื่น ถ้าใครสักคนรู้สึกว่าการทำตามวันสะบาโตช่วยเขาในสิ่งนี้ เขาก็มีอิสระที่จะถือปฏิบัติได้

บัญญัติตุลาการหรือบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร
คำสารภาพแห่งความเชื่อของเวสต์มินสเตอร์ (Westminster Confession) เพิ่มหัวข้อของบัญญัติตุลาการหรือบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร บัญญัติเหล่านี้มีไว้สำหรับวัฒนธรรมและสถานที่ของชนชาติอิสราเอลเท่านั้นและรวมเข้ากับบัญญัติทางจริยธรรมทั้งหมดยกเว้นบัญญัติสิบประการ สิ่งนี้รวมถึงทุกอย่างตั้งแต่การฆาตกรรมไปยังการชดใช้สำหรับชายที่ถูกวัวขวิดและความรับผิดชอบของผู้ชายที่ขุดหลุมในการช่วยเหลือลาของเพื่อนบ้านที่ตกลงไป (อพยพ 21:12-36) ในเมื่อชาวยิวไม่เห็นความแตกต่างระหว่างจริยธรรมที่มาจากพระเจ้าและความรับผิดชอบทางวัฒนธรรมของพวกเขา หมวดหมู่นี้มีการนำมาใช้โดยคริสเตียนมากกว่านักวิชาการชาวยิว

การแบ่งบัญญัติของยิวออกเป็นหมวกต่างๆ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างแล้วออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจพระลักษณะของพระเจ้ามากขึ้นและกำหนดว่าบัญญัติใดที่คริสเตียนในยุคคริสตจักรยังต้องทำตาม หลายคนเชื่อว่าบัญญัติทางพิธีกรรมไม่สามารถนำไปปรับใช้ได้แต่เรายังผูกพันกับบัญญัติสิบประการ บัญญัติทั้งหมดนั้นใช้เพื่อการให้คำแนะนำ (2 ทิโมธี 3:16) และไม่มีอะไรในพระคัมภีร์ที่ระบุว่าพระเจ้าตั้งใจให้มีหมวดหมู่ที่แตกต่างกันออกไป คริสเตียนไม่ได้อยู่ภายใต้บทบัญญัติ (โรม 10:4) พระเยซูทำให้บัญญัติเหล่านั้นสำเร็จ ดังนั้นการล้มเลิกความแตกต่างระหว่างชาวยิวและชาวต่างชาติ “ก็เพื่อยุบสองฝ่ายและสร้างขึ้นใหม่เป็นหนึ่งเดียวในพระองค์ เช่นนี้แหละจึงทรงทำให้มีสันติสุข และในกายเดียวนี้ทั้งสองพวกจึงกลับคืนดีกับพระเจ้าโดยไม้กางเขน...” (เอเฟซัส 2:15-16)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

อะไรคือความแตกต่างระหว่างบัญญัติทางพิธีกรรม บัญญัติทางศีลธรรม และบัญญัติตุลาการในพันธสัญญาเดิม
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries